อนันดาฯ มั่นใจ!! กรณี “เฮลิกซ์” ไม่กระทบต่อศักยภาพการบริหารจัดการ และสถานะทางการเงิน อย่างแน่นอน
25 ก.ย. 2567 – สืบเนื่องจากข่าว “ดีเอสไอ ดำเนินคดีกับอดีตกรรมการบริษัท เฮลิกซ์ จำกัด บริษัทในเครือ “อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์” ในความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 หลังพบก่อความเสียหายกว่า 996 ล้าน” บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ขอชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่า บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด (บริษัทย่อยของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) เป็นการลงทุนในบริษัทก่อสร้าง โดยเข้าถือหุ้นจำนวนร้อยละ 99.99 ซึ่งต่อมาได้มีการตรวจสอบพบว่าเมื่อประมาณปี 2563 (ซึ่งไม่ใช่เหตุการณ์ปัจจุบัน) บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด เกิดการขาดทุนสะสมอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่ามีผลดำเนินธุรกิจขาดทุนในโครงการก่อสร้าง จึงได้มอบหมายให้ตัวแทนบริษัทไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โดย ดีเอสไอมีความเห็นสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ฐานความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มเข้าลงทุนในบริษัท เฮลิกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบการในธุรกิจก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 เนื่องจากในเวลาดังกล่าวบริษัทฯ ตระหนักถึงการขาดแคลนผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงได้ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจดังกล่าว โดยมีรูปแบบการดำเนินงานและทีมงานบริหารจัดการที่แยกออกจากบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) อย่างชัดเจน ซึ่งต่อมาผลการดำเนินงานของบริษัท เฮลิกซ์ จำกัด มีภาวะการขาดทุนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ทำให้บริษัทฯ ได้ตัดสินใจหยุดการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวในปี 2563
ซึ่งผลการขาดทุนดังกล่าวนั้น บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการรับรู้ไปทั้งหมดแล้ว แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานการควบคุมภายในตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้พบความผิดปรกติในการบริหารงานของบริษัท เฮลิกซ์ จำกัด จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งต่อมา DSI ได้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง และมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาซึ่งเป็นผู้บริหารของ บริษัท เฮลิกซ์ จำกัด ทั้ง 3 ราย ฐานความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามที่ปรากฏในข่าวการร้องทุกข์กล่าวโทษ อยู่บนพื้นฐานข้อมูลและเอกสารที่เกิดขึ้น และข้อสรุปจากการสอบสวนเป็นสำคัญ
บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ยังคงยึดถือความโปร่งใสและความถูกต้องในการติดตามเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดของบริษัท อย่างสูงสุด
“ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอยืนยันว่าเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้น ได้มีการตรวจสอบพบตั้งแต่ปี 2563 จึงไม่ใช่เหตุการณ์ปัจจุบัน ถือเป็นความเสียหายในอดีต ซึ่งบริษัทได้รับรู้ผลการดำเนินการตามมาตรฐานบัญชีเรียบร้อยแล้ว ไม่กระทบกับการดำเนินงานและฐานะทางการเงินในปัจจุบันของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แต่อย่างใด” นายชานนท์ กล่าวทิ้งท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทวี' สั่ง 'DSI' ตรวจสอบข้อเท็จจริง รื้อคดี 'แตงโม' ก่อนยื่นอัยการสูงสุดหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ขอให้กระทรวงยุติธรรม ทำหนังสือถึงอัยการ
DSI หอบสำนวน 161 ลัง ส่งอัยการฟ้อง 'ดิไอคอน-18 บอส' 5 ข้อหาหนัก
พันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร้อยตำรวจเอกวิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
'ดีเอสไอ' ประชุมใหญ่ สรุปสำนวนดิไอคอน ก่อนส่งอัยการ 23 ธ.ค.นี้
จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
พยานฝั่งดิไอคอน ร้อง 'กมธ.ความมั่นคง' หวั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม
ผู้เสียหายและพยานที่ได้รับความเดือดร้อน จากการอายัดทรัพย์โดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความผิดที่ถูกกล่าวหา กรณี บริษัท ดิ ไอคอนกรุ๊ป เข้ายื่นหนังสือถึง นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ
'เคนโด้-อี้' จี้ดีเอสไอ สอบบริษัทเครือข่ายขายซิม-รถยนต์ของ 'สามารถ' หลังยึดได้ 15 คัน
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายเกรียงไกรมาศ พจนสุนทร หรือ เคนโด้ และ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม
เปิดพฤติการณ์ 'สามารถ' ฟอกเงินดิไอคอน ตำรวจค้านประกันร่ายเหตุผลยาว
ศาลอาญารับฝากขัง สามารถ-เเม่ ฟอกเงินคดีดิไอคอน ด้านจนท.ค้านประกันร่ายยาว เป็นบุคคลที่เคยมีตำแหน่งทางการเมือง ใกล้ชิดกับคนมีอำนาจ และมีศักยภาพการเงินสูง เกรงว่าจะหลบหนีไปยุ่งกับพยานหลักฐาน พบเงินหมุนเวียนตั้งเเต่ปี 61 ร้อยกว่าล้าน