ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง

คนไทย ความยากจน หนี้สิน [Recovered]

21 ก.ค. 2567 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าปัจจุบัน “ปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” เป็นปัญหารุนแรง ร้อยละ 78.80 โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.07 มีหนี้สินส่วนตัวและคิดเป็นประมาณ 20 – 50% ของรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ร้อยละ 47.99 เคยถูกเลิกจ้าง/เห็นคนใกล้ตัวถูกเลิกจ้าง ด้านความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาความยากจนด้วยการเพิ่มโอกาสในการทำงาน/จ้างงาน ร้อยละ 79.02 ส่วนปัญหาหนี้สินอยากให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับประชาชน ร้อยละ 79.16 ส่วนปัญหาเลิกจ้างงาน อยากให้ช่วยส่งเสริมการสร้างงานใหม่/ช่วยหางานใหม่ ร้อยละ 77.34 โดยกลุ่มตัวอย่างมองว่าแนวทางที่จะทำให้คนไทย “กินดีอยู่ดีไม่มีหนี้สิน” คือ ต้องมีงานทำ มีรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี ร้อยละ 34.06

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงานเป็นปัญหาที่รุนแรงและต้องแก้ไขเร่งด่วน ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องและผลกระทบจากโควิด-19 การมีหนี้สินส่วนตัวที่สูงและการเลิกจ้างงานทำให้ประชาชนรู้สึกถึงภาระทางการเงินที่หนักหน่วง รัฐบาลจึงควรเน้นการสร้างงาน เพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสในการทำงานและจ้างงาน ผลักดันนโยบายเรือธงที่หาเสียงไว้โดยเน้นผลลัพธ์ของโครงการ ที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ช่วยให้ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถจัดการกับหนี้สินได้ดีขึ้น

อ.ดร.ศิริ ชะระอ่ำ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า การว่างงานและภาวะถูกเลิกจ้าง ซึ่งนำไปสู่ความยากจนและภาระหนี้สินของประชาชนมีสาเหตุมาจากปัญหาการขาดทักษะดิจิทัลซึ่งสำคัญจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของแรงงานในปัจจุบัน ผนวกกับการขยายตัวของการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคกลุ่มบัตรเครดิต ลีสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงินต่างๆ ยิ่งส่งเสริมให้เกิดปัญหาพฤติกรรมการก่อหนี้โดยขาดวินัยทางการเงินของครัวเรือนมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งจากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลในครั้งนี้ชี้ชัดถึงความคาดหวังของประชาชนต่อการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในการจ้างงาน สร้างงาน และเพิ่มรายได้ เพื่อบรรเทาปัญหาปากท้องและภาระหนี้สิ้นให้กับประชาชน โดยมาตรการที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการ คือ การมุ่งให้ความรู้และฝึกพัฒนาทักษะดิจิทัล ซึ่งเป็น New Skill ให้กับกลุ่มผู้ว่างงานระยะสั้น และส่งเสริมโอกาสในการยกระดับทักษะอื่นๆ (Up-skill) จำเป็นต่อตำแหน่งงานตามความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรม

                                            

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดุสิตโพล ชี้คนไทยห่วงมาตรการกระตุ้นศก. รัฐบาลอิ๊งค์ สร้างภาระให้ประเทศ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “รัฐบาลแพทองธาร กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,227 คน สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างกังวลว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะ

'นายกฯอิ๊งค์' อวยพรคนไทย สุขสันต์ 'วันลอยกระทง' ฉลองปลอดภัย

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งคำอวยพร และเชิญชวนคนไทยร่วมลอยกระทงว่า “สวัสดีพี่น้องประชาชนคนไทยทุกท่าน สวัสดีจากประเทศเปรู

คนไทยผวา 'ทรัมป์' คัมแบ็ก สินค้าจีนสุมประเทศ

สวนดุสิตโพล เปิดผลสำรวจ ชี้คนไทยรู้สึกเฉยๆ ทรัมป์ กลับคืนตำแหน่ง ปธน.สหรัฐฯ แต่ห่วงเรื่องผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจผวาสินค้าจีนทะลักเข้าประเทศ

ดุสิตโพล เผยภัยหลอกลวงออนไลน์ เป็นปัญหาใหญ่สุดอย่างให้เข้มงวดแก้ไข

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ภัยสังคมที่ประชาชนอยากให้เร่งแก้ไข” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,357 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2567

เปิดผลสำรวจกลุ่มเปราะบางรับเงินหมื่น พบเอามาต่อยอดลงทุนน้อย

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน