กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบครึ่งปีแรกของปี 2567อยู่ที่ 156.68 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 0.05%
2 ส.ค. 2567 – นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เปิดเผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบครึ่งปีแรกของปี 2567 เฉลี่ยเดือนม.ค. – มิ.ย. อยู่ที่ 156.68 ล้านลิตร/วัน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.05% โดยน้ำมันเตามีการใช้ลดลง 19.7% NGV ลดลง 16.8% และน้ำมันกลุ่มเบนซินลดลง 0.9% ขณะที่การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้น 17.0% LPG เพิ่มขึ้น 3.7% และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการเพิ่มขึ้น 3.0% โดยการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินช่วง 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.67 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปี 0.9% เนื่องมาจากปัจจัยด้านฤดูกาลการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองซึ่งเชื่อมโยงกับสายอื่น ๆ ส่งผลให้ปริมาณการใช้มีการปรับตัวลดลง
ขณะที่การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการ ช่วง 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 68.61 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.0% ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)ยังมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร จนถึงวันที่ 31 ต.ค. 67 ผ่านการบริหารเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจะสนับสนุนให้การใช้เพิ่มมากขึ้น ส่วนการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ยังเติบโตต่อเนื่องโดยช่วง 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 15.74 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.0% โดยมีปัจจัยมาจากการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจจากปีก่อน ประกอบกับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาล เช่น นโยบายฟรีวีซ่า การเพิ่มเที่ยวบินพิเศษในช่วงเทศกาล การลดหย่อนภาษีสำหรับพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองรอง อีกทั้งครม. มีมติปรับมาตรการอนุญาตให้ชาวต่างชาติจาก 93 ประเทศ เดินทางเข้าราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ส่วนการใช้ LPG ช่วง 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 18.35 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.7% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของภาคปิโตรเคมี 8.7% มาอยู่ที่ 8.38 ล้านกิโลกรัม(กก.)/วัน ภาคขนส่งเพิ่มขึ้น 3.0% มาอยู่ที่ 2.32 ล้านกก./วัน โดยปริมาณการใช้ LPG มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานของภาคปิโตรเคมี ในขณะที่การใช้ในภาคอุตสาหกรรมลดลง 3.3% มาอยู่ที่ 1.96 ล้านกก./วัน และภาคครัวเรือนลดลง 0.3% มาอยู่ที่ 5.70 ล้านกก./วัน เช่นเดียวกับการใช้ NGV ช่วง 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 2.90 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน 16.8% ทั้งนี้ ปตท. มีมติเห็นชอบแผนช่วยเหลือราคา NGV ในระยะ 2 ปี โดยปัจจุบันดำเนินการอยู่ในระยะที่ 2 (1 ก.ค. 67 – 31 ธ.ค. 68) ซึ่งเป็นการตรึงราคาให้กับกลุ่มรถแท็กซี่และรถโดยสารสาธารณะที่ถือบัตรสิทธิประโยชน์ฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มรถโดยสาร สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงช่วง 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 1,045,345 บาร์เรล/วัน ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.3% คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวม 99,470 ล้านบาท/เดือน ขณะที่การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปช่วง 6 เดือน อยู่ที่ 162,741 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น 4.8% คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 16,832 ล้านบาท/เดือน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พีระพันธุ์' แจงปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป ลดภาระประชาชน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับใคร
ในการประชุมวุฒิสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณาตั้งกระทู้ถามทั่วไป ของนายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว. ถาม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงา
‘อลงกรณ์’ หนุน ‘พีระพันธุ์’ ขจัดผูกขาดพลังงาน ลั่น ‘You will never walk alone’
'อลงกรณ์'หนุน'พีระพันธุ์'ขจัดผูกขาดพลังงาน โพสต์วาทะดัง'คุณไม่ได้เดินเดียวดายคนเดียว-You will never walk alone'
จับตา 'พีระพันธุ์' เรตติ้งพุ่ง! 'แพทองโพย-เท้งเต้ง' ต่างมีจุดอ่อน
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "เท้ง-อุ๊งอิ๊ง ต่างมีจุดอ่อน จับตาพีระพันธุ์" โดยระบุว่า
'พีระพันธุ์' เผยความก้าวหน้า 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' ระบบพลังงานไทย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โพสต์เฟซบุ๊กว่า สวัสดีครับ ผมขออนุญาตเรียนความก้าว
'พีระพันธุ์' ลั่น 'รทสช.' ชงกฎหมายปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป
'พีระพันธุ์' เผย 'รทสช.' เตรียมยื่นร่างกฎหมาย ปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อปเข้าสภาวันนี้ ชี้ ต้องแก้กฎหมายที่ยุ่งยาก หวังลดภาระค่าไฟฟ้า-สร้างอาชีพใหม่ให้ประชาชน พร้อมขอบคุณ 'นายกฯ' ที่สนับสนุน