29 ต.ค.2567- กรณีที่มีการรายงานข่าวบนสื่อแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 เผยแพร่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ CFP ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (“ไทยออยล์”) โดยมีการให้ข้อมูลอันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานของไทยออยล์ว่า Saipem ซึ่งเป็นบริษัทในกิจการร่วมค้าระหว่าง Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd. และ Saipem Singapore Pte. Ltd. (เรียกรวมกันว่า “UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem”) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาหลักโครงการ CFP ให้กับไทยออยล์ ได้ถอนตัวจาก UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem และการขาดทุนของ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ที่ เนื่องมาจาก UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ตกลงรับงานดำเนินโครงการ CFP ในราคาต่ำมากผิดปกติ โดยเสนอราคามาประมาณ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น เทียบกับราคาตามเนื้องานจริงอยู่ที่ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem อยากได้งานนี้ จึงรับข้อตกลงดังกล่าวกับไทยออยล์ รวมถึงสื่อดังกล่าวยังได้ วิเคราะห์และคาดการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการ CFP ของ ไทยออยล์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง อันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญในการดำเนินกิจการของไทยออยล์ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยประการที่อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์
ไทยออยล์ ขอชี้แจงว่า ด้วยโครงการ CFP เป็นโครงการที่มีมูลค่าสูง ไทยออยล์จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินงานโครงการฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้มีความชัดเจนในทุกขั้นตอน มีการกลั่นกรองเป็นลำดับขั้นอย่างรัดกุม นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำในเรื่องการตรวจสอบภายในโดยมีการแต่งตั้งผู้สังเกตการณ์อิสระ มีการนำแนวทางของ Integrity Pact (ข้อตกลงคุณธรรม) มาประยุกต์ใช้ โดยผู้สังเกตการณ์อิสระจะเข้าร่วมสังเกตการณ์ทุกขั้นตอนของกระบวนการประกวดราคาและมีความเป็นอิสระ เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานรวมถึงข้อสังเกตการณ์ต่างๆ โดยตรงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
ทั้งนี้ ในกระบวนการประกวดราคาผู้รับจ้างเหมาออกแบบวิศวกรรม การจัดหา และการก่อสร้าง (EPC: Engineering, Procurement and Construction) ของโครงการ CFP นอกจากมีการพิจารณาความเหมาะสมของผู้เข้าร่วมประกวดราคาแล้ว ไทยออยล์ได้จัดให้มีการชี้แจงข้อมูลโครงการฯ รายละเอียดของขอบข่ายงานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมประกวดราคา รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประกวดราคาแต่ละรายเข้าสำรวจพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ อย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้ประเมินแผนงานและมูลค่าการดำเนินงานโครงการฯ ก่อนที่ผู้เข้าร่วมประกวดราคาแต่ละรายจะยื่นข้อเสนอโครงการฯ ทั้งนี้ บริษัทที่เข้าร่วมประกวดราคาแต่ละรายเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำงานโครงการขนาดใหญ่มาแล้ว โดยการประกวดราคาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแบบเหมารวม (Lumpsum Contract) ซึ่งไทยออยล์เชื่อมั่นว่าผู้เข้าร่วมประกวดราคาแต่ละราย จะนำเสนอราคาที่มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินโครงการ CFP ให้สำเร็จได้ ซึ่งผลการประกวดราคา ปรากฏว่า บริษัท 1. Petrofac International (UAE) LLC, 2. Samsung Engineering Co., Ltd., และ 3. Saipem S.P.A. ได้รับการคัดเลือกและได้ทำสัญญาจ้าง EPC ดังกล่าวกับไทยออยล์ ดังนั้น Saipem ซึ่งเป็นคู่สัญญารายหนึ่งในสัญญาฯ กับไทยออยล์ จึงไม่สามารถที่จะถอนตัวออกจากสัญญาฯ ได้ นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังได้ปฏิบัติตามสัญญาฯ มาโดยตลอด และหลังจากที่เริ่มก่อสร้างโครงการ CFP ไปแล้ว ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อปี พ.ศ. 2562 ในหลายๆ ประเทศ และเริ่มส่งผลกระทบอย่างมากต่อการบริหารงานและการก่อสร้างโครงการ CFP ของ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 อย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2565 ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2564 UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ได้เริ่มเจรจากับไทยออยล์เพื่อขอเพิ่มงบประมาณในสัญญา EPC และขยายระยะเวลาส่งมอบโครงการ CFP ซึ่งไทยออยล์ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนตามหลักจริยธรรมแล้ว จึงได้อนุมัติการแก้ไขสัญญา EPC โดยให้งบประมาณเพิ่มเติมอีกจำนวน 550 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ไทยออยล์ขอยืนยันว่า ไทยออยล์ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการผลักดันให้ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ชำระค่าตอบแทนค้างจ่ายให้กับผู้รับเหมาช่วง โดยได้มีการส่งหนังสือสอบถาม UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem และบริษัทแม่ของ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem เกี่ยวกับมาตรการในการจัดการดูแลบริษัทผู้รับเหมาช่วงที่ยังไม่ได้รับชำระค่าจ้าง รวมถึงแผนชำระค่าตอบแทนค้างจ่ายมาโดยตลอด ซึ่งหาก UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ขาดสภาพคล่องจนไม่สามารถชำระค่าตอบแทนค้างจ่ายได้ บริษัทแม่ในฐานะผู้ออกหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา EPC ต้องให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem โดย UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ยืนยันว่า UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem จะทำการชำระค่าตอบแทนค้างจ่ายตามเงื่อนไขของสัญญารับเหมาช่วง นอกจากนี้ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ยังแจ้งไม่ให้ไทยออยล์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้รับเหมาช่วงเนื่องจากไทยออยล์ ไม่ได้เป็นคู่สัญญาในสัญญารับเหมาช่วง ดังนั้น หน้าที่ในการชำระค่าตอบแทนตามสัญญารับเหมาช่วงดังกล่าวเป็นหน้าที่ของ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง
ไทยออยล์ ยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาล ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และคำนึงถึงจริยธรรมและผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยได้ชำระค่าตอบแทนให้ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem อย่างครบถ้วนตามงวดงานของสัญญา EPC เพื่อให้การก่อสร้างโครงการ CFP สำเร็จและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดั๊บเบิ้ล เอ โชว์กำไร 9 เดือนแรกปี 2567 เพิ่มขึ้น 22.5%
บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 โดยมีรายได้รวม 5,872 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 645 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.5%
คมนาคมเผย พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ เตรียมเข้า ครม.3 ธ.ค. เดินหน้ารถไฟฟ้า 20 บาททุกเส้นทาง
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการดำเนินโครง