The Attraction เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนไทย เนื่องในเดือน Pride Month ผ่านแบบสำรวจออนไลน์ เสียงสะท้อนสมรสเท่าเทียม ประเทศไทยจะเท่าเทียมกี่โมง! พบประชาชนกว่า 99.3% เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เหตุผลหลักที่อยากสนับสนุน คือ สิทธิประโยชน์คู่สมรส และสิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส มองสังคมไทยยังให้การยอมรับ LGBTQIAN+ ในระดับปานกลาง ในขณะที่กว่า 45% คิดว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นผลงานของ “พรรคก้าวไกล” และส่วนใหญ่เชื่อว่าการที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยในสายตาทั่วโลกด้านความเปิดกว้างเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ
(ดิ แอทแทรคชั่น) ผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ในแง่มุมที่น่าสนใจผ่านการเล่าถึงมุมมองสำคัญทางด้านอาหาร วัฒนธรรม ความบันเทิง เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ จัดทำแบบสำรวจออนไลน์ เนื่องในเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ Pride Month ภายใต้หัวข้อ “เสียงสะท้อนสมรสเท่าเทียม ประเทศไทยจะเท่าเทียมกี่โมง!” โดยผลสำรวจจากผู้ติดตามเพจ The Attraction และประชาชนทั่วไปผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม
โดยในคำถามที่ว่า คิดว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างให้การยอมรับกลุ่ม LGBTQIAN+ ในระดับใด ประชาชนส่วนใหญ่ (48.8%) มองว่ายังเปิดกว้างในระดับ “ปานกลาง” ในขณะที่ 36.2% มองว่า “เปิดกว้างมาก” และมีเพียง 6.8% ที่คิดว่า “เสรีที่สุด” และเมื่อถามว่าตัวผู้ตอบแบบสอบถามเองให้การยอมรับความหลากหลายทางเพศมากน้อยแค่ไหน มีผู้ตอบว่า “ยอมรับมากที่สุด” มากถึง 60.8%
ในด้านความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ. “สมรสเท่าเทียม” มีผู้เห็นด้วยมากกว่า 99.3% โดยเหตุผลหลักที่อยากสนับสนุน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม อันดับที่ 1 คือ สิทธิประโยชน์ “คู่สมรส” 77.6% อันดับที่ 2 คือ สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส 67.7% อันดับที่ 3 คือ สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย 60.8% และจากผลสำรวจส่วนใหญ่ยกให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นผลงานของ “พรรคก้าวไกล” ถึง 47.4% รองลงมาคือภาคประชน 26.3% และทุกภาคส่วนร่วมมือกัน 23.3% มีเพียง 1.9% ที่มองว่าเป็นผลงานของพรรคเพื่อไทย
นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามถึงการที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยในด้านใด ความคิดเห็นส่วนใหญ่คิดว่าจะช่วย ยกระดับประเทศไทยในสายตาทั่วโลก ด้านความเปิดกว้างเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ ถึง 77.5% อันดับที่ 2 คือ ผลักดันให้ไทยเป็นหมุดหมายสำคัญของกลุ่มคนเพศทางเลือกจากทั่วโลก ที่จะเข้ามาเพื่อปักหลักใช้ชีวิต 60.7% อันดับที่ 3 คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกับความหลากหลายทางเพศมีการเติบโต เช่น ภาพยนต์-ซีรี่ส์วาย ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว แต่งงาน ประกันชีวิต ฯลฯ 51.7%
และเมื่อสอบถามว่า “ถ้าคุณบอกรัฐบาลเรื่องสมรสเท่าเทียมได้ คุณอยากบอกอะไร” โดยเป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ พบว่าข้อความส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายนี้ให้สำเร็จ เช่น ให้กฎหมายข้อนี้ผ่านเถอะมันจะทำให้ประเทศดีขึ้น, ให้ผ่านเถอะค่ะ ตอนนี้ประเทศไทยมี LGBTQIAN+ เป็น soft power ได้นะคะ, ถ้ารัฐบาลเห็นชอบในเรื่องสมรสเท่าเทียมและอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยไม่ต้องรอจะขอบพระคุณอย่างยิ่งและคุณจะเป็นรัฐบาลที่อยู่ในใจชาว LGBTQIAN+ ค่ะ, สิทธิของเรื่องสมรสเท่าเทียมเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนควรได้ตั้งแต่แรก, ประเทศไทยจะเท่าเทียมกี่โมง!
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน ( call-out ) เรื่องสมรสเท่าเทียม อันดับที่ 1 คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 58% อันดับที่ 2 คือ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ 55% อันดับที่ 3 คือ วู้ดดี้ – วุฒิธร มิลินทจินดา 28.5% ส่วนคำถาม LGBTQIAN+ในดวงใจ ส่วนใหญ่โหวตให้ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ ถึง 67.3% รองลงมาได้แก่ แก๊งเทยเที่ยวไทย (ป๋อมแป๋ม – นิติ ชัยชิตาทร, ก๊อตจิ – ทัชชกร บุญลัภยานันท์, กอล์ฟ – กิติพัทธ์ ชลารักษ์ และเจนนี่ ปาหนัน – วัชระ สุขชุม) 41.2% และครูลูกกอล์ฟ – คณาธิป สุนทรรักษ์ 36.6% นักร้องชาวไทยขวัญใจชาว LGBTQIAN+ โหวตให้ แคทรียา อิงลิช ถึง 43.1% รองลงมาอ๊อฟ ปองศักดิ์ 40.7%, มิกซ์ เฉลิมศรี 39.6%, คริสติน่า อากีล่าร์ 37.5% ส่วนเพลงไหนใช่เลย พี่กะเทยชอบแดนซ์ อันดับที่ 1 คือ เพลงพูดอีกที – คริสติน่า อากีล่าร์ 61% อันดับที่ 2 คือ เพลง MUSIC LOVER – มาช่า วัฒนพานิช 56.9% อันดับที่ 3 คือ เพลง O.K. นะคะ – แคทรียา อิงลิช 48.3%
หากพูดถึงเมืองหลวงแห่งความเท่าเทียมทางเพศ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้รับเสียงโหวตถึง 54.3% รองลงมา ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา 42.8% กรุงเทพฯ ไทย 31.7% และ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 29.6% ถ้าถามว่าในเมืองไทยมี หน่วยงานหรือองค์กรไหนที่ให้ความสำคัญในการผลักดันความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ อันดับ 1 คือ Central 56.5% ที่ให้พื้นที่ในการจัดงานอยู่เสมอ อันดับที่ 2 คือ TikTok 40.7% อันดับที่ 3 คือ สยามพิวรรธน์ 33.3% ทักษะความสามารถนี้ ที่ชาว LGBTQIAN+ “ทำถึง” กว่าใครๆ ก็คงหนีไม่พ้นความสามารถด้านการ ร้องเพลงลิปซิงก์ 63.5% รองลงมา คาบาเร่ต์โชว์ 58.9% และ การ Supporter วงการประกวดนางงาม 54.1%
เทศกาล Pride Month ถูกจัดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายน ซึ่งปีนี้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนี้หลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ส่วนที่กรุงเทพฯ ก็มีการจัดงาน Bangkok Pride Festival 2024 หรือ บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ภายใต้แนวคิด Celebration of Love เพื่อนับถอยหลังสู่การใช้ กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่จะเกิดขึ้นก่อนสิ้นปี 2567 นี้ อีกทั้งมีการจัดงานในจังหวัดอื่นๆ อาทิ เชียงใหม่ ลำปาง ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา เป็นต้น เทศกาล Pride Month ถ้าได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ก็สามารถเป็น soft power ที่ดึงดูนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาในประเทศไทยอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จิรายุ' สะกิดส่วนราชการเร่งทำความเข้าใจกฎหมายสมรสเท่าเทียม
'จิรายุ' แนะส่วนราชการทำความเข้าใจกฎหมายสมรสเท่าเทียม พร้อมประชาสัมพันธ์ ปชช. ก่อนบังคับใช้ เหตุเกี่ยวพันทั้งอาญาและแพ่ง มีผลต่อชีวิตคู่รูปแบบใหม่ทั้งสินสมรส -บุตรบุญธรรม
กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
'STAR HUNTER' จับมือ 'พอร์ช-อาม' เปิดตัวโปรเจกต์พิเศษเรื่องแรกของเอเชีย!
ข่าวดีส่งท้าย Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองและความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ค่าย STAR HUNTER ENTERTAINMENT บริษัทผู้ผลิตซีรีส์วาย
'อ้อย จิระวดี' ควงลูกชาย 'พอชตี้ค์' เคลียร์ปมในใจโดนล้อมีแม่เป็นทอม
"อ้อย จิระวดี" นักแสดงรุ่นเก๋าที่วันนี้ขอเปิดเรื่องราวในอดีตหลังประกาศตนว่าเป็นทอม แม้ตอนนั้นกำลังเป็นนางเอกชื่อดัง ลั่นขอเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด พร้อมควงลูกชายสุดหล่อ พอชตี้ค์ ณัฏฐพล เคลียร์ปมในใจวัยเด็กหลังโดนเพื่อนล้อมีแม่เป็นทอม
เตรียมฉลองหน้าตึกไทยฯ ข่าวดีกฎหมายสมรสเท่าเทียม
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม