'พาณิชย์' บุกทลาย แหล่งอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมระบาด

กรมทรัพย์สินทางปัญญา บุกทลาย แหล่งอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมระบาดเสี่ยงอันตรายต่อผู้บริโภคได้

6 ส.ค. 2567 – กรมทรัพย์สินทางปัญญา ผนึกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรฐกิจ (บก.ปอศ.) พร้อมด้วยตัวแทนเจ้าของสิทธิและผู้รับมอบอำนาจในทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท เดอะพร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล จํากัด จัดชุดปฏิบัติการร่วมปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอะไหล่เครื่องยนต์และแชมพูปลอมเครื่องหมายการค้าหลายรายการของกลางรวมทั้งสิ้น 12,183 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท

นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญ กับการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เนื่องจากสินค้าปลอมประเภทนี้เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและมีการใช้สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อผู้บริโภค การบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิด จึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จำเป็นต้องนำมาบังคับใช้กับการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา นอกเหนือจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ แก่ผู้ประกอบการในการนำสินค้าที่ถูกต้องมาจำหน่าย เพื่อลดปริมาณสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าสู่ท้องตลาด และปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคจากอันตรายที่เกิดจากการบริโภคสินค้าปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน

การปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการร่วมในครั้งนี้ สืบเนื่องจากมีการผลิตแชมพูปลอม โดยการนำขวดแชมพูจริงมาบรรจุสารเคมีที่ผลิตขึ้นเองออกจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในราคาถูกกว่าท้องตลาดและการนำเข้าอะไหล่เครื่องยนต์ปลอมประเภท ตลับลูกปืน ก้านลูกสูบ สลักข้อเหวี่ยง กรองน้ำมัน กรองอากาศ มาจำหน่ายให้กับร้านจำหน่ายอะไหล่ยนต์ทั่วประเทศ ของกลางรวมทั้งสิ้น 12,183 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท

​​นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สินค้าปลอมเหล่านี้ลักษณะภายนอกใกล้เคียงของจริงแต่ไม่ได้มาตรฐานเป็นสินค้าที่อันตรายต่อผู้บริโภคอย่างมาก จึงฝากเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวัง ในการชื้อสินค้าราคาถูกมาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายที่คาดไม่ถึง ควรเลือกซื้อสินค้าจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เลือกดูบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีตำหนิ ราคาเหมาะสมไม่ถูกกว่าท้องตลาดจนเกินไป บทลงโทษของการจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้ามีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ปรับสูงสุด 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับสูงสุด 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากประชาชนพบเห็นการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญา สามารถแจ้งเบาะแสผ่านทางเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th หัวข้อบริการ “แจ้งเบาะแสการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญา” หรือ โทรสายด่วน 1368

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแล้ว!! มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สุดยอดสินค้า GI ทั่วไทยถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 ที่เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

เริ่มแล้ววันนี้ มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย รวมไว้ในงานเดียว ส่งมอบเอกลักษณ์ท้องถิ่นถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 จัดโดย ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ชาวพังงาเฮ 'ปลิงทะเลเกาะยาว' ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตัวใหม่แล้ว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศ ขึ้นทะเบียน “ปลิงทะเลเกาะยาว” เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงาต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ 3.3 ล้านบาทต่อปี

พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง

ผลักดัน 'ปลาพลวงชมพู-ปลานิลสายน้ำไหล' ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดยะลา

คณะกรมทรัพย์สินทางปัญญาพาณิชย์ลงพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อผลักดันปลาพลวงชมพู ต้นน้ำป่าฮาลาบาลา และปลานิลสายน้ำไหลเบตง ขึ้นทะเบียน GI รายการใหม่ของจังหวัดยะลา เพื่อช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา