‘ธ.ก.ส.’ เท 3 หมื่นล้านอุ้มเกษตรกรอ่วมโรคระบาดสุกรหวังแก้ปัญหาหมูแพง

ผวาปัญหาหมูแพง! “ธ.ก.ส.” สั่งอัดฉีด 3 หมื่นล้านบาท ปล่อยกู้ช่วยเกษตรกร วางระบบเลี้ยงที่เป็นมาตรการ ลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาด

5 ม.ค. 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรทำให้จำนวนสุกรออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ ๆ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง เป็นต้น มีราคาแพงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังผู้บริโภค

ทั้งนี้ รัฐบาลได้เร่งออกนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการงดส่งออกสุกรมีชีวิต การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม/ภาษี รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้า เพื่อช่วยเหลือด้านราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงการจัดสินเชื่อพิเศษเพื่อการฟื้นฟูการผลิตสุกรเป็นการจำเพาะ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบการเลี้ยงสุกรที่ส่งผลดีทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมสินเชื่อพิเศษสำหรับเป็นทุนในการสนับสนุนการเลี้ยงสุกร การเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ และการวางระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐานเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สำหรับเกษตรกรรายย่อยและบุคคลในครัวเรือนที่ประสงค์จะกู้เงิน เพื่อไปลงทุนเลี้ยงสุกรหรืออื่น ๆ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้ กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 4 – 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก

2.สินเชื่อ Food Safety เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเพื่อเป็นค่าลงทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยกรณีเกษตรกร MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.5 ต่อปี) กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ ร้อยละ 4.875 ต่อปี) พิเศษสำหรับผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน กรณีเกษตรกร ดอกเบี้ย MRR-1 กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคลต่าง ๆ ดอกเบี้ย MLR-0.5 ระยะเวลาชำระคืน กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (กรณีพิเศษ ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันกู้) กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี

3.สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจ โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กำหนด วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – 2 ร้อยละ 4 ต่อปี และปีที่ 3 – 10 อัตราดอกเบี้ย MRR-1 / MLR / MOR ตามประเภทของลูกค้า (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี / MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี และ MOR เท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี)

กรณีที่ผู้ประกอบการสามารถนำ Platform มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือมีการรับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่มีมาตรฐานรับรองหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรต้นน้ำหรือกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของต้นทุนวัตถุดิบ หรือเป็นธุรกิจที่นำหลักโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ องค์รวม (BCG Model) อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3 – 4 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี เพิ่มอีก 2 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

“จากผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ไทยจะควบคุมโรคได้ดี แต่ก็ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายไปราว 30-40% เหลือเพียงประมาณ 18 ล้านตัวเศษ และคาดว่าปี 2565 จะผลิตได้เพียง 13-15 ล้านตัว เมื่อประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้เลี้ยงรายใหม่ลดลง” นายธนารัตน์ กล่าว

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรราว 190,000 ราย กว่า 90% เป็นรายย่อย ซึ่งผลิตสุกรในระบบประมาณ 30% โดยในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวน 59,205 ราย ขณะที่ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่มีประมาณ 3% แต่ผลิตสุกรประมาณ 70% โดยสุกรที่ขุนได้เฉลี่ยปีละ 22 ล้านตัว ซึ่งกว่า 90% ใช้บริโภคภายในประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

'บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต' เคาะแหล่งที่มาเงิน 4.5 แสนล้าน ไม่ง้อ ธ.ก.ส. ชง ครม. 23 ก.ค.

'บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต' เคาะงบ 4.5 แสนล้าน แจก 45 ล้านคน ตัดงบ ธ.ก.ส. ชง ครม. สัปดาห์หน้า แถลงใหญ่ 24 ก.ค. ยันลงทะเบียนไตรมาส 3 โอนเงินไตรมาส 4

ผวากระทบฐานเสียงรัฐบาล! หลังครม.เลิกไ่ร่ละ 1 พัน ดัน 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' แทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาการประชุมครม.ได้หารือวาระต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว นายกรัฐมนตรี ได้มีการสอบถามขึ้นมากลางวงประชุม ถึงกรณีโครงการของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือชาวนาผ่านโครงการปุ๋ยคน