Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'

ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต  โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจการเงินที่ยื่นขอใบอนุญาต Virtual Bank จึงมีการเตรียมพร้อมเพื่อธุรกิจใหม่ในโลกดิจิทัลนี้อย่างเข้มข้น อันเป็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและการสร้างการเติบโตขององค์กร ภายใต้การนำของ นายผยง ศรีวนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่

โดยเมื่อเร็วๆนี้  ประธานแบงก์กรุงไทย นายลวรณ แสงสนิท พร้อมด้วย ซีอีโอ นายผยง ศรีวนิช และคณะผู้บริหารงานด้านดิจิทัล ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน  Minna Bank ดิจิทัลแบงกิ้ง ที่ถือเป็นธนาคารไร้สาขาแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษารูปแบบ ข้อดี ข้อด้อย และข้อพึงระวัง ในการดำเนินธุรกิจ Virtual Bank

Minna Bank ธนาคารดิจิทัลแห่งแรกของญี่ปุ่น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกับ Accenture และได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2020 พร้อมเริ่มดำเนินการในวันที่ 28 พฤษภาคม 2021 ให้บริการในพื้นที่ของฟูกูโอกะ

มีทั้งความเหมือนและแตกต่างระหว่างแบงก์กรุงไทยกับMinna Bank นั่นคือ Minna Bank แตกออกจาก FFG (Fukuoka Financial Group) ซึ่งมีรากฐานจากธนาคารดั้งเดิมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 140 ปี อีกทั้ง เป็นกลุ่มการเงินระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น  ประกอบด้วยธนาคารดั้งเดิม 4 แห่งในภูมิภาคคิวชู และ Minna Bank ซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัลที่ให้บริการทั่วประเทศ จากการดำเนินการ 3 ปี  Minna Bank มีลูกค้าประมาณ 1.1 ล้านบัญชี  กลุ่มลูกค้าหลักกว่า 70% เป็นผู้ใช้งานดิจิทัลที่เกิดในยุคเทคโนโลยี

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงไทยผ่านการปรับเปลี่ยนมาแล้ว 3 เฟส เริ่มจากเฟสแรกคือการซ่อมสร้างองค์กร ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารธุรกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้องค์กรมีความแข็งแรง พร้อมก้าวสู่เฟสที่ 2 ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์กรก้าวทันยุคดิจิทัล และกำลังดำเนินการในเฟส3 เตรียมความพร้อมสร้างการเติบโต นั่นคึอ การพัฒนาคนเพราะการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงองค์กรจะไม่สามารถดำเนินการได้เลย ถ้าคนกรุงไทยไม่เท่าทันยุคดิจิทัล” นายผยงเปิดเผยหลังการศึกษาดูงาน Minna Bank  

จากยุทธศาสตร์คู่ขนานที่เดินมา ทำให้กรุงไทยมีแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ลูกค้า ทั้ง Krungthai NEXT และเป๋าตัง โดยเฉพาะเป๋าตังที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาใช้ เปรียบเหมือนตลาดจตุจักรที่มีร้านค้า มีคนไปเดินตลาด มีกลไกสร้างปัญญาให้สามารถเข้าใจลูกค้าอย่างดี ตอบโจทย์ได้แบบเฉพาะตัว (Personalize Banking) ผ่านช่องทางใหม่ๆ  ช่วยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ Economic Value  สะท้อนว่า เดินมาถูกทาง สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างที่มุ่งหวัง

 สำหรับทิศทางในอนาคต พบว่าออฟไลน์และออนไลน์ หรือ O2O  ยังมีความจำเป็นในบริบทของเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารมีทั้งลูกค้าที่ใช้บริการสาขา และใช้บริการดิจิทัลแบงกิ้ง จากลูกค้าทั้งหมดกว่า 40  ล้านคน มีลูกค้าที่ใช้สาขาอย่างเดียว 7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 52%  ซึ่งเป็นกลุ่มด้อยโอกาสที่เข้ามาใช้สวัสดิการแห่งรัฐ  ขณะที่มีลูกค้าเดินเข้าสาขาและใช้บริการดิจิทัลแบงกิ้งคู่ขนานกัน 35 ล้านคน  ทั้งนี้ ลูกค้าที่ใช้บริการสาขาอย่างเดียวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้ธนาคาร ทำให้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เร่งปิดสาขา แต่กรุงไทย ด้วยความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ยึดหลักคิดว่า ในการปิดสาขา ต้องคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก  โดยดูว่าหากจะปิดสาขาในรัศมี 5 กิโลเมตร ลูกค้า ประชาชนมีทางเลือกอื่นหรือไม่ ดังนั้น ธนาคารจะยังเปิดสาขาและชะลอการปรับเปลี่ยนจำนวนสาขา  เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างสะดวก ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ สาขาธนาคารกรุงไทยยังสูงที่สุด เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ไม่นับรวมธนาคารรัฐ มี 960 สาขา จากเดิมประมาณ 1,100 สาขา

