การบินไทยเปิดผลประกอบการไตรมาส1/67 กำไร 2,423 ล้านบาท ลดลง 80% หลังเจอปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน – การด้อยค่าของเครื่องบิน เร่งแก้ปมที่นั่งบนเครื่องบินชำรุด ยืนยันปรับปรุงแล้วเสร็จภายใน มิ.ย.นี้
10 พ.ค. 2567 – นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1/2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม 45,955 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมีรายได้รวม 41,507 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสำคัญจากการเติบโตของรายได้การขนส่งผู้โดยสารด้วยบริการเที่ยวบินขนส่งที่เพิ่มขึ้น และความต้องการเดินทางที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายรวม 34,880 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,407 ล้านบาท (22.5%) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 28,473 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิต และ/หรือปริมาณการขนส่งจำนวนเที่ยวบิน จุดบิน และผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การอ่อนค่าของเงินบาท รวมทั้งอัตราค่าบริการภาคพื้นและราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายปรับตัวสูงขึ้นในภาพรวม ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 11,075 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,959 ล้านบาท (15.0%)
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นรายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 5,372 ล้านบาท การด้อยค่าของเครื่องบิน และสินทรัพย์สิทธิการใช้ และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน 3,338 ล้านบาท แต่มีรายการปรับปรุงรายได้บัตรโดยสารที่หมดอายุ4,136 ล้านบาท กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 493 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 36 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1/2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 2,423 ล้านบาท ลดลง 80.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนและมี EBITDA หลักหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบินรวมค่าเช่าเครื่องบินจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง14,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เป็นเงินจำนวน 14,054 ล้านบาท
ขณะเดียวกันการขายอากาศยานที่ปลดระวางเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของแผนฟื้นฟูกิจการ จึงถือว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการแผนฟื้นฟูแล้วเสร็จอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ยังคงคาดการณ์ว่าจะสามารถยื่นกลับซื้อขายหลักทรัพย์และออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ตามเป้าหมายในปี 2568 ส่วนในปี 2567 บริษัทฯ ยังคงคาดการณ์ว่าจะสามารถทำรายได้รวมอยู่ 1.8 แสนล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการดำเนินงาน 1.6 แสนล้านบาท ส่วนอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) คาดอยู่ในระดับ 75% ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงจับตาดูปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่จะเป็นปัจจัยลบส่งผลต่อภาพรวมกำไรของบริษัทฯ
นายชาย กล่าวถึงการขายอากาศยานที่ปลดระวางเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของแผนฟื้นฟูกิจการ จึงถือว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการแผนฟื้นฟูแล้วเสร็จอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ยังคงคาดการณ์ว่าจะสามารถยื่นกลับซื้อขายหลักทรัพย์และออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ตามเป้าหมายในปี 2568 ส่วนในปี 2567 บริษัทฯ ยังคงคาดการณ์ว่าจะสามารถทำรายได้รวมอยู่ 1.8 แสนล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการดำเนินงาน 1.6 แสนล้านบาท ส่วนอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) คาดอยู่ในระดับ 75% ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงจับตาดูปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่จะเป็นปัจจัยลบส่งผลต่อภาพรวมกำไรของบริษัทฯ
นายชาย กล่าวถึงกรณีปัญหาที่นั่งบนเครื่องบินชำรุด ว่า บริษัทฯ รับทราบปัญหาและไม่ได้นิ่งนอนใจ อยู่ระหว่างประสานผู้ผลิตเพื่อเร่งจัดส่งอะไหล่และซ่อมบำรุง แต่ต้องยอมรับว่าขณะนี้หลายสายการบินใช้เครื่องบินรุ่นเดียวกัน และต้องการอะไหล่เพื่อซ่อมบำรุงในลักษณะเดียวกัน จึงทำให้บริษัทฯ ต้องรอคิวจัดหาอะไหล่ เพื่อแก้ไขปัญหาางานบริการในเบื้องต้น บริษัทฯ ได้สำรวจอุปกรณ์ที่ชำรุและพบว่ามีจำนวน 8 ลำ แบ่งเป็น แอร์บัส A350 จำนวน 4 ลำ และโบอิ้ง 777-200ER จำนวน 4 ลำ โดยบริษัทฯ จะสับเปลี่ยนเครื่องบินเหล่าให้บริการเฉพาะเที่ยวบินที่มียอดจองการเดินทาง ไม่สูงมากนัก เพื่อเลี่ยงไม่ให้ผู้โดยสารต้องใช้ที่นั่งชำรุด อีกทั้งหากมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบินส่วนนี้ บริษัทฯ จะบล็อคที่นั่งชำรุด ไม่ทำการขายเพื่อให้บริการผู้โดยสาร
ขณะเดียวกันหากเกิดกรณีที่เครื่องบินอยู่ระหว่างให้บริการผู้โดยสารและเกิดเหตุที่นั่งชำรุด บริษัทฯ จะจัดหาที่นั่งสำรองเพื่อบริการผู้โดยสาร แต่หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่สามารถย้ายผู้โดยสารไปยังที่นั่งสมบูรณ์ได้ บริษัทฯ จะชดเชยผู้โดยสารแทน โดยยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเรื่องที่เกิดขึ้น และอยู่ระหว่างพยายามแก้ไข ซึ่งคาดว่าจะสามารถรับอะไหล่และติดตั้งแก้ไขปัญหาที่นั่งชำรุดแล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาส 2 หรือภายใน มิ.ย.นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บีเจซี เผยผลประกอบการไตรมาส 3/67 ดันรายได้รวมเติบโตทะลุ 41,774 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานปกติเติบโตกว่า 14.2%
บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี เปิดเผยรายได้รวมในไตรมาส 3/67 เท่ากับ 41,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 603 ล้านบาทจากปีก่อน กำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 2,825 ล้านบาท
'ศิริกัญญา' ปูดรัฐบาลวางแผนยึดการบินไทย
“ศิริกัญญา” ชวนจับตา “รัฐบาล” วางแผนยึด “การบินไทย” ส่งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่ม 2 คน กุมเสียงข้างมาก คลังจ่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนเต็มสิทธิ์ ถามเอาเงินจากไหน ไม่พ้นต้องควักเงินภาษี
ผลประกอบการ SCGD 9 เดือนแรกปี 67 คว้ากำไร 730 ล้านบาท เพิ่ม 15% จากปีก่อน แม้ฝ่ามรสุมรอบด้าน ไตรมาส 3 ยังกำไร 189 ล้านบาท
ผลประกอบการ SCGD 9 เดือนแรกปี 67 กำไรสุทธิ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนที่ 637 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 3 เผชิญความท้าทายรอบด้าน