บัจจุบันการตื่นตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน น่าจะเลยจุดที่สามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ก็ได้ มันเลยจุดนั้นไปแล้ว วันนี้ผู้ประกอบการและทุกคนอยู่ในจุดของการที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่ง บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด นอกจากจะสร้างความตื่นตัวให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีเป้าหมายที่ต้องขยายกระแสความตื่นตัวให้ลงสู่ประชาชนคนไทยทุกคน ที่ควรต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบการในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ภายใต้โจทย์ที่จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนไทย นายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อินโนพาวเวอร์ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมไทย ที่กำลังเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อและทางรอดของธุรกิจไทยในยุคของการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน (Energy Transition)
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อินโนพาวเวอร์ จำกัด ได้เปิดตัวโครงการ “พันธมิตรพิชิตคาร์บอน” หรือ Decarbonization Partner ผ่านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้คำปรึกษาและร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจในการร่วมประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอน ด้วยเครื่อง Glass House Gas Report : GHG Report) ซึ่งเป็นการประเมินการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนให้กับภาคธุรกิจ เนื่องจากมีการปล่อยคาร์บอนแตกต่างกัน
ซึ่งปัจจุบันกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำตะวันตกมองว่า การที่ยังคงปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนในปริมาณสูงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้นในทุกๆ ปี ดังนั้นมาตรการภาษี รวมถึงมาตรการกีดกันด้านอื่นๆ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าจะมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากธุรกิจอุตสาหกรรมใดก็ที่ยังไม่ปรับตัวหรือปรับตัวไม่ทันก็จะไปไม่รอด
นายอธิป กล่าวว่า อินโนพาวเวอร์ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เตรียมความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รับมือกับกระแสกีดกันการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับสากล ที่จะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจไทยทั้งในสถานะของการเป็นคู่ค้า รวมถึงธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนาดใหญ่ต่างชาติ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
โดยตั้งแต่ต้นปีมีผู้ประกอบการจาก สสว.เข้าร่วมโครงการแล้ว 80 ราย และบริษัทวางเป้าหมายจะขยายเพิ่มเป็น 100 ราย ในเร็วๆ นี้ด้วย ธุรกิจเหล่านี้นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก สสว.แล้วยังได้เข้ารับการอบรมและประเมินการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตนเอง โดยที่อินโนพาวเวอร์ได้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาพร้อมกับวาง Solution ในการบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนร่วมกันกับทางผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการด้วย
“ในปี 2567 อินโนพาวเวอร์ได้ร่วมมือกับสำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เข้าไปสร้างความตระหนักรู้และช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ SME นำแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวไปปรับใช้ในธุรกิจ (Green Transformation) หลักสูตรแนวทางการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) โดยการใช้ GHG Platform ของสถานประกอบการ ซึ่งผลตอบรับดีมาก ในช่วง 5 เดือนได้เข้าไปสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการ SME จำนวน 80 ราย สามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดช่วยลดคาร์บอนได้แล้ว 3,000 ตัน จากที่ปล่อยคาร์บอน 1 หมื่นตันต่อปี” นายอธิปกล่าว
นอกจาก สสว.แล้วอินโนพาวเวอร์ยังมีความร่วมมือกับพันธมิตรธนาคารพาณิชย์อีกหลายแห่งที่กำลังตื่นตัวอย่างมาก และกำลังเข้าไปช่วยเหลือ รวมทั้งสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารปรับตัวในการรับมือการเปลี่ยนแปลงและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของตนเองด้วย
นายไชยรพี เลี้ยงบุญเลิศชัย Head of Strategic Partnership ผู้บริหารบริษัท อินโนเพาเวอร์ จำกัด กล่าวว่า วันนี้ธนาคารเกือบทุกแห่งสามารถลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนในธุรกิจของตนเองได้ตามเป้าหมายอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ธนาคารทุกแห่งตระหนักคือ การที่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับลูกค้าของธนาคารในการลดปริมาณคาร์บอนให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และมาตรการกีดกันคาร์บอนทางการค้าการลงทุนในระดับสากลด้วย ที่สำคัญมาตรการการเร่งรัดการปลดปล่อยคาร์บอนยังเชื่อมโยงมาสู่การกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ต้องร่วมรับผิดชอบต่อการปล่อยสินเชื่อที่ต้องมีเป้าหมายในการร่วมลดปริมาณคาร์บอนด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีมาตรการจูงใจใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอินโนพาวเวอร์ได้สร้างปรากฏการณ์และความตื่นตัวให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมไทยได้มากทีเดียว โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริหารอินโนพาวเวอร์ระบุว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทสามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนทะลุ 1,000,000 ตันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าภายในปี 2567 น่าจะทะลุเป้าหมาย 2,000,000 ตันได้ไม่ยาก ทั้งนี้ อินโนพาวเวอร์ได้กำหนดเป้าหมายปริมาณการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่ต้องนำมาประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในแต่ละปีด้วย
จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจไทยทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ต้องดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการปลดปล่อยคาร์บอนอย่างจริงจัง อีกทั้งความเคลื่อนไหวในไทยก็เข้มข้นไม่แพ้กัน ข้อร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จะมีผลบังคับใช้ และทางกระทรวงการคลังก็เตรียมจะมีการออกกฎหมายการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ซึ่งจะครอบคลุมถึง 14 อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน มีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 35% ของจีดีพีของประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจจำเป็นจะต้องสร้างองค์ความรู้ล่วงหน้าไว้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
‘ภูมิธรรม’ ทุบฝ่ายต้านบิดเบือน MOU เกาะกูด ทำผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน เมื่อการเมืองบิดเบือน MOU เกาะกูด" ระบุว่าการจุดประเด็นทางการเมืองเรื่อง MOU 44 ในช่วงนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในหลา
'วรงค์' เหนื่อยใจกับนายกฯอิ๊งค์ พูดวกวน เหมือนดีใจที่กัมพูชาลากเส้นไหล่ทวีปอ้อมเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "เหนื่อยใจกับอุ๊งอิ๊ง"
'หมอวรงค์' ประกาศล่า 1 แสนชื่อคนคลั่งชาติ ยกเลิก 'MOU 44'
'ไทยภักดี' ประกาศล่า 1 แสนรายชื่อคนคลั่งชาติ ยกเลิก MOU 44 แนะรัฐคุยกัมพูชา ลงสัตยาบัน UNCLOS ก่อนเจรจาผลประโยชน์