สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เดินหน้าสร้างความตระหนักรู้ด้านการคุ้มข้อมูลส่วนบุคคลภาคการศึกษา ผนึกความร่วมมือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ลงนาม MOU เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าและสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาของคณะนิติศาสตร์ ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการศึกษาและวิจัย รวมถึงการให้บริการด้านวิชาการเพื่อสังคม
15 ต.ค. 2567 – นายศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวว่า PDPC ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ ร่วมกับ ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ PDPC และ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จะร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ มุ่งเน้นความตระหนักรู้ด้านกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำหลักการของกฎหมาย PDPA มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องในการช่วยเหลือประชาชนในอนาคต นอกจากนี้ PDPC ยังสนับสนุนการศึกษาและวิจัยโครงการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการจัดอบรม สัมมนาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติของทั้งสององค์กร
ทั้งสองหน่วยงานเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาและการเผยแพร่การศึกษาเรื่องกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ควบคู่กับการพัฒนาการศึกษาให้ทันสมัย ผ่านการวิจัย การจัดกิจกรรม การจัดอบรมร่วมกันให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อันจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสถาบันเปิดกว้างในการเรียนรู้ โดยในแต่ละปีมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนักศึกษามากกว่า 300,000 คน โดยมีนักศึกษาที่เรียนด้านนิติศาสตร์มากกว่า 30,000 คน นักศึกษาและบุคลากรด้านนิติศาสตร์จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟือง ที่ช่วยให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสามารถพัฒนาบุคลากรและนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเข้าใจรวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย PDPA อย่างถูกต้องอีกด้วย
นายศิวรักษ์ กล่าวว่า ในปีนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเริ่มสร้างหลักสูตรเป็นต้นแบบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลสำหรับประชาชนทั่วไป และยังวางแผนสร้างหลักสูตรต้นแบบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ครอบคลุมทุกหน่วยงาน อาทิ หลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, หลักสูตรสำหรับผู้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, หลักสูตรสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล รวมถึงเข้าใจในแก่นแท้ของกฎหมาย PDPA อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ดี PDPC หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงในครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ นิสิต นักศึกษา เพื่อสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำหลักการของกฎหมาย PDPA มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องในอนาคต
ด้านนายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ กล่าวเสริม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความมุ่งมั่นตั้งใจให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA โดยการร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการผลักดันให้เกิดมาตรฐานในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องนี้ เนื่องจากที่ผ่านมากฎหมาย PDPA เป็นกฎหมายใหม่ ทำให้บุคลากรรวมถึงนักศึกษาวิชากฎหมายมีความเข้าใจและตีความกฎหมายแตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน การร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานในครั้งนี้ จะเป็นการร่วมมือที่ดี เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจกฎหมาย PDPA ไปในทิศทางเดียวกันและสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลให้ได้รับความยุติธรรมตามกฎหมาย โดยการร่วมมือในครั้งนี้มีประโยชน์ในแง่ของวิชาการ การขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ ตลอดจนการสร้างมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางโลกปัจจุบันที่ความเป็นส่วนตัวถูกรุกรานด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ
สำหรับการจัดทำหลักสูตรต้นแบบ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องอาศัยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมุ่งหวังจะนำหลักสูตรต้นแบบที่จัดทำขึ้นเข้ามายังมหาวิทยาลัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์นำไปพัฒนาปรับปรุงใช้ในกระบวนการศึกษาต่อไป มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังมีศูนย์ให้ความรู้ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นกลไกสำคัญที่จะขยายและส่งต่อความรู้ด้านกฎหมาย PDPA สู่ภูมิภาคต่าง ๆ ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย ทำให้เรามีการดำเนินการที่ทัดเทียมสากลในอนาคตต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘กนก’ สะท้อน ปัญหาความยุติธรรมโดยกฎหมาย บังคับใช้ กม.มากกว่าตัวบทของ กม.
ประเด็นที่เกิดคำถามต่อไป คือกฏหมายมุ่งเน้นบังคับไม่ให้คนกระทำผิด มากกว่าการทำให้คนกระทำผิดเป็นคนดี ใช่หรือไม่
ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ 'กฎอัยการศึก' สส.ไทยไม่สามารถยกเลิกได้ แตกต่างจากเกาหลีใต้
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย กฎอัยการศึกสถานะเป็นพระราชบัญญัติ การยกเลิกในประเทศเกาหลีใต้กระทำโดยมติสภา แตกต่างจากประเทศไทย สส.ตัวแทนประชาชน ไม่สามารถยับยั้งยกเลิกได้
แห่หนุนร่างกฎหมาย 'จัดระเบียบกลาโหม' ฉบับเพื่อไทย ตัดท่ออำนาจเหล่าทัพสกัดยึดอำนาจ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่ในส่วนของการรับฟังความเห็นร่างพ.ร.บ.ตามรัฐธรรมนูญ
ป.ป.ช.สะดุ้ง! ยก 6 เหตุผลปราบคอร์รัปชันไร้ประสิทธิภาพ คนโกงจึงเหิมลำพอง
สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