'บอนด์ออมทรัพย์' ยอดขายสุดปัง เหลือให้จับจองวันนี้อีก 3,000 ล้านบาท

“สบน.” ปลื้มยอดจำหน่าย บอนด์ออมทรัพย์ พิเศษ รุ่นส่งความสุข วันแรกสุดจะปัง ผู้สูงอายุลุยซื้อกระฉูด 27,000 ล้านบาท จากวงเงิน 30,000 ล้านบาท

18 ม.ค. 2565 นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า วันที่ 17 ม.ค. เป็นวันแรกของการพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่นส่งความสุข อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 1.90% ต่อปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยได้เปิดการจำหน่ายให้กับประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ที่ผ่านมา และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถจำหน่ายได้แล้วประมาณ 27,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ วงเงินที่เหลืออีก 3,000 ล้านบาท จะจำหน่ายให้ผู้สูงอายุในวันที่ 18 ม.ค. 2565 อีก 1 วัน และเปิดจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปในวันที่ 19 ม.ค. 2565 เวลา 08.30 น. ต่อไป

อย่างไรก็ดี ผู้สนใจสามารถสอบถามวิธีการจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านช่องทาง Counter Internet Banking และ Mobile Banking ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อความสะดวกและสามารถทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

พันธบัตรออมทรัพย์ฯ รุ่นส่งความสุข เปิดจำหน่ายช่วงที่ 1 สำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

พันธบัตรออมทรัพย์ฯ รุ่นอายุ 3 ปี
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.90% ต่อปี (โดยเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได)
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.60% ต่อปี
ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 1.80% ต่อปี
ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 2.30% ต่อปี

เปิดจำหน่าย: วันที่ 17-31 ม.ค. 65

เงื่อนไข

ช่วงที่ 1 : วันที่ 17 – 18 ม.ค. 65 สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
วงเงินจำหน่าย 30,000 ล้านบาท (รวมทุกธนาคาร) ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท
สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท/คน/รวมทุกธนาคาร
ช่วงที่ 2 : วันที่ 19 – 23 ม.ค. 65
วงเงินจำหน่ายที่เหลือจากช่วงที่ 1 ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท
สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท/คน/รวมทุกธนาคาร
ช่วงที่ 3 : วันที่ 24 – 31 ม.ค. 65
วงเงินจำหน่ายที่เหลือจากช่วงที่ 2 ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินซื้อสูงสุด

อ่านเพิ่มเติม ธปท. คลอดแผนพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2565

กดซื้อผ่าน ธนาคารกรุงเทพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บัญชีกลาง' เตือนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ข้อมูลหลอกลวงผู้รับบำนาญ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรมบัญชีกลางยังคงได้รับแจ้งเบาะแสจากผู้รับบำนาญและประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ว่ามีมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมบัญชีกลาง ชื่อผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ หลอกลวงว่ามีเงินที่ค้างรับจากกรมบัญชีกลางและให้ดำเนินการตามที่มิจฉาชีพแจ้ง