เอกชนฟุ้ง 64 ส่งออกโตสะบัด 15% หวั่นทั่วโลกงัดล็อกดาวน์สู้โอมิครอน

“สรท.” ฟุ้งส่งออกไทยปี 2564 สุดแกร่ง ลุ้นโตกระฉูด 15% ส่วนปีนี้คาดขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5-8% อานิสงส์เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ อย่าง สหรัฐ-จีน-ญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่อง เงินบาทอ่อนค่าช่วยหนุน พร้อมจับตาโอมิครอนระบาด หวั่นทั่วโลกงัดล็อกดาวน์สู้ และปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการผลิต อ้อนรัฐช่วยคุมต้นทุนพลังงาน

12 ม.ค. 2565 นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า สรท. ยังคงคาดการณ์ตัวเลขส่งออกไทยในปี 2564 อยู่ที่ 15% โดยคาดว่าในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ภาพรวมการส่งออกจะขยายตัวที่ระดับ 15-16% มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 21,000-22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน แต่ยังเชื่อมั่นว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะสามารถช่วยลดความรุนแรงได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในเดือน ม.ค. 2565 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 6-7% มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ภาพรวมการส่งออกในช่วงไตรมาส 1/2565 นั้น ประเมินว่าจะเติบโตที่ 5% ส่วนทั้งปี 2565 ยังคงประเมินว่าการส่งออกจะเติบโตที่ระดับ 5-8%

ทั้งนี้ ปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ 1. เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ฟื้นตัวต่อเนื่อง และอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูง รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (World PMI Index) ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ยังคงทรงตัวอยู่ ระดับ 50 ถึง 60 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกิจกรรมการผลิตและเศรษฐกิจโลก และ2. ค่าเงินยังคงมีทิศทางอ่อนค่า จากปัจจัยความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงการลดปริมาณเงินในมาตรการ QE Tapering และแผนปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 3 ครั้งในปี 2565 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ

ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนทั่วโลกรวมถึงไทย ที่มีการพบจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย แม้รายงานผลกระทบจากการติดเชื้อยังคงไม่รุนแรงนัก แต่รัฐบาลหลายประเทศต้องพิจารณาทบทวนเรื่องการกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ว่าจำเป็นมากน้อยเพียงใด และหากนำกลับมาใช้อีกจะต้องเข้มงวดในระดับใด ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ2. การขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว

“ในส่วนของไทยประเมินว่าปีนี้น่าจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทำให้ไทยมีความต้องการแรงงานอยู่ที่ 200,000-400,000 คน จึงจะเพียงพอ” นายชัยชาญ กล่าว

3. ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า รวมถึงปัญหา Space allocation ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถจองระวาง ตลอดจนค่าระวางเรือยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุโรป และสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะทรงตัวสูงยาวจนถึงปลายปี 2565 และ4. ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน เช่น เซมิคอนดักเตอร์ เหล็ก และน้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออกยังคง ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง

นายชัยชาญ กล่าวอีกว่า สรท. จึงมีข้อเสนอแนะ คือ1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับเหมาะสม2. ขอให้กระทรวงพลังงาน ควบคุมต้นทุนพลังงานให้อยู่ในระดับเหมาะสม ไม่เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการที่อยู่ในช่วงการฟื้นฟูหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ3. ขอให้กระทรวงแรงงาน เร่งช่วยเหลือเรื่องปัญหาการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในภาคการผลิต โดยกำหนดพื้นที่บริหารจัดการส่วนกลาง หรือศูนย์ One Stop Service (OSS) สำหรับบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เช่น จุดคัดกรองด้านสาธารณสุข และอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการตรวจสอบ รวมถึงให้สามารถดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในจุดเดียว

รวมทั้งอำนวยความสะดวกพื้นที่ในการกักตัว โดยอาจนำสถานที่ราชการที่เหมาะสม มาปรับใช้ในการกักตัวให้กับแรงงานต่างด้าว ระหว่างรอผลตรวจและการดำเนินเอกสารและขอให้รัฐปรับลดค่าใช้จ่ายบางส่วนในการนำแรงงานต่างด้าวตาม MOU สูงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด เช่น ค่าบริการตรวจโควิด ค่าสถานที่กักตัว ค่าประกันโควิด และชุดตรวจ ATK เป็นต้นและ 4. เร่งเจรจากรอบความตกลงการค้าเสรี ระหว่างประเทศไทยและยุโรป

อย่างไรก็ดี กรณีการห้ามส่งออกสุกรของประเทศไทยนั้น เกิดจากปัญหาการขาดแคลนสุกรในประเทศ แต่เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในภาพรวม เนื่องจากการส่งออกสุกรมีสัดส่วนเพียง 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)