บอร์ด รฟท.เคาะรวมโครงการสายสีแดงปมพื้นที่ทับซ้อน

บอร์ด รฟท.ไฟเขียวรวมโครงการสายสีแดงช่วง “ศิริราช -ตลิ่งชัน -ศาลายา” เพื่อแก้ปมพื้นที่ทับซ้อนสถานีตลิ่งชัน วงเงินลดลง 110.06 ล้าน เล็งชง ครม.ส.ค.นี้ พร้อมอนุมัติจ้างที่ปรึกษาทบทวนสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย

30 ก.ค. 2567 – นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ว่า บอร์ด ได้อนุมัติรวมโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายาและสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม6 สถานีบางกรวย – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีบ้านฉิมพลี) และโครงการระบบรถไฟซานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช เข้าด้วยกันเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นสัญญาเดียว โดยวงเงินเดิม 2 เส้นทางมูลค่าโครงการ 15,286.27 ล้านบาท เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่สถานีตลิ่งชัน และงานระบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จพร้อมกัน

ทั้งนี้ เมื่อรวมโครงการฯแล้วจะทำให้มูลค่าโครงการ 15,176.21 ล้านบาท ลดลง 110.06 ล้านบาท โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา คาดว่าจะได้รับอนุมัติภายในเดือน ส.ค. 2567 ประกวดราคาผู้รับจ้าง ประกวดราคาที่ปรึกษาควบคุมงาน ประกวดราคาที่ปรึกษาอิสระในการตรวจสอบงาน ระหว่าง ก.ย. 2567 ถึง เม.ย. 2568 (8 เดือน) เริ่มก่อสร้าง พ.ค. 2568 ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี  คาดว่าเปิดให้บริการ พ.ค. 2571 เมื่อรวมโครงการแล้วจะเป็นโครงการสายสีแดงช่วง ศิริราช -ตลิ่งชัน -ศาลายา  

นอกจากนี้ ได้อนุมัติจ้างที่ปรึกษาเพื่อทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม แบบรายละเอียด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ จัดทำร่างเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงวงเวียนใหญ่ – มหาชัย กรุงเทพมหานคร  คณะกรรมการรถไฟฯ ให้ รฟท. หารือสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ก่อนพิจารณาอนุมัติจ้างที่ปรึกษาจาก กิจการค้าร่วม (Consortium) ในนามของบริษัท เทสโก้ จำกัด มีผู้เข้าร่วมค้า 4 ราย ประกอบด้วย 1) บริษัท เทสโก้ จำกัด (Lead Firm) 2) บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด 3) บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด และ 4) บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์ จำกัด) กรอบวงเงินสัญญาจ้างที่ปรึกษา วงเงิน  135,622.500 บาท   ระยะเวลาศึกษา 450 วัน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามแผนแม่บทกำหนด เป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ที่มีประสิทธิภาพในการขนส่งผู้โดยสาร เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครกับพื้นที่ชานเมืองและหัวเมืองหลักรอบนอก ออกแบบให้ระบบสามารถเดินรถร่วมกับระบบรถไฟทางไกล และรถไฟขนส่งสินค้า ที่ให้บริการอยู่เดิมของการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) สำหรับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงแนวเหนือ-ใต้ เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง รังสิต และปทุมธานี) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอน และมหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.รวมไทยสร้างชาติ จี้พาณิชย์ควบคุมราคาสินค้า หลังชาวบ้านบ่นอุบข้าวของแพง

นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาจากที่ตนได้ลงพื้นที่ย่านการค้า ร้านอาหารและตลาดต่าง ๆ ได้รับฟังเสียงสะท้อนปัญหาค่าครอง