15 ต.ค. 2567 – เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ในวันใกล้โลกที่สุด โดยระบุว่า ช่วงนี้ถ้าใครเห็นเส้นจาง ๆ พาดยาวค้างอยู่บนท้องฟ้าช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก นั่นคือ “ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส”
ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพุธและดาวศุกร์ เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2024 ที่ระยะห่างประมาณ 58.6 ล้านกิโลเมตร (ประมาณระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธ) ก่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 13 ตุลาคม 2567 ที่ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะเป็นช่วงที่ดาวหางจะมีความสว่างปรากฏบนท้องฟ้ามากที่สุด ก่อนที่ดาวหางจะโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะโคจรกลับมาอีกครั้งในอีก 80,660 ปีข้างหน้า
ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS ประเทศแอฟริกาใต้ นักดาราศาสตร์ทั่วโลกได้เฝ้าติดตามสังเกตการณ์ และพบว่าความสว่างปรากฏมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนต่อมาได้กลายเป็นดาวหางอันโดดเด่นแห่งปี พ.ศ. 2567
ขณะนี้ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กำลังโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ แต่จะยังคงสังเกตการณ์ได้จนถึงช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคม เนื่องจากดาวหางจะปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานขึ้น ทำให้มีเวลาสังเกตการณ์มากขึ้น
ผู้สนใจชมดาวหาง ดาวหางจะปรากฏให้เห็นในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตก ทางขวาของดาวศุกร์ (ดาวที่ปรากฏสว่างที่สุดในช่วงนี้ทางทิศตะวันตก) ชมได้ทั่วประเทศ หากท้องฟ้าใสไร้เมฆ และอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงรบกวนน้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สดร. เปิดเทศกาลชมดาว รับลมหนาว เริ่ม 2 พ.ย.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนคนไทยดูดาวหนาวนี้ เริ่มกิจกรรมแรก 2 พฤศจิกายน 2567 กับการ“เปิดเทศกาลชมดาว…รับลมหนาว”
ประเดิมรับลมหนาว! หอดูดาว 5 แห่ง จัดชมปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 3 พ.ย.นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า 3 พฤศจิกายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนคนไทยส่อง #ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
ชมเลย ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ทำการไลฟ์สด ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย ในช่วงเช้ามืด 29 ตุลาคม 2566 นี้!!
NARIT โชว์ภาพ ‘ดาวศุกร์’ ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปีนี้
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า ดาวศุกร์ หรือ ดาวประกายพรึก รุ่งเช้าวันนี้
มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี
‘NARIT’ ชวนดู ‘ดาวศุกร์’ สว่างที่สุดในรอบปี ช่วงค่ำ 10 ก.ค.นี้
วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 “ดาวศุกร์สว่างที่สุด” ครั้งแรกของปีนี้ ปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 19:00 ถึง 21:09 น. สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