แบงก์ในชุมชน เป้าหมายของกรุงไทย

นายผยง ระบุว่า Virtual Bank สำหรับกรุงไทยนั้นเริ่มมา 2 ปีกว่า 3 ปี แล้วในการปล่อยสินเชื่อ หรือ  Digital Lending  ด้วยการใช้ AI เข้ามาช่วย และเป็นส่วนงานย่อยที่ไม่ใช้คนเลย ตรงนั้นเอง ในปีที่ผ่านมากรุงไทยมียอดสินเชื่ออยู่ประมาณ 7,000 ล้านบาท คาดว่าปีนี้น่าจะโตได้ถึงประมาณ 14,000 ล้านบาท  

“ที่เราทํา Digital Lending บนข้อมูลของกรุงไทยเท่านั้น แต่ใช้ AI เข้าไปช่วย เราสามารถที่จะอนุมัติและปล่อยได้ถึงประมาณ 14,000 ล้านบาท เราคุม NPL อยู่ประมาณไม่เกิน 4% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยประมาณ 20% ขณะที่อุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 25-33% นั่นแปลว่า ทุกๆ 1 บาท ที่เราปล่อยเราจะได้ผลตอบแทนมากกว่าของเดิมที่ปล่อยถึง 3 เท่า เราอาจจะมาช้ากว่าคนอื่น แต่เรามีความมั่นคง” นายผยงกล่าวและอธิบายว่า

ยอด Digital Lending นี้เป็นเดต้าหรือข้อมูลที่มีอยู่ในมือของกรุงไทยเท่านั้น หากเราได้เดต้าของพันธมิตร ซึ่งมีระบบนิเวศและข้อมูลผู้ใช้บริการปั๊มน้ำมัน SME ในชุมชน จะช่วยให้เข้าไปในกลุ่มผู้ด้่อยโอกาส ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดย AIS มีร้านเทเลวิช มีการขายมือถือ อินเตอร์เน็ต ไฟเบอร์ ขณะที่กัลฟ์ ก็มีเรื่อง Digital Asset กัลฟ์ไฟแนนซ์ มีพลังงานสะอาด เรื่อง Data Center ที่สามารถแชร์  Economy of Scale และ OR ก็มีเรื่องพลังงาน ปั๊มน้ำมัน  

หัวใจคือ ดาต้า Data  และ Ecosystem ซึ่งอยู่ที่ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการว่าจะนำไปใช้อย่างไร และมีเป้าหมายอะไร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในโลกใบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องไม่ลืมจิตสำนึกที่มีต่อสังคม   

ซีอีโอแบงก์กรุงไทยแสดงความมั่นใจว่า Virtual Bank โดยกรุงไทยและพันธมิตร จะยิ่งตอบโจทย์ เป็น Inclusive Financing  พร้อมๆ กับมี Fair Share ของสภาพคล่องในระบบ

ทั้งนี้โจทย์ของ Virtual Bank เกิดจากบริบทข้อจำกัด และความบกพร่องในแต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่างในยุโรป ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเป็น Payment  เพราะค่าโอนเงิน ค่าบริการบัตรเครดิตสูงมาก  ถึงมี Virtual Bank ที่เป็น Payment  ของจีนเป็นอีคอมเมิร์ช จึงเป็นเรื่องการให้ความสะดวกในการปล่อยกู้ โดยมีหลักคิดคือ ถ้าเป็นตลาดดิจิทัล ก็ไปอยู่ใกล้คนที่ทำกิจกรรมซื้อขาย

กลับมาที่ประเทศไทย นายผยงชี้ว่า   Payment มีพร้อมเพย์ จึงไม่เป็นอุปสรรค แต่อุปสรรคคือ การปล่อยกู้ ซึ่งประเทศไทยไม่มี Data  ที่เพียงพอ  ส่วน Data ที่มีอยู่ก็ใช้กันเต็มที่แล้ว เคยมีคนพยายามจะจับมือ Grap จับมือ Line ก็เป็นการพาตัวเองไปอยู่ในกิจกรรมนั้นๆ

สำหรับกรุงไทยอยากเข้าถึงคนในชุมชนใหม่ๆ โดยเลือกเข้าไปในชุมชน AIS  OR ทำตัวเป็นแบงก์ในชุมชนเหล่านั้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งเมื่อไปขอเปิดแบงก์ในชุมชนนั้น ผู้คนในชุมชนก็ต้องลงทุนด้วย

” อันนี้ก็คือสิ่งที่เกิด เราบอกว่าเราอยากเข้าถึงคนในชุมชน ทีนี้คําถามคือว่าแล้วเราจะเลือกชุมชนไหน ถ้าเลือกแบบกรุงไทยก็เป็นเรื่องปัจจุบัน คิดอย่างเราแต่เราบอกว่ามันมีชุมชนเอไอเอสนะ คนที่เขาเข้าไปในมายเอไอเอส ตลาดยี่ห้อมายเอไอเอส มันมีคนที่ไปตลาดโออาร์ปั๊มน้ํามัน ปตท เพราะฉะนั้นเราลองไป ทําตัวเป็นแบงค์อยู่ในจุดชุมชนเหล่านั้นตลาดเหล่านั้นบ้าง ด้วยต้นทุนที่ต่ำ  เราไปขอเปิดแบงค์พาร์ตเนอร์เอาสองคนนะบอกว่า ผมจะยอมให้คุณมาเปิดผมต้องลงทุนด้วย ผมไม่ให้คุณเป็นพันธมิตรปกตินั่นก็คือเป็นที่มาที่เกิดทางอาชีพอันนี้ “

วันนี้ก็มาฝากเงินกับกรุงไทย ก็คือความมั่นใจของคนไทย แต่ถ้าเกิดเราบอกว่าเราเป็นแบงค์ใหม่อันนี้ก็จะเป็นความท้าทายอีกแบบนึงว่า คุณเป็นแบงค์ ก ข ค ผมจะกล้าไปฝากอะไรให้มั้ย ผมให้ดอกเบี้ยสูงแค่นี้พอแล้วผมจะได้เงินเท่ามันหรือเปล่า มันจะมีภาพนี้แล้วเงินส่วนใหญ่ที่เข้ามาในลักษณะที่ปล่อยกู้แบบหวือหวาหรือแบบผมใช้คําว่ายังไม่มีระบบ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เงินจะเป็นเงินร้อนเข้ามาเพื่อไล่ล่าดอกเบี้ย หมดเทอมก็โอนออกไปอย่างรวดเร็วเงินพวกนี้จะแพงโดยธรรมชาติ

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเราต้องสร้างระบบนิเวศของยี่ห้อใหม่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และเบื้องต้นยังไงก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าปกติแน่นอน แต่จุดปลอดภัยมั่นใจได้ของเราก็คือว่า พันธมิตร 3 เจ้า ผมเชื่อว่าแข็งแรงที่สุดในบรรดาพันธมิตรทุกราย ที่จะให้ความมั่นใจกับสาธารณะในการมาฝากเงิน

สำหรับประเด็นปัญหาว่า Virtual Bank แก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้หรือไม่นั้น  ซีอีโอกรุงไทยอธิบายว่า

คนที่กู้จาก Virtual Bank ได้ คงไปจำกัดสิทธิไม่ได้ เป็นหลักคิดในการแข่งขัน ต้องมองว่า ตรงไหนเป็น Red Ocean และ Blue Ocean ซี่งก็คงไปในพื้นที่ของนอนแบงก์ เพราะถ้าไปในส่วนของลูกค้าแบงก์ใหญ่กำไรก็ไม่มี  ต้นทุนการให้บริการก็สู้ไม่ได้ และไม่ได้มี Incentive อะไรให้ต้องเปลี่ยนระบบ

สำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ที่จะเข้าไปต้องสะดวก ตอบโจทย์ เช่น ถ้าให้ปิดบัตรเครดิต แล้วมาเปิด Personal Loan ดอกเบี้ยหายไปครึ่งหนึ่ง จะไม่ปิดหรือ   อีกด้านหนึ่งอยากได้ลูกค้า และต้องเป็นลูกค้าดี เป็นช้างเผือก ขณะเดียวกันถ้าช้างเผือกคนเห็นง่าย ก็ไปหมดแล้ว ไม่เหลือมาถึง

จากข้อมูลของพันธมิตร จะทำให้เห็นถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรม ที่ข้อมูลปกติของธนาคารไม่เห็น ซึ่งข้อมูลนี้ เป็นตัวบ่งชี้  เป็นประโยชน์ในการเข้าถึงลูกค้า การติดตาม และแยกแยะลูกหนี้ได้เหมาะสมมากขึ้น

สรุปส่งท้ายได้ว่า  การทำ Virtual Bank ต้องมีทั้งเทคโนโลยี และ Data แต่จุดชี้ขาดคือ Data และความสามารถในการวิเคราะห์ Data นั่นเอง ส่วนจะตอบโจทย์ได้มากน้อยตามความคาดหวังหรือไม่นั้น กลางปีหน้า เมื่อ Virtual Bank เริ่มนับหนึ่งอย่างเป็นทางการ ก็จะมีซ...

เพิ่มเพื่อน