'สุวินัย' เผยแพร่บทความ ว่าด้วยทุนใหญ่ ทุนใจดำ และการพัฒนาประเทศไทย

4 มิ.ย.2567-รศ.ดร. สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความ เรื่อง “ว่าด้วยทุนใหญ่ ทุนใจดำ และการพัฒนาประเทศไทย” โดย ศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ รศ.ดร. สุวินัย ภรณวลัย

ประเทศไทยเลือกที่จะใช้แนวคิดแบบ “ทุนนิยม” หรือ Capitalism ในการพัฒนาประเทศเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียอื่น เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ แทนที่จะใช้แนวทาง “สังคมนิยม” หรือ Socialism เช่น จีน หรือเกาหลีเหนือ
คิดถูกหรือไม่ค่อยมาดูกัน

ข้อแตกต่างสำคัญก็คือ ทุนนิยม ใช้ทุนทำงาน (แรงงานเป็นส่วนประกอบ) ใช้ราคาเป็นเข็มทิ /ข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจ ใช้กำไรเป็นแรงจูงใจ ขณะที่สังคมนิยมใช้แรงงานเป็นที่ตั้งเพราะอาจจะยึดติดกับ Communist/Marxist ที่ว่า มูลค่าเพิ่ม (หรือกำไร) เป็นสิ่งที่เกิดจากแรงงานทำขึ้นมา ไม่ได้ใช้ราคาเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และไม่ได้ใช้กำไรเป็นแรงจูงใจ

จีนจึงต้องรีบเปลี่ยนจากสังคมมาเป็นทุนนิยม ยึดอำนาจจากประธานเหมาโดยอาศัยตรรกะของแมวสีอะไรถ้ามันจับหนูได้ก็ไม่แปลกมาแก้แนวคิดเหมา มิเช่นนั้นจีนคงไม่มีวันนี้ที่เป็นเศรษฐกิจเบอร์ 2 ของโลก

ทุนนิยมจึงใจดำ ถ้าระบบเศรษฐกิจใดยอมให้กิจการที่ขาดทุนดำรงอยู่ได้ มันก็จะผลาญทรัพยากรที่มีค่าไปอย่างเปล่าประโยชน์ “มีกำไรจึงอยู่รอด ถ้าขาดทุนต้องออกไป”

จีนในยุคเหมาที่คนจีนต้องอดตายนับล้านคนจากการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมก็เพราะละเลย เอาข้าวไปให้แรงงานอุตสาหกรรมที่ขาดทุนให้ดำรงอยู่ได้

ญี่ปุ่นฟื้นตัวจากการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กลายมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจก็ด้วยการใช้ทุนทำงาน ใช้ราคาเป็นเข็มทิศ และใช้กำไรเป็นแรงจูงใจ แทนที่จะให้รัฐหาเลี้ยงด้วยการอุดหนุนช่วยพยุงกิจการที่ขาดทุนเพื่อเลี้ยงคนงาน

เกาหลีก็เช่นกันแม้จะหลงทางไปกับทุนลอกเลียนแบบญี่ปุ่นหรือสหรัฐฯ เช่น ถลุงเหล็ก ต่อเรือ หรือ รถยนตร์ มาปรับตัวพัฒนาประเทศใช้ทุนแบบที่จับต้องไม่ได้ (intangible capital) เช่น อุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรือ เพลง หรือ platform ที่เกี่ยวข้อง เช่น โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับ internet

สิ่งที่ทุนนิยมทำได้ดี คือการสะสมทุนอันเป็นที่มาของเทคโนโลยี กิจการจึงต้องมีกำไรเพื่อเป็นแหล่งที่มาของทุน
ทุนใหญ่มีโอกาสสะสมทุนได้มากกว่าทุนเล็ก

กิจการครอบครัวถ้าแบ่งไปให้ลูกแล้วแตกตัวออกไปมีโอกาสน้อยที่จะสู้คนอื่นที่มีทุนใหญ่กว่าได้ ถ้าไม่แยกตัวแต่แบ่งแยกความเป็นเจ้าของด้วยระบบหุ้นส่วน ทุนก็จะสะสมเอาไว้ได้

ญี่ปุ่นด้วยระบบหุ้นส่วนตามแนวคิดของ ชิบุซาวะ เออิจิ (ดูหน้าในธนบัตร 1หมื่นเยนใหม่) จึงทำให้เกิดการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสามารถเอาไปใช้พัฒนาเทคโนโลยีได้ ทุนนิยมญี่ปุ่นหรือเกาหลีจึงเป็นทุนใหญ่ที่ไม่ใช่ “แตกแล้วโต” เช่น ทุนนิยมไต้หวันที่อาศัยแนวทางของทุนเล็ก (SME) แต่ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี เพราะรัฐบาลสนับสนุนให้เอกชนไปค้าขายหรือสร้างเทคโนโลยีแทนที่รัฐจะเข้ามาเป็นผู้จ้างงานเสียเองที่ไม่มีศักยภาพที่จะทำได้

ข้อเสียของทุนนิยมจึงอยู่ที่การไม่แข่งขันหรือการผูกขาด มิใช่ทุนใหญ่หรือทุนใจดำหรือมุ่งแต่ค้ากำไร การมุ่งแต่ความเท่าเทียมในลำดับแรกมันไม่ทำให้เดินไปข้างหน้าได้ดอก อย่าสับสน!

การผูกขาดที่มาโดยธรรมชาติจากการสร้างเทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็นต้องมีอยู่และคุ้มครองเอาไว้ นักเขียน/นักค้นคว้า หากไม่ได้รับการคุ้มครองให้สามารถผูกขาดลิขสิทธิ์/สิทธิบัตรในวรรณกรรม/สิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้แล้ว ใครจะทำสิ่งใหม่ ๆ ออกมาให้อ่าน/ได้ใช้

การผูกขาดโดยอำนาจรัฐในรูปแบบต่าง ๆ เช่นสัมปทาน ต่างหากที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

ปัญหาไทยในปัจจุบันจึงอยู่ที่ ทุนไม่ใหญ่พอ ทุนไม่ใจดำ(ไร้ใจ)พอ และไม่มีเทคโนโลยีของตนเอง เพราะฉะนั้นการทำให้ทุนใหญ่อ่อนแอจึงเป็นการกระทำที่สิ้นคิด การทำให้ทุนใหญ่เติบโตและมีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศได้ต่างหาก คืออนาคตของการพัฒนาประเทศไทย … ส่วนทุนเล็กก็ควรเติบโตใน “เศรษฐกิจตลาด” ที่ระบบนิเวศทางธุรกิจไม่โหดร้ายเท่า “เศรษฐกิจทุนนิยม” ที่มีทุนใหญ่เป็นผู้เล่นหลัก

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยจึงควรส่งเสริมการพัฒนา “เศรษฐกิจตลาด” กับ “เศรษฐกิจทุนนิยม” ไปพร้อม ๆ กัน ตรงนี้ต่างหากที่ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหนคิดทำอย่างจริงจัง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุวินัย' เขียนข้อความแลกเปลี่ยนกับ ว. วชิรเมธี

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนข้อความลงเฟซบุ๊ก ระบุว่า แลกเปลี่ยนกับ ท่าน ว. วชิรเมธี เรื่องความรู้ทางจิตของอัจฉริยะแห่งจิตกับขอบเขตของจิตใจทั้งหมด (full spectrum of the mind)

นักวิชาการ ฝากถึง ว.วชิรเมธี ทองแท้ต้องไม่กลัวไฟลน มารไม่มี บารมีไม่เกิด

อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความ เรื่อง "ทองแท้ต้องไม่กลัวไฟลน" มีเนื้อหาดังนี้

'ดร.สุวินัย' เผยแพร่บทความ ปลายทางของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร?

รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง "ปลายทางของนักปฏิกษัตริย์นิยมคืออะไร?" จากกรณีนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน

ปชป. วิกฤต! ถดถอยสู่พรรคระดับจังหวัด เจอทุนนิยมครอบ

ปชป. อุดมการณ์สั่นคลอน! จากระดับชาติสู่พรรคระดับจังหวัด เลือกตั้งครั้งหน้าได้ไม่เกิน 15 เสียง แฟนคลับป่วนหนักหลัง 'อภิสิทธิ์' ลาออก จับตา! ซบ ครม.เพื่อไทย

'จตุพร' รู้แล้ว ที่มาเงิน 5.6 แสนล้าน ประเทศสารขัณฑ์ แจกกระตุ้นทุนรายใหญ่ เร็วกว่าที่คิดมาเดือนพ.ย.

รู้แล้วที่มาเงิน 5.6 แสนล. “จตุพร” ประเมินความน่าจะเป็น คาดลอกแบบปั้น ศก.ดิจิทัลจาก ปท.สารขัณฑ์ เชื่อรัฐทำสัญญาจ