แนะวิธีป้องกันลูกน้อยห่างไกล RSV ไวรัสตัวร้ายของเจ้าตัวเล็ก

ฤดูฝนทีไรคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จะเกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ลูกน้อยป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะ “โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV” ซึ่งโรคนี้มองเผินๆ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบติดเชื้อได้ และหากปล่อยไว้อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต

31 ส.ค. 2567 – พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า โรค RSV เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจได้ทั้งทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่าง พบได้ในเด็กทุกช่วงวัย จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบการติดเชื้อ RSV มากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี รองลงมาคือกลุ่มเด็กอายุ 2-5 ปี ซึ่งโรค RSV จะมีการระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวของทุกปี

สำหรับเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อ RSV จะเริ่มแสดงอาการรุนแรงหลังจากเด็กติดเชื้อมาแล้ว 4-6 วัน เนื่องจากเชื้อ RSV จะมีระยะเวลาฟักตัวประมาณ 5 วัน โดย 2-4 วันแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือ มีน้ำมูกใส ๆ หรือขาวขุ่นปริมาณมาก คอแดง หลังจากนั้นจะเริ่มไอและมีไข้สูงถึง 39-40 องศา เมื่อมีการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลต่อทางเดินหายในส่วนล่าง ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ หายใจมีเสียงหวีด เหนื่อยหอบ หายใจเร็วและหายใจลำบาก กล่องเสียงอักเสบ และส่งผลให้เกิด “โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ” คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย หากมีความเสี่ยงให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว อันตรายถึงชีวิตได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค RSV แพทย์จะทำการประเมิน และรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมหรือน้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอดและดูดเสมหะออก

อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กและไม่อยากให้ลูกป่วยเป็นโรค RSV สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้ 1. ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 2. ทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อย ๆ ป้องกันการสะสมของเชื้อโรค 3. สร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กเล็ก และทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็กโต 4. พักผ่อนให้เพียงพอ 5. ดื่มน้ำสะอาด 6. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย 7. งดพาเด็กไปเล่นในสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น ห้างสรรพสินค้า 8. แยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว ซักล้าง ทำความสะอาดหลังใช้งาน

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันลูกน้อยจากโรค RSV ในปัจจุบันมี “โปรแกรมยาเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัส RSV” ลักษณะเหมือนการฉีดวัคซีนทั่วไป เพื่อกระตุ้มภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ ลดความรุนแรงของโรค โดย “ยาเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัส RSV” เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในป้องกันโรค RSV ให้กับเด็ก ๆ โดยแนะนำฉีด 5 เข็ม ฉีดเดือนละ 1 เข็มในฤดูที่มีการระบาด เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนด, เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีที่มีโรคปอดเรื้อรังหรือโรคหัวใจหัวใจ หรือเด็กที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แต๊งค์ พงศกร' หุ่นพัง-งานหาย! ตัดสินใจแปลงร่างเพื่อครอบครัว

แต๊งค์-พงศกร มหาเปารยะ รับเคยปาร์ตี้หนักจนลงพุง หนักถึง 80 กิโลกรัม แม้แต่เพื่อนในวงการยังจำหน้าไม่ได้ ทำให้งานจ้างหาย สุขภาพย่ำแย่ สู่การตัดสินใจแปลงร่างพลิกชีวิต มุ่งมั่นลดน้ำหนักได้ถึงเดือนละ 10 กิโล จนทวงคืนร่างทองภายใน 4 เดือนได้สำเร็จ โดยเจ้าตัวเปิดใจผ่านรายการ "คนแปลงร่าง"

‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก

การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่