เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด

“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

12 พ.ย.2567 – นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปดำเนินการศึกษาแนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ ทั้งข้อดีของการดำเนินการ, พื้นที่ที่จะดำเนินการ, อัตราค่าธรรมเนียม, รูปแบบการชำระค่าธรรมเนียม, รูปแบบการดำเนินการในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ และนำมาเปรียบเทียบความน่าจะเป็นกับความเหมาะสมในประเทศไทย รวมถึงระบบทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วน สังคม สิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียม และระบบการขนส่งสาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และประเทศชาติเป็นหลัก
ทั้งนี้ จากการรายงานของ สนข. ถึงผลการศึกษาเบื้องต้น ระบุว่า ก่อนหน้านี้ ช่วงปี 2562-2565 สนข. ได้ความร่วมมือจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) ในการดำเนินการศึกษาและพิจารณารายละเอียดของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ขณะนี้ สนข.ได้ทบทวนผลการศึกษา เพื่อสนับสนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เบื้องต้นได้ศึกษาถึงมาตรการที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในพื้นที่ที่มีการพัฒนาระบบขนส่งด้วยรถไฟฟ้า และรถขนส่งสาธารณะอย่างครอบคลุม และมีความสะดวกในการใช้งานแล้ว

“เพื่อสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยจะมีการจัดเตรียมระบบขนส่งสาธารณะให้มีความพร้อมรองรับการเดินทางอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะรอง (ฟีดเดอร์) เพื่อขนส่งผู้โดยสารมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะหลัก อย่างระบบรถไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจราจร สามารถกำหนดระยะเวลาในการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลดมลพิษจากทางอากาศ และที่สำคัญการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดนั้น จะนำเงินที่ได้รับดังกล่าว มาสนับสนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ถือเป็นการลดค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ได้อีกด้วย”นายกฤชนนท์ กล่าว

นายกฤชนนท์ กล่าวต่อว่า ในการศึกษาของ สนข. นั้น ยังได้นำรูปแบบการดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดใน 4 ประเทศที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับประเทศไทยให้มีความเหมาะสม ได้แก่ 1.ลอนดอน ประเทศอังกฤษ 2.ประเทศสิงคโปร์ 3.สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และ4.มิลาน ประเทศอิตาลี เป็นต้น โดยในผลการศึกษาฯ ยังระบุอีกว่า ก่อนที่จะเริ่มใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดของทั้ง 4 ประเทศดังที่กล่าวข้างต้นนั้น มีประชาชนไม่เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง แต่ภายหลังจากเริ่มแล้วกลับมาให้การยอมรับและเห็นด้วยอย่างมาก เช่น สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ก่อนเริ่มมาตรการฯ ประชาชนในพื้นที่ ให้การยอมรับ 21% และภายหลังเริ่มมาตรการให้การยอมรับเพิ่มเป็น 67% ขณะที่ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อนเริ่มมาตรการฯ ประชาชนในพื้นที่ ให้การยอมรับ 39% และภายหลังเริ่มมาตรการให้การยอมรับเพิ่มเป็น 54% อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม จะดำเนินการอย่างละเอียด รอบคอบ เป็นธรรม และพร้อมรับฟังทุกเสียงของพี่น้องประชาชนอย่างเท่าเทียมแน่นอน

ทั้งนี้ล่าสุดในปี 2567 สนข. อยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนในการศึกษา Congestion Charge โครงการของ UK PACT โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดนโยบายเพื่อใช้กำหนดรูปแบบ และวิธีการ ตลอดจนค่าธรรมเนียม ในการนำรถยนต์ส่วนบุคคลเข้ามาในเขตพื้นที่ที่มีการติดขัดของการจราจรสูง (Congestion Charge) โดยจะต้องศึกษามาตรการ ที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในพื้นที่ที่มีการพัฒนาระบบขนส่งด้วยรถไฟฟ้า และรถขนส่งสาธารณะอย่างครอบคลุม และมีความสะดวกในการใช้งานแล้ว โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการการศึกษาคาดเห็นความชัดเจนในปี 2568

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิชิอิ'มั่นใจลูกทีมพร้อม ดวลสิงคโปร์ศึกอาเซียน มุ่งเก็บ3แต้มเพื่อเข้ารอบ

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ณ ห้องแถลงข่าวสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ ฝ่ายจัดการแข่งขันสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอล ASEAN Mitsubishi Electric Cup 2024 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอ ระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติสิงคโปร์

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด

‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ

มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร

'เซาธ์เกต' ส่อแววรอดพ้นคดีภาษี เตรียมรับพระราชทานยศ 'ท่านเซอร์'

แกเร็ธ เซาธ์เกต อดีตกุนซือทีมชาติอังกฤษ พ้นข้อกล่าวหาคดีเกี่ยวกับภาษีเรียบร้อยแล้ว มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวินช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้