'สินทรัพย์ดิจิตัล' กับการป้องปรามคอรัปชั่น

ในช่วงที่ประเทศต่างๆทั่วโลกกำลังมีความกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ ในเวลาเดียวกับการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจในหลายประเทศยังลุ่มๆดอนๆ คือการฟื้นตัวยังไม่มีแรงส่งต่ออย่างชัดเจนจากผลกระทบกับ การระบาดของโรคโควิด 19 หลายระลอกตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีและยังไม่มีทีท่าว่า จะควบคุมได้ในระยะใกล้ๆนี้

ทฤษฏีเศรษฐศาตร์มหภาคเบื้องต้นที่เรียนมาก็สอนว่า นโยบายการคลัง ผ่านการกระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุนภาครัฐ หรือมาตรการลดหย่อนภาษี ถือว่าน่าจะช่วยชดเชย อุปสงค์การบริโภค การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวได้ และก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกดำเนินการกันอยู่ ไม่ยกเว้นประเทศไทยที่มีการกระตุ้น การใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งทางตรง และทางอ้อมในมากมายหลายต่อ หลายโครงการที่ปรากฎให้เห็น อยู่ตลอดเวลาในระยะหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นในทางเศรษฐกิจที่เงินจำนวนมหาศาลที่ภาครัฐ จ่ายออกไปนั้น ให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีมากน้อยเพียงใด คงเป็นประเด็นที่ต้องหยิบยกมา พิจารณาเชิงประจักษ์กันต่อไป 

ประเด็นที่จะพิจารณาคือประสิทธิภาพของการใช้จ่ายจำนวนมากนี้ จะต่างจากการใช้จ่าย และการลงทุน ภาคเอกชนซึ่งจะมีกลไกกลั่นกรองความคุ้มค่าและประสิทธิภาพที่รัดกุม อีกทั้งไม่ได้เป็นเงินจาก ภาษีอากรของประชาชน จึงมีความพยายามจากหลายหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่จะสร้าง กลไกตรวจสอบเพื่อทำให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ

ในกระบวนการรัฐสภา หรือ องค์กรอิสระที่พยายามหากระบวนการตรวจสอบทางตรง หรือทางอ้อมผ่านการสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้มีธรรมมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น อย่างไรก็ดี จากรายงานของ Global Economy.com. จัดอันดับ Control of coruption จากจำนวน 192 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่แย่ลงจากอันดับ 108 ในปี 2016 เป็นอันดับที่ 116 ในปี 2020

นักวิชาการทางด้านเทคโนโลยีหลายต่อแห่งก็เสนอให้นำความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีดิจิตัลมาควบคุมตั้งแต่ต้นทางน่าจะเป็นอีกเครื่องมือที่น่าจะลดโอกาสให้เกิดการทุจริตได้ เทคโลโลยีดังกล่าว ได้แก่ blockchain หรือที่รู้จักกันมากในฐานะ digital asset คือ bitcoin

หลายคนอาจสงสัยว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยยังไง และอย่างไร

Cryptocurrency หรือ สินทรัพย์ดิจิตัล เป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันในลักษณะที่เป็นสื่อกลาง ของการแลกเปลี่ยน ข้อดีของการใช้ cryptocurrency คือ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน การทำธุรกรรม และมีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า blockchain ที่เริ่มมีการใช้กันมาตั้งแต่ประมาณทศวรรตที่แล้ว

การทำงานของระบบ blockchain เป็น ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ “บัญชีการทำธุรกรรม” (Ledger) จะถูกกระจายไปเก็บไว้ในเครือข่าย คอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล ที่ใครก็ตามในเครือข่ายสามารถเห็นได้ ในเวลาทันทีทันใดที่ธุรกรรมนั้นเกิดขึ้น

โดยจุดใช้งานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ จะบันทึกธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในลักษณะ “บล็อก” (Block) และบันทึกธุรกรรมแรกที่ถือเกิดขึ้น ร้อยต่อๆธุรกรรมทั้งหมดต่อกันเป็นห่วงโซ (Chain) ที่แต่ละบล็อกในห่วงโซ่จะถูก สร้างรหัสล๊อคข้อมูลด้วยการระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ความปลอดภัย เหมือนกับการจัดเก็บทางกายภาพคล้ายเข้าไว้ในตู้เซฟที่มีรหัสกำหนดเฉพาะ จึงมั่นใจว่าเป็นธุรกรรมของแท้ และสามารถยืนยันธุรกรรมและตรวจสอบหลังจากนั้นว่าถูกต้อง

เป็นแบบนี้แล้วธุรกรรมต่างๆ จึงสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส โดยไม่จำเป็นต้อง มีตัวกลาง หรือบุคคลที่สาม ที่มีความเสี่ยงเรื่องการหลุดรั่วของข้อมูลให้เกิดการขายข้อมูลได้ผู้ทำ ธุรกรรม 2 ฝ่ายสามารถส่งสำเนาข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันเพื่อสร้างความไว้วางใจด้วยระบบนี้ การปลอมแปลงธุรกรรมในแต่ละบล็อกจึงทำได้ยากในทางเทคนิค และสามารถรับรู้หากมีการโจรกรรม ข้อมูลได้ทันเวลา

อย่างไรก็ดี หากยังไม่พูดถึงข้อวิตกกังวลของ digital asset ในมุมมองของเรื่องการควบคุมของทางการ ที่จะทำได้ยากขึ้น และต้นทุนของเทคโนโลยีนี้สูง เราจะถือว่าการใช้ digital asset หรือ cryptocurrency นี้ ตอบโจทย์ในการลดและ ปรามการทุจริตได้ในหลายแง่มุมเลยทีเดียว เพราะถ้าเจ้าของ อนุญาตให้เข้าดูข้อมูลได้ ก็สามารถติดตามการไหลเข้าออกของเงินในสินทรัพย์ดิจิตัล นี้ได้โดยละเอียด โดยที่ผู้สนับสนุนสินทรพย์ดิจิตัล ก็ขยายความถึงข้อโต้แย้งว่าการใช้สินทรัพย์นี้ ในวงการอาชญากรรม การฟอกเงิน จะทำได้ง่ายสะดวกและตามจับได้ยากนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ สินทรพัย์นี้มีการถ่ายเปลี่ยนมือในตลาด ก็จะสามารถเข้าไปตรวจสอบบันทึกรายธุรกรรม ได้ว่ามีที่มาที่ไปถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ .

ศักยภาพในการป้องปรามการเกิดทุจริต คอรัปชั่นของสินทรัพย์ดิจิตัลนั้น มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนา แอพพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมโยงกับระบบ blockchain ในระบบงานที่ต้องการสร้างความรัดกุมปิดความเสี่ยง ของการเกิดทุจริต คอรัปชั่นนั้นๆ

ตัวอย่างระบบงานภาครัฐที่มีการพูดถึงได้เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้บ้างแล้ว เช่น ในหลายประเทศนำร่องด้วย ระะบบจดทะเบียนที่ดิน ที่ไม่ใช้ระบบกระดาษ ในการจัดเก็บ รายการทะเบียนที่ดิน และกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อป้องกันการฉ้อโกงและการทุจริต และระบบการยืนยัยตัวตน ในการลงคะแนนและแอปพลิเคชันส่วนตัว เช่น ธุรกรรมการเงิน การจัดการ supply chain เป็นต้น

สำหรับในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโอกาสจะเกิดการทุจริตมาก ในการใช้จ่ายเงินภาครัฐจำนวนมากใน โครงการทั้งขนาดเล็กไปถึงขนาดประเทศ การใช้ cryptocurrency หรือสินทรัพย์ดิจิตัลนี้ สามารถติดตาม end beneficiary ได้อย่างถูกต้องเพราะข้อมูลธุรกรรมจะอยู่ในระบบอย่างคงทน ตลอดไป สามารถตามไปจับกุมผู้กระทำความผิดได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี อุปสรรคที่ยังไม่ได้มีการใช้ cryptocurrency หรือ สินทรพย์ดิจิตัลกันอย่างจริงจังนอกจาก จะเป็นเรื่องการลงทุนให้มีต้นทุนเทคโนโลยีลดลงแล้ว ยังเป็นเรื่องความชัดเจน ในแต่ละบริบท ของการทางการควบคุม ประเด็นข้อกฏหมาย ประเด็นภาษี ว่าได้ชั่งน้ำหนักข้อดีคุ้มกับข้อเสีย ออกมาชัดๆได้หรือยัง

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

ดร สิงห์ชัย บุณยโยธิน

กลุ่มงานนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ดร.กิตติธัช’ ย้ำบล็อกเชนไม่เหมาะ นำมาแจกเงินดิจิตัล 10,000 บาท

ดร.กิตติธัชยืนยันคำเดิม Blockchain ไม่เหมาะสำหรับนำมาแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ประชากรจำนวนกว่า 50 ล้านคน มันมีการรับส่งข้อมูลที่เยอะเกินไ

'เศรษฐา' โต้ 'ชูวิทย์' โกรธที่ไม่ซื้อที่ดินตัวเอง ลั่น 'ไม่ได้ทำผิด คุณไม่มีสิทธิ์มาขู่ผม'

'เศรษฐา' ร่ายยาวปม 'แสนสิริ' ซื้อที่ดิน ยันทำนิติกรรมถูกต้องตามกม.ทุกอย่าง ไม่มีนอมินี ไม่มีเงินทอน ซัด 'ชูวิทย์' โกรธที่ไม่ซื้อที่ดินตัวเอง โวยโดนขู่หลังถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ ลั่น'ไม่ได้ทำอะไรผิด คุณไม่มีสิทธิ์มาขู่ผม'

‘จตุพร’ มั่นใจ 10 ส.ค.ไร้เงา ‘ทักษิณ’ ชี้ไม่เคยมีผู้ต้องคดีทุจริตคอร์รัปชันได้รับอภัยโทษ

‘จตุพร’ ช่วยคิดข้ออ้างไม่กลับไทย 10 ส.ค. แนะหาเหตุป่วยอยู่รักษาตัวดีกว่า เชื่อสิบโมงครึ่งไม่มีทักษิณลงดอนเมือง ท้ายังกลับมาโอกาสติดคุกนานถึง 3 ปี จึงรู้ผลลัพธ์ได้อภัยโทษหรือไม่? ย้ำยังไม่ปรากฏผู้ต้องคดีทุจริตคอร์รัปชันได้รับอภัยโทษ