'ภูมิธรรม' ยกทีมจีนถกผู้ว่าฯ สิบสองปันนา เพิ่มตู้ส่งผลไม้ หนุนส่งออกโค

28 เมษายน 2567 – นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังนำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาปฎิบัติราชการที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2567 โดยได้เข้าหารือกับนายตาว เหวิน (Mr.Dao Wen)ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน และคณะ ที่ห้องประชุมโรงแรม Mekong River Jing Land Hotel สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วงค่ำวานนี้(27 เม.ย.67)

นายภูมิธรรม เปิดเผยว่า ตนได้นำคณะเดินทางมาที่สิบสองปันนา เนื่องจากเป็นเขตปกครองตนเองที่อยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนานของจีน และอยู่ใกล้ไทยมากที่สุด มีความสำคัญในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า อาทิ พืชผัก ผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง ผลไม้แปรรูป เครื่องเทศ และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ซึ่งท่านนายกฯ มีความเป็นห่วงพี่น้องชาวสวน เรื่องปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงฤดูกาลผลไม้ที่จะถึงนี้

ซึ่งตนได้หารือกับท่านผู้ว่าการเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา อยากให้เพิ่มตู้คอนเทนเนอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูผลไม้ที่จะถึงนี้ และความต้องการที่ไทยจะส่งออกโคมีชีวิตไปยังจีน โดยขอให้ช่วยผลักดันการเจรจาเพื่อจัดทำพื้นที่เขตปลอดโรคให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งขณะนี้ทั้งฝ่ายไทยและ สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of Customs of China :GACC) อยู่ระหว่างการทำงานร่วมกัน

และได้หารือถึงการขนส่งสินค้าจากด่านท่าเรือเชียงแสน ผ่านแม่น้ำโขงไปยังท่าเรือกวนเหล่ยของจีน ขอให้สิบสองปันนาเตรียมความพร้อมในการจัดสถานที่ทำโรงชำแหละเนื้อโคมีชีวิตเพื่อรองรับการนำเข้าจากไทย ถ้าสำเร็จจะเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ลดต้นทุนการขนส่งและสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยท่านผู้ว่าฯได้แจ้งว่ากำลังปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางนี้ให้มีศักยภาพรองรับการค้าในอนาคต ทั้งนี้ตนได้สั่งการให้กรมการค้าต่างประเทศและคณะที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ทางผู้ว่าการเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ได้ขอให้ฝ่ายไทยให้การสนับสนุนการเปิดเส้นทางการบิน สิบสองปันนา-กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้ได้มีเส้นทางบินตรง เชียงใหม่-สิบสองปันนาแล้ว วันละ 1 ไฟล์ท หากเปิดเส้นทางการบินเพิ่มจะเป็นประโยชน์ ต่อการเดินทางท่องเที่ยว และช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศได้ ซึ่งตนได้รับเรื่องไว้ นายภูมิธรรม ระบุเพิ่มเติมว่า จากนี้ตนจะเดินทางไปเยี่ยมชมด่านโม่ฮาน(จีน) และด่านบ่อเต็น (ลาว) เพื่อเจรจาเรื่องการขอให้เพิ่มเวลาทำงานที่หน้าด่านลดการแออัดในการขนส่งสินค้า และจะไปที่ด่านรถไฟโม่ฮาน เพื่อรับฟังข้อมูลสถานการณ์การขนส่งสินค้าผ่านด่านรถไฟโม่ฮาน และวิธีการตรวจปล่อยผลไม้ไทยด้วย

สิบสองปันนา เป็น 1 ใน 16 เขตปกครองตนเองที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ในปี 2566 มูลค่าการค้าระหว่างจีนและไทยประมาณ 126,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการค้าระหว่างเขตฯสิบสองปันนากับไทย ราว 7,667 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมณฑลยูนนานเป็นมณฑลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของจีน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นมณฑลที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีพรมแดนติดกับเมียนมาร์ เวียดนาม และ สปป.ลาว จึงมีความโดดเด่นด้านการค้าชายแดน และตั้งอยู่ใกล้ไทยมากที่สุด โดยใช้เส้นทางถนน R3A ซึ่งการส่งเสริมการค้ากับมณฑลยูนนานจะมีความสำคัญอย่างสูงต่อการเชื่อมโยงการค้า การคมนาคม ทั้งทางบก อากาศ และทางเรือ ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนรอยสปิริต‘เพื่อไทย’ สู่กรณี‘ชาญ พวงเพ็ชร์’

กรณี “ชาญ พวงเพ็ชร์” จากพรรคเพื่อไทย หลังชนะเลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานี เหมือน “มีบุญ แต่กรรมบัง” เพราะใช้พลังและทรัพยากรณ์สุดความสามารถ

“สุชาติ” ชี้ช่องทางตลาดในและต่างประเทศแก่ผู้ประกอบการถุง พลาสติกสาน สยามแฟล็กซ์แพ็ค จำกัด โอกาสโตยังเปิดกว้าง!

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หารือกับผู้บริหาร บริษัท สยามเฟล็กซ์แพ็ค จำกัด ผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าถุงกระสอบพลาสติก สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA

'ภูมิธรรม' อุ้ม 'ชาญ' หยุดปฏิบัติหน้าที่ต้องรอศาลสั่ง ความเห็นกฤษฎีกาไม่ต้องทำตามทุกเรื่อง

ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ให้สัม

‘สุชาติ’ แนะเกษตรกร/ผู้ประกอบการโคนม นำนวัตกรรม และดูแลสิ่งแวดล้อม เพิ่มมูลค่า พร้อมศึกษาประโยชน์จาก FTA ขยายตลาดส่งออก

รมช.พณ. สุชาติฯ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการนมโคแปรรูป ในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรและผู้ประกอบการเร่งใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายตลาดส่งออก และเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่การเปิดเสรีสินค้านมและผลิตภัณฑ์ ภายใต้ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568