พาณิชย์ลุยขยายตลาดผ้าขาวม้าไทย

กรมพัฒนาธุรกิจฯ ต่อยอดส่งเสริมผ้าขาวม้าไทยสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ขยายตลาด และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการชุมชน 

17 เม.ย. 2567 – นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขานรับนโยบายรัฐบาล โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เห็นถึงความสำคัญของอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าไทยที่ภาครัฐและภาคธุรกิจควรร่วมกันต่อยอดและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่กับประเทศไทย รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมากรมฯ ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ การช่วยขยายช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลายครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ล่าสุด กรมฯ เตรียมต่อยอดส่งเสริมผ้าขาวม้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้เป็นที่รับรู้และรู้จักในวงกว้าง โดยเน้นโชว์จุดแข็ง คือ ‘ใช้หน้าร้อนเย็นสบาย ใช้หน้าหนาวช่วยให้อบอุ่น’ พร้อมต่อยอดสนับสนุนผู้ประกอบการชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างรายได้ ขยายโอกาสการสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความแข็งแกร่ง

อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกอบการชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้ากระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายที่กรมฯ เตรียมเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะเพิ่มเติม โดยจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับเทรดเดอร์/บายเออร์รายใหญ่ของประเทศ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าเข้าจำหน่ายในศูนย์การค้าฯ และร้านค้าของเทรดเดอร์และบายเออร์ที่เข้าร่วมเจรจาธุรกิจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติซื้อกลับไปเป็นของฝากของกำนัลหรือใช้เอง โดยระหว่างการเจรจาธุรกิจผู้ประกอบการจะได้รับฟังคำแนะนำการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ดึงดูดความน่าสนใจผู้บริโภค ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น สามารถนำความรู้/ข้อเสนอแนะที่ได้รับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตามแนวทาง ‘ตลาดนำการผลิต’ 

รวมทั้ง พาออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้าตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายขยายตลาดให้ผู้ประกอบการ เพิ่มพันธมิตรทางการค้า ได้พบปะผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ช่วยฝึกทักษะการเจรจาขายสินค้าและการรับมือกับลูกค้าทุกรูปแบบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าไทยให้มีความหลากหลาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ของใช้ของตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับ ให้ผู้บริโภคได้เลือกนำไปใช้ตามความชื่นชอบ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เปิดทางให้ผ้าขาวม้าไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  

นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายช่องทางการตลาด ผ่านกิจกรรมและโครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้และการส่งเสริมการขายของกรมฯ เช่น หลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ โครงการสุขใจซื้อของไทยร่วมกับช้อปปี้ โครงการ Digital Village by DBD และงานมหกรรม Thailand e-Commerce Expo เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการผ้าขาวม้าไทยมีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ที่สำคัญ ผู้บริโภคไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเวลาใดก็สามารถซื้อผ้าขาวม้าไทยไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมรับลูกนโยบายส่งเสริมผ้าขาวม้าไทยของนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ที่ให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมที่จะช่วยโชว์อัตลักษณ์ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่น และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ทั้งผู้ประกอบการชุมชนและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและประสบผลสำเร็จด้วยดี และจะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อยอดธุรกิจให้สามารถออกไปขายนักท่องเที่ยวและค้าขายในต่างประเทศด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด และสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการระยะยาว

ผ้าขาวม้าไทยเป็นสัญลักษณ์ของการผูกมิตรไมตรีจิตที่ใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนที่สืบสานมาตั้งแต่ครั้งบรรพชน จนกลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ดีงาม แสดงถึงความอบอุ่น ความห่วงใย และมิตรภาพที่จริงใจ ผ้าขาวม้าจึงเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน เมื่อนำไปเป็นของขวัญของฝากย่อมมีนัยยะถึงมิตรภาพ ความห่วงใยที่มีให้แก่กัน นอกจากนี้ ผ้าขาวม้าไทยยังมีเนื้อผ้าให้เลือกหลากหลายตามความชื่นชอบ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ฯลฯ สีสันสวยงาม มีความทันสมัย สามารถประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างลงตัว จึงไม่ยากที่จะผลักดันให้ผ้าขาวม้าไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และเกิดเป็นกระแส ‘ผ้าขาวม้าไทยฟีเวอร์’ ”อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567) มีผู้ประกอบการผ้าขาวม้าที่อยู่ในการส่งเสริมสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 544 ราย แบ่งเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 470 ราย (86.40%) ภาคกลาง 34 ราย (6.25%) ภาคตะวันตก 19 ราย (3.50%) ภาคเหนือ 14 ราย (2.58%) ภาคใต้ 5 ราย (0.91%) และ ภาคตะวันออก 2 ราย (0.36%)

กรมพัฒนาธุรกิจฯ ต่อยอดส่งเสริมผ้าขาวม้าไทยสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ขยายตลาด และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการชุมชน 

