“ธอส.” โชว์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ–ปริมณฑล ไตรมาส 4/2564 ขยับสูงขึ้นหลังจากต่ำกว่าค่ากลางต่อเนื่อง 10 ไตรมาส อานิสงส์ ผ่อนเกณฑ์ LTV-ต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ปลุกกำลังซื้อฟื้น ลุ้นรัฐเปิดประเทศมากขึ้นช่วยหนุนเศรษฐกิจ
13 ม.ค. 2565 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 52.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าค่ากลางที่ 50.0 สะท้อนว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นเป็นไตรมาสแรกหลังจากที่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่าค่ากลางต่อเนื่อง 10 ไตรมาส
ขณะที่ความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 62.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.2 และมีการเพิ่มขึ้นเกือบทุกปัจจัย จากการต่อมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และการจดจำนอง
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ค่าดัชนีในไตรมาส 4/2564 ที่เพิ่มขึ้น มาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายมาตรการ LTV ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยจากโควิด-19 รวมถึงการที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการเปิดประเทศ ส่งผลเชิงบวกต่อการกลับมาของกำลังซื้อที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติ ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในทิศทางที่เป็นบวกเพิ่มขึ้น
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 62.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.2 และมีการเพิ่มขึ้นเกือบทุกปัจจัย ยกเว้นในปัจจัยของต้นทุนผู้ประกอบการที่ต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0
“ภาพรวมของดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในเชิงบวกเพิ่มขึ้น เป็นผลมารัฐต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองไปถึงสิ้นปีนี้ และผู้ประกอบการคาดว่าหากมีการเปิดประเทศได้มากขึ้นจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทำให้กำลังซื้อเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ” นายวิชัย กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อสังหาฯ 4 จังหวัดภาคใต้ฟื้น อานิสงส์ท่องเที่ยวหนุน ภูเก็ตนำโด่ง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2566
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ชี้ราคาบ้านใน กทม. และปริมณฑล ขยับตัวเพิ่มขึ้น
ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขาย ไตรมาส 4 ปี 2566 บ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ดันดัชนีภาพรวมพุ่ง 130.3
ราคาเหล็กลดวูบ หนุนดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้าน Q3 เพิ่มเพียง 1.5%
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 3 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566 (QoQ) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาที่ดินเปล่าไตรมาส 2 ขยับเพิ่ม 6.2% แต่เริ่มโตลดลง จากปัญหาศก. -หนี้ครัวเรือน
ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 /2566 ภาพรวมเพิ่มขึ้น 6.2% แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิด-19
ราคาที่ดินเปล่าขยับต่อเนื่อง โซนบางพลี-บางบ่อขึ้น 40% ส่วนบางใหญ่ ขึ้น 24%
‘ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์’ แจงไตรมาส 2/65 ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑยังขยับ พร้อมเปิด 5 ทำเลทองชานเมือง ปักหมุดโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธงราคาพุ่งแรง 40.5% ส่วนที่ดินแนวรถไฟฟ้ายังปังไม่ไหว
ตลาดอสังหาฯไตรมาส 1 ฟื้นตัวแรง โตทะลุ 10%
ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) ของประเทศไทยไตรมาส 1 ปี 2565 เท่ากับ 86.8 เพิ่มขึ้น 10.4% เหตุเพราะภาพรวมยอดขายดีขึ้น