กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผย 5 เทรนด์การบริโภคของชาวจีนที่มาแรงในปี 67 เน้นใช้จ่ายอย่างฉลาด สุขนิยมเติมอารมณ์ฟิน แพงได้แต่อย่าแพงเกิน คอมเมิร์ซสตรีมมิ่งพลิกโฉมช่องทางธุรกิจ เศรษฐกิจระดับอำเภอเติบโตขึ้น แนะผู้ส่งออกไทยศึกษา และวางแผนในการผลิตสินค้าและบริการไปขาย
24 เม.ย. 2567 นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับรายงานจากนางสาวบูชิตา อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึง 5 เทรนด์การบริโภคชาวจีนในปี 2567 เพื่อแจ้งต่อผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทยให้ศึกษาและนำมาปรับใช้ในการทำตลาดสินค้าไทยเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคชาวจีน
สำหรับการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีนในปี 2567 มีจำนวน 5 เทรนด์ ที่กำลังเริ่มเป็นค่านิยมใหม่ ได้แก่
1.ใช้จ่ายอย่างฉลาด (Smart Consume) โดยคนหนุ่มสาวให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าคุ้มราคาที่สุด แสวงหาคุณภาพมากกว่าแบรนด์ โดยเฉพาะผู้บริโภคชนชั้นกลาง จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคไม่ได้ใช้จ่ายอย่างประหยัด เพียงแต่ใช้จ่ายด้วยความมีเหตุมีผลและใจเย็นมากขึ้น โดยก่อนการตัดสินใจซื้อจะมีการค้นหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบสินค้าจากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมทั้งอ่านรีวิวและการให้คะแนนอย่างละเอียด ซึ่งภายใต้แนวโน้มการเลือกซื้ออย่างรอบคอบและชาญฉลาดนี้ สินค้าที่ได้รับคอมเมนต์ที่ดีจึงเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค เป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดกระแสการบริโภค
2.สุขนิยม เติมอารมณ์ฟิน (Emotional Fulfillment) บริษัท Mintel เปิดเผยว่า 1 ใน 5 แนวโน้มของตลาดการบริโภคทั่วโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็คือ การใช้ชีวิตที่ผ่อนคลาย สะท้อนถึงความปรารถนาของผู้บริโภคที่อยากหลุดพ้นจากความเหนื่อยหน่าย และมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณภาพ หรืออีกนัยก็คือ การเต็มใจจ่ายเพิ่มเติมเต็มความรู้สึกพอใจของตนเองนั่นเอง
3.แพงได้ แต่อย่าแพงเกิน (Expensive to non-expensive) เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้บริโภคชาวจีนมีอิทธิพลต่อการบริโภคสินค้าแบรนด์หรูระดับไฮเอนของโลก โดยในปีนี้ ตลาดจีนและเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นตลาดที่สำคัญของสินค้าฟุ่มเฟือย แม้ว่าสินค้าแบรนด์หรูยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภครายได้ระดับปานกลาง-สูง แต่จากการปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องของสินค้า แบรนด์เนม อาทิ Hermes รุ่น Mini Kelly ปรับขึ้นร้อยละ 21.5, Rolex ปรับขึ้นร้อยละ 6-8, Tudor ปรับขึ้นร้อยละ 3 ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนที่อ่อนค่า ส่งผลให้แบรนด์หรูเหล่านี้เริ่มมีราคาสูงเกินเอื้อม ทำให้แนวคิดแพงได้ แต่อย่าแพงเกิน จึงเริ่มกลายเป็นค่านิยมการซื้อ
สินค้าฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคชั้นกลาง ซึ่งมีความยึดติดกับแบรนด์ราคาสูงน้อยลง แบรนด์ที่มีความคุ้มค่าคุ้มราคาได้ทวีบทบาทสำคัญและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
4.อีคอมเมิร์ซสตรีมมิ่งพลิกโฉมช่องทางธุรกิจ (Ecommerce streaming) สืบเนื่องจากการไลฟ์สดขายของกำลังเป็นที่นิยม การบริโภคได้เปลี่ยนจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั่วไป เป็นอีคอมเมิร์ซไลฟ์สดขายของ ผู้ดำเนินการไลฟ์สดได้เปลี่ยนการเลือกสินค้าของผู้บริโภค จากการเชื่อมั่นในแบรนด์ เป็นการเชื่อมั่นในผู้ดำเนินรายการ ทำให้เกิดรูปแบบการไหลเวียนของสินค้าใหม่ ทำให้สินค้าจากโรงงานมาอยู่แถวหน้ามากขึ้นจากการแนะนำของผู้ไลฟ์สด
5.เศรษฐกิจระดับอำเภอเติบโตขึ้น (District Economy) เศรษฐกิจระดับอำเภอซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างการพัฒนาในเขตเมืองและชนบท ถือว่ามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากการฟื้นตัวของการบริโภค และการบริโภคภาคบริการในเขตอำเภอ โดยรวมมีแนวโน้มมั่นคงและเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเจาะตลาดจีน จะต้องศึกษาเทรนด์การบริโภคของชาวจีน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และวางแผนในการทำตลาดให้เหมาะสม และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคชาวจีนยุคใหม่เน้นความคุ้มค่าคุ้มราคาจึงสามารถพิจารณาตั้งราคาสินค้าให้สมเหตุสมผล ผู้บริโภคมีการเปรียบเทียบสินค้าจากหลากหลายแพลตฟอร์ม เชื่อถือการรีวิวและคอมเม้นต์ก่อนตัดสินใจซื้อ และเชื่อถือผู้มีอิทธิพลอย่าง KOL/KOC/ผู้ดำเนินการไลฟ์สด ในการชักจูงความต้องการซื้อ จึงควรพิจารณาประชาสัมพันธ์สินค้าโดยผ่านผู้มีชื่อเสียงในท้องถิ่น เพื่อให้เข้าถึงตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น และผู้บริโภคยังมองหาสินค้าและบริการโดยยอมจ่ายเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น สามารถพิจารณานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ มีลูกเล่น ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรมองข้ามศักยภาพของตลาดระดับอำเภอที่มีกำลังซื้ออยู่ในช่วงขยายตัว”นายภูสิตกล่าว
สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘พาณิชย์’ ชวนคนหาดใหญ่ สงขลา และจังหวัดใกล้เคียงแวะไป ชม ชิม ชอป ในงานแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 14 -18 พย.นี้ ที่เซ็นทรัลหาดใหญ่
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายดำเนินโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส" ให้ผู้ประกอบการ และประชาชนกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องการกระตุ้นและสนับสนุนประชาชนในทุกมิติ เน้น 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การลดต้นทุน การเพิ่มพื้นที่ค้าขายให้ผู้ประกอบการรายเล็ก และ
พาณิชย์ จับมือ ตำรวจภูธรภาค 8 สร้างเครือข่ายป้องปรามลานเทแยกลูกปาล์มร่วงผิดธรรมชาติ เพื่อรักษาคุณภาพผลปาล์ม ยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม
กระทรวงพาณิชย์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อรักษาคุณภาพผลปาล์มให้เกษตรกรขายได้ราคา โดยร่วมมือกับ ตำรวจภูธรภาค 8 ส่งเสริมการทำปาล์มคุณภาพ จัดอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เกี่ยวกับแนวทางการสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่องมือ
ไทย-ตุรกี ชื่นมื่น รมช. สุชาติ จับมือ รมช. การค้าตุรกี ผลักดันเจรจา FTA ต่อ เพื่อสานสัมพันธ์การค้าการลงทุน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้พบหารือทวิภาคีกับนายมุสตาฟา ตุซคู (H.E. Mr. Mustafa Tuzcu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าสาธารณรัฐตุรกี ในห้วงการเดินทางเยือนตุรกี เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการถาวรว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า
“รมช. สุชาติ” ร่วมเวทีครบรอบ 40 ปี COMCEC กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับโลกมุสลิม มุ่งส่งเสริมการค้าผ่านระบบดิจิทัล
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประชุม COMCEC ครั้งที่ 40 ณ นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า มุ่งกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศมุสลิม