PDPC ผนึก วช. และ สกมช. ลงนามร่วมมือป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ วช. และ สกมช. ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อช่วยป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทย พร้อมมุ่งสร้างความตระหนักรู้ เพื่อช่วยให้ประเทศก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

30 ส.ค. 2567 -สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เผยว่า ในยุคปัจจุบัน ที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์กำลังมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความปลอดภัยในระบบดิจิทัล รวมถึงยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยให้สูงขึ้น สคส. จึงได้ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (สกมช.) ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อผนึกกำลังร่วมกันสนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรม รวมถึงองค์ความรู้ในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย

ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของทั้ง 3 องค์กร ที่จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี องค์ความรู้ และทรัพยากรบุคคล รวมถึงช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างระบบตรวจจับภัยคุกคามที่ตอบสนองได้รวดเร็ว ช่วยป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถพัฒนาแนวทางป้องกันและฟื้นฟู ที่เหมาะสม ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย

นอกจากนี้ การร่วมมือกันระหว่าง สคส., วช., และ สกมช. ในครั้งนี้ ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเป็นปัจจุบัน และช่วยบูรณาการให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างมั่นคงและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บีโอไอไฟเขียว 'เวสเทิร์น ดิจิตอล' ลงทุนเพิ่มกว่า 2.3 หมื่นล้าน ขยายฐานผลิตฮาร์ดดิสก์ครั้งใหญ่

บีโอไอไฟเขียว “เวสเทิร์น ดิจิตอล” ลงทุนเพิ่มกว่า 23,000 ล้านบาท ขยายฐานผลิตฮาร์ดดิสก์ครั้งใหญ่ รองรับคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์

กระแสโซเชียล อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร นายกฯ คนที่ 31 วิเคราะห์เสียงสะท้อนจากชาวเน็ต

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ "อุ๊งอิ๊ง" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 น.ส.แพทองธาร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นสตรีคนที่สองที่ดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นบุคคลที่สามในตระกูล “ชินวัตร” ที่ได้นั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศไทย ส่งผลให้เกิดกระแสการพูดคุยและถกเถียงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย

สภาผู้บริโภคเผย 3 ปี พบคนไทยเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 65,000 ล้านบาทต่อปี!

สภาผู้บริโภคเผย 3 ปี พบคนไทยเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 65,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 180 ล้านบาทต่อวัน ครึ่งแรกปี 2567 สถิติร้องเรียนสูงถึง 1,386 กรณี จากช่องทางเฟสบุ๊คสูงสุด เตรียมเปิดเวทีสัมมนาใหญ่ “โครงการสานพลังอาเซียนบวกสาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์” ครั้งแรกในอาเซียน อัพเดทกลโกง ถกหาความร่วมมือที่เข้มแข็ง 29-30 ส.ค.นี้