‘พิชัย’ ปัดไม่รู้ชงเปลี่ยนชื่อชิงประธานบอร์ดแบงก์ชาติเป็น ‘พงษ์ภาณุ’ มองเป็นหน้าที่ทุกฝ่ายต้องคุยกัน เน้นประโยชน์ของประเทศเพื่อให้กระบวนการเดินหน้า
4 พ.ย. 2567 -นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสรรหา เลื่อนการประชุมเพื่อสรรหาประธาน (บอร์ด) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกไปเป็นวันที่ 11 พ.ย. จากเดิมในวันที่ 4 พ.ย. 2567 และมีกระแสข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนรายชื่อจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ส่วนตัวไม่ทราบรายละเอียดเรื่องดังกล่าว ส่วนจะมีการเสนอรายชื่อใหม่จริงหรือไม่นั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ผู้ที่รับผิดชอบทั้งหมดจะต้องคุยกัน ซึ่งในเรื่องนี้เป็นอำนาจของกรรมการสรรหา และกระทรวงคลัง รวมถึง ธปท. จะพิจารณา
ทั้งนี้ ตามอำนาจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มองว่าก็สามารถเสนอรายชื่อใหม่ได้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งคลังและ ธปท. เพื่อให้ทั้งหมดเดินหน้าไปตามกระบวนการ
โดยส่วนตัวมองว่า ประธานบอร์ด ธปท. นั้นตามอำนาจไม่ได้มีอะไรมากมาย เพราะเรื่องสำคัญจริง ๆ จะไปอยู่ที่คณะกรรมการชุดย่อย ๆ เกือบหมด
“อะไรก็ตามที่ทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ทุกคนพอใจ เข้าอกเข้าใจ เป็นเรื่องดีที่สุด ก็อยากจะให้ทุกฝ่ายคุยกัน ส่วนกรณีว่าคลังจะส่งรายชื่อนายพงษ์ภาณุแทนนายกิตติรัตน์นั้น ผมไม่ทราบ ให้เป็นหน้าที่ของปลัดคลังที่จะเป็นคนเสนอชื่อ ส่วนความล่าช้าของเรื่องนี้เชื่อว่าจะไม่มีผลต่อการบริการจัดการและการทำงานของ ธปท. เพราะว่ายังมีรักษาการอยู่” นายพิชัย กล่าว
อย่างไรก็ดี กรณีที่กระแสสังคมมองว่าการที่กระทรวงการคลังเสนอชื่อนายกิตติรัตน์เข้าชิงตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. นั้น ซึ่งนายกิตติรัตน์มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง และพรรคเพื่อไทย ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสให้เข้ามาล้วงเงินคงคลังได้ง่ายขึ้นนั้น นายพิชัย ระบุว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกัน และไม่สามารถล้วงเงินคงคลังได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476