รอลุ้น! 'คลัง' จ่อเคาะสินค้าออนไลน์แจมดิจิทัลวอลเล็ต

รอลุ้น!! “คลัง” แจงอยู่ระหว่างพิจารณาเคาะสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ร่วมแจมใช้เงิน 10,000 บาท โครงการดิจิทัล วอลเล็ต แจงยิบสั่งถอย “สมาร์ทโฟน-เครื่องใช้ไฟฟ้า” ห่วงผิดวัตถุประสงค์ ระบุยังมีเวลาส่งกฤษฎีกาตีความล้วงเงิน ธ.ก.ส. 1.75 แสนล้าน พร้อมยันสภาพคล่องแน่นปึ๊ก!

19 มิ.ย. 2567 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช. การคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมว่าสินค้าที่จำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะสามารถเข้าร่วมโครงการดิจิทัล วอลเล็ตได้หรือไม่ โดยยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่จะต้องมาพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยข้อดี คือ สินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์มีกลไกในการการันตีชัดเจนว่าจะมีการส่งสินค้าให้กับผู้ซื้ออย่างแน่นอน ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ คงต้องหารือกันเพิ่มเติม

“ตอนนี้สินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการดิจิทัล วอลเล็ตได้ ส่วนหนึ่งยังติดเรื่องการควบคุมพื้นที่ ที่จะต้องไปพิจารณาตามเงื่อนไขของโครงการ แม้ว่าที่ผ่านมาแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะแสดงความต้องการอยากเข้าร่วมด้วย และยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขของโครงการได้ก็ตาม ดังนั้น ณ ตอนนี้โครงสร้างของโครงการดิจิทัล วอลเล็ตทุกอย่างจึงยังเหมือนเดิม” รมช.การคลัง ระบุ

นอกจากนี้ ในส่วนที่ได้สั่งให้มีการทบทวนการกำหนดสินค้าที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ (Negative List) โดยเฉพาะสินค้า Import Content อาทิ สมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ส่วนหนึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้ค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันในส่วนของคลังก็เห็นว่าควรจะให้มีการพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบอีกครั้ง

ทั้งนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการดิจิทัล วอลเล็ต มี 3 มิติ คือ มิติของการผลิตและการจ้างงานในประเทศชะลอตัว, มิติของความง่ายสำหรับประชาชนในการใช้งาน ที่มองว่ายิ่งเปิดกว้างเท่าไหร่ ประชาชนก็จะยิ่งใช้งานง่ายมากขึ้นเท่านั้น และมิติของการกำกับดูแลว่าจะสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการได้จริงหรือไม่ ทั้งหมดต้องมาชั่งน้ำหนักกันใหม่ จึงสั่งให้ส่วนงานกลับไปทบทวน และกลับมาหารือกันอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

“ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต จึงได้สั่งให้ส่วนงานกลลับไปพิจารณาประเด็นเรื่อง Import Content ใหม่ โดยเฉพาะเรื่องสมาร์ทโฟน ที่บางหน่วยงานก็มองว่ามันเป็นปัจจัยที่ 5 เพราะปัจจุบันคนใช้ทำมาหากิน แต่อีกมุมก็มองว่าคนที่จะใช้เงินในโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ก็ต้องมีสมาร์ทโฟน ก็ต้องไปพิจารณาเรื่องนี้กันใหม่ให้รอบคอบอีกครั้ง” นายจุลพันธ์ กล่าว

สำหรับประเด็นเรื่องการส่งเรื่องให้สำนักงานกฤษฎีกาพิจารณาเรื่องการนำเงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.75 แสนล้านบาท มาใช้รองรับการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้น ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา โดยระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนมีการพิจารณาและติดตามาอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่า กลไกความเป็นรัฐมีตัวเลือกเกี่ยวกับเครื่องมือการเงินมากมาย ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องความเหมาะสมและเป็นไปได้ทุกอย่างแล้ว “ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับสหภาพ ธ.ก.ส. ก็เป็นไปด้วยดี ไม่ได้มีปัญหาอะไร โดยทุกคนต้องเข้าใจว่า ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นลูกของรัฐ ดังนั้นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายที่จะลงไป ถ้าอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ก็เป็นภาระหน้าปกติที่ ธ.ก.ส. จะต้องดำเนินการช่วยเหลือประชาชน และยืนยันว่าสภาพคล่องของ ธ.ก.ส. ไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน” นายจุล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯเศรษฐา ปลื้มชาวศรีสะเกษ ต้อนรับสุดอบอุ่น ยันปลายปีนี้ได้เงินหมื่นแน่นอน

นายกฯ กราบ ‘รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์’ สวดชยันโต ให้พร ‘ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติอยู่ดีมีสุข’ ย้ำคำมั่นชาวศรีสะเกษ ได้ดิจิทัลวอลเล็ตได้แน่ปลายปี ยันสส.ดูแลพื้นที่ดี นำปัญหาสะท้อนรัฐบาล