ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน
11 พ.ย. 2567 – นายพรรณธนู วรรณกางซ้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) เปิดเผยว่า ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของประเทศ ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตระหนึกถึงความเดือดร้อนของประชาชนทั้งปัญหาหนี้สิ้น รายได้ ค่าครองชีพ รวมทั้งความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนและต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่กระทบความมั่นคงของสังคม เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ด้วยการแก้หนี้ ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ
“กระทรวงดีอี ตอบรับนโยบายของรัฐบาลและดำเนินการทันที เพื่อเร่งสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าหมาย ยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย โดยใช้แนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นำเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri-Tech) มาใช้พัฒนาอาชีพด้านการเกษตรและอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงทางเกษตรกรรม รวมถึงการคว้าโอกาสในตลาดใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของตลาดโลก และเร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร รวมทั้งเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี
ด้าน นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ต้องการที่จะส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนทุเรียนประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อจดบันทึกข้อมูลติดตามย้อนกลับการเพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 6,000 ราย ภายในระยะเวลาถึง 2 ปี เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น Big Data ด้านการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียน พร้อมเพิ่มองค์ความรู้ด้าน E-commerce และการยื่นขอรับรองมาตรฐานข้อกำหนดของการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) แก่เกษตรกรมากกว่า 12,000 รายในพื้นที่ 23 จังหวัด พร้อมสนับสนุนให้เกิดแพลตฟอร์มกลางเพื่อการเกษตร (National Agriculture Platform) ของประเทศ
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มที่นำมาใช้ได้รับการพัฒนาโดยดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยที่ผ่านการขึ้นทะเบียนบนบัญชีบริการดิจิทัล และได้รับตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐาน dSURE
สำหรับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในทุกช่องทางการสื่อสารของ ดีป้า ไม่ว่าจะเป็น Facebook Page: depa Thailand และ Line OA: depathailand โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ร่วมกันยกระดับภาคเกษตรกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มคุณค่าผลผลิตทุเรียนไทยให้มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อการบริโภคตามหลักสากล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดีป้า' แถลงผลสำเร็จ ยกระดับทักษะโค้ดดิ้ง สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงาน
'ดีป้า' เตรียมจัดแข่งทักษะโค้ดดิ้ง รอบชิงชนะเลิศ เฟ้น 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล
ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ
'ดีป้า' ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง 'ครู-นักเรียน' 100 ทีม ต่อยอดสู่เวทีนานาชาติ
ดีป้า จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเข้มข้น ครู - นักเรียน จำนวน 100 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากทั่วประเทศ เข้าคอร์สติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญ
ดีป้า เปิดแผนการดำเนินงานปี 2568 ชูแนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ดีป้า เผยแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2568 ในงาน ‘depa Digital Intelligence’ ภายใต้แนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better
'ดีป้า' ประกาศผล 100 ทีมเข้ารอบสุดท้าย เวทีแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งระดับประเทศ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากกิจกรรม Coding Bootcamp ใน 8 ภูมิภาค กิจกรรมภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมประกาศผล 100 ทีม
'ดีป้า' ล่องใต้เยือนภูเก็ต ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้งนักเรียน-ครู สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย
ดีป้า จัดกิจกรรม Coding Bootcamp & Roadshow และ Coding War พื้นที่ภาคใต้ตอนบน ภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย หลังกิจกรรมในพื้นที่