สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เปิดเวทีถกประเด็นร้อนในเรื่อง “PDPA กับเรื่องร้องเรียนติดอันดับ” กระตุ้นให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ร่วมกัน “ป้องกัน-ระวัง-เข้าใจ” การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล ภายใต้แคมเปญ Take Control of your Data #ตะโกนให้โลกรู้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญที่สุด
9 ก.ค. 2567 – นายประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนมีความสำคัญ ดังนั้นทุกคนต้องมีความตระหนักรู้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่ โดยองค์กรมีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าเกิดว่าประชาชนโดนละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สามารถที่จะขอการเยียวยาได้ด้วยการมาร้องเรียนที่ PDPA Center รับเรื่องเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญ ในการที่จะเปิดเผย ต้องตระหนักคนที่รับข้อมูล จะเอาไปเปิดเผยอย่างผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้นเรามาสร้างความตระหนักรู้ ป้องกัน-ระวัง-เข้าใจ ในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปด้วยอีกด้วย
ทั้งนี้ แนวทางไม่ให้เกิดกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ซึ่งแต่ละบุคคลจะต้อง ป้องกัน โดยไม่ให้ข้อมูลเกินความจำเป็น , ระวัง คือ พิจารณาให้ดี ว่าผู้ขอข้อมูลเป็นใคร คิดในแง่ลบเพื่อความไม่ประมาทไว้ก่อน, เข้าใจ ว่าการที่ข้อมูลโดนนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทุกคนสามารถร้องเรียนได้ กับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ในทุก ๆ ช่องทางการติดต่อ พร้อมรับความรู้ด้านกฎหมาย PDPA ได้ใหม่ในการสัมมนาออนไลน์ของ PDPC ครั้งต่อ ๆ ไป
นายษมภูมิ สุขอนันต์ ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC กล่าวว่า สถิติช่องทางการเรื่องร้องเรียนมากที่สุด คือ การร้องเรียนผ่านช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.pdpc.or.th รองลงมาคือการส่งเรื่องเข้ามาทางไปรษณีย์ และเข้ามาร้องทุกข์-ปรึกษาด้วยตัวเอง ที่ PDPA Center ในขณะที่สถิติการรับแจ้งร้องทุกข์ ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ถึง เดือนพฤษภาคม 2567 รวม 291 เรื่อง โดยแบ่งเป็นเรื่องอื่น ๆ 48.7% สื่อสังคมออนไลน์ 41% หน่วยงานภาครัฐ 35% ซึ่งเรื่องร้องทุกข์ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง เอกชนร้องเอกชน นิติบุคคล อาคารชุด เพราะมีการเก็บข้อมูลของลูกบ้านผู้เช่าไว้เป็นจำนวนมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center
คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67