ดีอีเอส - ดีป้า ลุยสิงห์บุรีปั้นตลาดสดต้นแบบยุคดิจิทัล

ดีอีเอส – ดีป้า ลุยสิงห์บุรีปั้นตลาดต้นแบบพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานรากพาพ่อค้าแม่ค้า Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ ฝ่าวิกฤตโควิด-19

16 มกราคม 2565 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มุ่งมั่นผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ “ประเทศไทย 4.0” ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพิ่มโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ง่ายและสะดวก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มประสิทธิภาพในทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตลอดจนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านดิจิทัลแก่ประชาชนให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลในชีวิตประจำวันในบริบทของตนเองได้อย่างเหมาะสม

โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ (New Normal) ดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ดั้งนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า และร้านค้าต่าง ๆ ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า ทั้งด้านการขายและการให้บริการ เพื่อรองรับการจับจ่ายใช้สอยที่กำลังจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังวิกฤตโควิด–19 และมาตรการผ่อนปรนจากภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ

“จังหวัดสิงห์บุรีถือเป็นอีกหนึ่งในพื้นที่นำร่องของโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ และได้มีการจัดกิจกรรมตลาดต้นแบบที่ตลาดสดเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสิงห์บุรี เป็นศูนย์รวมอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภค และตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน วัดโพธิ์เก้าต้น ซึ่งเป็นแหล่งรวมที่นักท่องเที่ยวได้ท่องเที่ยวอย่างครบรส ทั้งไหว้พระทำบุญ กิน และเลือกซื้อสินค้า OTOP ของชาวชุมชน โดยหากพ่อค้าแม่ค้าสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ มีฐานผู้บริโภคกว้างขึ้น พลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมก้าวสู่การเป็นตลาดต้นแบบของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของจังหวัด นั่นก็คือ การพัฒนาสู่เมืองเกษตรอินทรีย์มาตรฐานและอาหารปลอดภัยแบบครบวงจร การพัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ (New Normal) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาไปสู่การแข่งขันในรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อย เช่น หาบเร่ แผงลอย ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนำร้านค้าเข้าแพลตฟอร์มช่องทางการจำหน่ายและจัดส่งสินค้าได้อย่างครบวงจร โดยนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ นครปฐม ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ครอบคลุมผู้ประกอบการ จำนวน 30,000 ราย พร้อมทั้งขยายการรับรู้ไปยังพื้นที่ปริมณฑลอีก 4 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564–มีนาคม 2565
ดีป้า ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมตลาดต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือก ภายใต้โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ (New Normal) อย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของ “ตลาดสดเทศบาลเมืองสิงห์บุรี” และ “ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน วัดโพธิ์เก้าต้น” จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มช่องทางการจำหน่ายและจัดส่งสินค้า (Local Application) ให้กลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมาย พร้อมสนับสนุนให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพ (Digital Startup) และผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Provider) ครอบคลุม 6 กลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายออนไลน์ ได้แก่ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ (E–payment) ระบบจำลองการสนทนา (Chatbot) ระบบการสั่งอาหารหรือสินค้า (Delivery) ระบบขนส่งสินค้า (Logistics) ระบบบริหารจัดการจุดขาย (Point Of Sales : POS) และระบบบริการ (Service) สามารถจับคู่ธุรกิจกับเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยในพื้นที่ผ่านกิจกรรมตลาดต้นแบบ เพื่อร่วมกันเปลี่ยนทุกการซื้อขายสู่ (โลก) ออนไลน์ ปรับทุกไลฟ์สไตล์สู่สังคมไร้เงินสด

“การจัดกิจกรรมต้นแบบจะเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้ Local Application ให้พ่อค้าแม่ขายสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การเป็นตลาดต้นแบบที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบ และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 จะจัดงาน Showcase เพื่อแสดงผลสำเร็จในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด–19 พร้อมแลกเปลี่ยนบทเรียนการแปลงโฉมตลาดสดทั้ง 6 จังหวัดให้เป็นตลาดสดยุควิถีใหม่ นอกจากนี้ จะมีการต่อยอดไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยในปี 2565 จะดำเนินงานต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงร้านค้าอีก 65,000 ราย และสร้างตลาดต้นแบบด้านดิจิทัลได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศอีกกว่า 20 จังหวัด สร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดีป้า' ลุยขอนแก่น นำร่องจัดโรดโชว์เรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้ง ประสบความสำเร็จเกินคาด

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างกำลังคน

เริ่มแล้ว “มหกรรม UP EXPO ลุ่มเจ้าพระยาป่าสัก @ สิงห์บุรี” สุดยิ่งใหญ่ คัดสรรสุดยอดสินค้าลุ่มเจ้าพระยาป่าสัก กว่า 160 ร้านค้า มาที่เดียวเที่ยวได้ 6 จังหวัด

จังหวัดสิงห์บุรี ผนึกกำลังพันธมิตรทางการค้า 6 จังหวัดภาคกลางตอนบน ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง จัดงาน “มหกรรม UP EXPO ลุ่มเจ้าพระยาป่าสัก @ สิงห์บุรี” ชวน ช้อป ชิม ชม สินค้าของดี ของเด่น

'พล.อ.ประวิตร'นำ พปชร.สัญจรหนองคาย ชมศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน มุ่ง พัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ พร้อมรับฟังปัญหาสะท้อนรัฐบาล-สภาฯ เร่งจัดการดูแลให้ชาวอีสาน

พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รองหัวหน้าพรรค,นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรค, นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค, ,นางสาวตรีนุช เทียนทอง รองหัวหน้าพรรค ร่วมลงพื้นที่สัญจรที่โรงเรียนฮั่วเคียวกงฮัก เทศบาลเมืองหนองคาย อ.เมือง จ.หนองคาย โดยมีนายกระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ สส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชารัฐให้การต้อนรับ

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯดิจิทัล Q4 ตก ผู้ประกอบการกังวลภาวะเศรษฐกิจ

ดีป้า เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 4/2566 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3 เล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับเชื่อมั่น โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สร้างความกังวลแก่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินบาท ความกังวลจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของภาครัฐที่ล่าช้า ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว