กกพ.จับตาตัวแปรสะท้อนค่าเอฟทีงวดปลายปี ลั่นรวบรวมข้อมูลแล้วเสร็จต้นเดือน ก.ค. นี้ เผยต้นทุนราคาแอลเอ็นจีอ่อนตัวลง หวังเป็นผู้ประกาศข่าวดีแก่ประชาชน
25 มิ.ย. 2567 – นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงแนวโน้มค่าไฟงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2567 ว่า ทิศทางราคาค่าไฟงวดปลายปีต้องติดตามติดตามตัวแปรต่าง ๆ ที่จะเข้ามา อาทิ สถานการณ์ต้นทุนราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ในตลาดโลก ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติของไทย อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาท รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อย่างกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) จนสะท้อนต่อราคาค่าไฟที่ประชาชนต้องจ่าย จากงวดปัจจุบัน(พ.ค. – ส.ค. 67) อยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย โดยกกพ.จะเร่งรวบรวมข้อมูลต้นทุนทุกด้านเพื่อคำนวณค่าเอฟทีและประกาศรับฟังความคิดเห็นประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ช่วงต้นเดือน ก.ค. นี้
“ขณะนี้ราคาแอลเอ็นจีอยู่ระดับซอฟต์ คือ ประมาณ 12 เหรียญสหรัฐต่อล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วนจะสามารถตรึงให้อยู่ระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย หรือลดลงกว่านี้หรือไม่ ยังไม่สามารถตอบได้ ขอดูองค์ประกอบจากทุกส่วนก่อน แต่ผมก็อยากจะเป็นผู้ประกาศข่าวดีให้กับประชาชนเช่นกัน และสำหรับกรณีภาคเอกชนต้องการให้ค่าไฟลดลงกว่านี้ อยากให้มองว่าไทยมีความมั่นคงไฟฟ้า เป็นไฟฟ้าคุณภาพ และตอนนี้เทรนด์ลงทุนทั่วโลกไม่ได้มองว่าค่าไฟต้องถูกหรือแพง แต่ควรมาจากการผลิตที่สะอาด เป็นไฟสะอาด เพื่อแข่งขันในตลาดโลกได้” นายพูลพัฒน์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการจัดทำไฟฟ้าสีเขียว(ยูทีจี) ขณะนี้ค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ซื้อที่ไม่เจาะจงโรงไฟฟ้า (ยูทีจี1) จะเป็นราคาค่าไฟฟ้าปกติ บวกค่า พรีเมียม 0.0594 บาทต่อหน่วย โดยไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ประมาณ 1,300-3,500 กิกะวัตต์ต่อปี สัญญาปีต่อปี มีความชัดเจนแล้ว และรอจัดทำค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ซื้อที่เจาะจงโรงไฟฟ้า (ยูทีจี 2) แบ่งเป็น 2 ราคาตามโรงไฟฟ้าที่เข้าระบบ กลุ่ม A ราคา 4.5622 บาทต่อหน่วย และกลุ่ม B ราคา 4.5475 บาทต่อหน่วย สัญญา 10 ปี โดยไฟฟ้ามาจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว 4,852.26 เมกะวัตต์ ซึ่งต้องรอความชัดเจนจากศาลปกครองหลังมีผู้ร้องกลุ่มไฟฟ้าจากพลังงานลม
อย่างไรก็ตาม พบว่านักลงทุนทั่วโลกและนักลงทุนไทยต่างรอความชัดเจน โดยเฉพาะยูทีจี 2 ทั้งกลุ่มนักลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ อย่างแอมะซอน กูเกิ้ล ไมโครซอฟต์ และกลุ่มเอกชนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และอื่น ๆ สะท้อนว่ากลไกการค้าโลกกำลังมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งกกพ.จะเร่งดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุน เป็นอีกกำลังสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนและเศรษฐกิจไทย
นายพูลพัฒน์ กล่าวว่า นอกจากนี้นักลงทุนยังต้องการความชัดเจนจากรัฐบาล ทั้งมาตรการส่งเสริมให้บริษัทเอกชนซื้อขายไฟฟ้าพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทนได้โดยตรงจากผู้ผลิตไฟฟ้า(ไดเรกต์ พีพีเอ) หากอนุมัติเดินหน้า กกพ.ก็พร้อมสนับสนุนและดำเนินการ 2 ส่วนหลัก คือ Third Party Access คือเปิดให้มีการซื้อขายไฟผ่านโครงข่ายของรัฐ และการจัดทำอัตราค่าบริการสายส่งไฟฟ้า (Wheeling Charge) ซึ่งทั้งหมดต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความมั่นคงระบบไฟฟ้าของไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
'พีระพันธุ์' เตรียมขยายเวลาตรึงค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ถึงสิ้นปี 67
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการดูแลราคาพลังงานให้ประชาชน หลัง
‘ภูมิธรรม’ ทุบฝ่ายต้านบิดเบือน MOU เกาะกูด ทำผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน เมื่อการเมืองบิดเบือน MOU เกาะกูด" ระบุว่าการจุดประเด็นทางการเมืองเรื่อง MOU 44 ในช่วงนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในหลา
'วรงค์' เหนื่อยใจกับนายกฯอิ๊งค์ พูดวกวน เหมือนดีใจที่กัมพูชาลากเส้นไหล่ทวีปอ้อมเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "เหนื่อยใจกับอุ๊งอิ๊ง"