17 เม.ย. 2567 – นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขานรับนโยบายรัฐบาล โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เห็นถึงความสำคัญของอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าไทยที่ภาครัฐและภาคธุรกิจควรร่วมกันต่อยอดและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่กับประเทศไทย รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมากรมฯ ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ การช่วยขยายช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลายครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ล่าสุด กรมฯ เตรียมต่อยอดส่งเสริมผ้าขาวม้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้เป็นที่รับรู้และรู้จักในวงกว้าง โดยเน้นโชว์จุดแข็ง คือ ‘ใช้หน้าร้อนเย็นสบาย ใช้หน้าหนาวช่วยให้อบอุ่น’ พร้อมต่อยอดสนับสนุนผู้ประกอบการชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างรายได้ ขยายโอกาสการสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความแข็งแกร่ง

อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกอบการชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้ากระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายที่กรมฯ เตรียมเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะเพิ่มเติม โดยจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับเทรดเดอร์/บายเออร์รายใหญ่ของประเทศ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าเข้าจำหน่ายในศูนย์การค้าฯ และร้านค้าของเทรดเดอร์และบายเออร์ที่เข้าร่วมเจรจาธุรกิจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติซื้อกลับไปเป็นของฝากของกำนัลหรือใช้เอง โดยระหว่างการเจรจาธุรกิจผู้ประกอบการจะได้รับฟังคำแนะนำการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ดึงดูดความน่าสนใจผู้บริโภค ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น สามารถนำความรู้/ข้อเสนอแนะที่ได้รับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตามแนวทาง ‘ตลาดนำการผลิต’ 

รวมทั้ง พาออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้าตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายขยายตลาดให้ผู้ประกอบการ เพิ่มพันธมิตรทางการค้า ได้พบปะผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ช่วยฝึกทักษะการเจรจาขายสินค้าและการรับมือกับลูกค้าทุกรูปแบบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าไทยให้มีความหลากหลาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม ทั้งเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ของใช้ของตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับ ให้ผู้บริโภคได้เลือกนำไปใช้ตามความชื่นชอบ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เปิดทางให้ผ้าขาวม้าไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  

นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายช่องทางการตลาด ผ่านกิจกรรมและโครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้และการส่งเสริมการขายของกรมฯ เช่น หลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ โครงการสุขใจซื้อของไทยร่วมกับช้อปปี้ โครงการ Digital Village by DBD และงานมหกรรม Thailand e-Commerce Expo เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการผ้าขาวม้าไทยมีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ที่สำคัญ ผู้บริโภคไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเวลาใดก็สามารถซื้อผ้าขาวม้าไทยไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมรับลูกนโยบายส่งเสริมผ้าขาวม้าไทยของนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ที่ให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมที่จะช่วยโชว์อัตลักษณ์ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่น และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ทั้งผู้ประกอบการชุมชนและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและประสบผลสำเร็จด้วยดี และจะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อยอดธุรกิจให้สามารถออกไปขายนักท่องเที่ยวและค้าขายในต่างประเทศด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด และสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการระยะยาว

ผ้าขาวม้าไทยเป็นสัญลักษณ์ของการผูกมิตรไมตรีจิตที่ใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนที่สืบสานมาตั้งแต่ครั้งบรรพชน จนกลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ดีงาม แสดงถึงความอบอุ่น ความห่วงใย และมิตรภาพที่จริงใจ ผ้าขาวม้าจึงเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน เมื่อนำไปเป็นของขวัญของฝากย่อมมีนัยยะถึงมิตรภาพ ความห่วงใยที่มีให้แก่กัน นอกจากนี้ ผ้าขาวม้าไทยยังมีเนื้อผ้าให้เลือกหลากหลายตามความชื่นชอบ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ฯลฯ สีสันสวยงาม มีความทันสมัย สามารถประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างลงตัว จึงไม่ยากที่จะผลักดันให้ผ้าขาวม้าไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และเกิดเป็นกระแส ‘ผ้าขาวม้าไทยฟีเวอร์’ ”อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567) มีผู้ประกอบการผ้าขาวม้าที่อยู่ในการส่งเสริมสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 544 ราย แบ่งเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 470 ราย (86.40%) ภาคกลาง 34 ราย (6.25%) ภาคตะวันตก 19 ราย (3.50%) ภาคเหนือ 14 ราย (2.58%) ภาคใต้ 5 ราย (0.91%) และ ภาคตะวันออก 2 ราย (0.36%)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่างชาติขนเงินลงทุนในไทย 3.5 หมื่นล้าน ญี่ปุ่นยังเป็นอันดับ 1

พาณิชย์โชว์ไตรมาสแรกปี 2567 ต่างชาติลงทุนในไทย 35,902 ล้านบาท ญี่ปุ่นลงทุนอันดับหนึ่ง 19,006 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 3,294 ล้านบาท และฝรั่งเศส 3,236 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 849 คน

รัฐบาลลุยต่อยอด 'ผ้าขาวม้าไทยฟีเวอร์' ขยายตลาดช่วยชุมชนโกยรายได้

รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมต่อยอด 'ผ้าขาวม้าไทยฟีเวอร์' เพิ่มมูลค่าขยายตลาด ช่วยผู้ประกอบการชุมชนโกยรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหนุนธุรกิจแฟรนไชส์เร่งสร้างมาตรฐาน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตรียมอัปเกรดผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เร่งสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีศักยภาพพร้อมสร้างเครือข่ายกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการขยายตลาด ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น เปิดรับสมัครผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Standard) ประจำปี 2567 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2567