รัฐบาลลุยเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย เกาหลีใต้

รัฐบาลเดินหน้าเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ดึงดูดการค้า การลงทุน

31 มี.ค. 2567 – นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำชับการทำงานให้ผลักดันการเจรจาการค้ากับต่างประเทศ รักษาตลาดเก่า เพิ่มเติมตลาดใหม่ ที่สินค้าไทยมีศักยภาพตีตลาดได้ ซึ่งรวมถึงการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับทุกตลาด โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับนโยบายนายกรัฐมนตรีเร่งเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-สาธารณรัฐเกาหลี (Economic Partnership Agreement: EPA) สานต่อความตกลงการค้าเสรีในระดับภูมิภาค เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมของไทย ดึงดูดการลงทุน รวมถึงเปิดตลาดสินค้าและบริการของไทยไปยังสาธารณรัฐเกาหลีมากขึ้น

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามเอกสารขอบเขต (Terms of Reference: TOR) ระหว่างนางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และนายคอนกี โร (Keonki Roh) ตำแหน่ง Deputy Minister for Trade Negotiation ของกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Trade, Industry and Energy : MOTIE) ของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-สาธารณรัฐเกาหลี (Economic Partnership Agreement: EPA) อย่างเป็นทางการ คาดว่าจะมีการเจรจารอบแรกในช่วงกลางปี 2567

การเจรจาความตกลงในครั้งนี้ต่อยอดมาจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–เกาหลี (ASEAN – Korea Free Trade Agreement: AKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นการพัฒนาความร่วมมือต่าง ๆ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เช่น การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในห่วงโซ่การผลิต และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งเป็นการเพิ่มการลงทุนจากสาธารณรัฐเกาหลี ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทั้งนี้ ในปี 2566 สาธารณรัฐเกาหลีเป็นคู่ค้าอันดับ 12 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 14,736.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปสาธารณรัฐเกาหลี 6,070.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทรายแผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม รัฐบาลเชื่อมั่นว่า ผลจากการเจรจาในความตกลงดังกล่าว จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าการส่งออก และการเปิดตลาดของทั้ง 2 ประเทศระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ทำให้สินค้าและบริการหลากหลายชนิดของไทย ได้รับประโยชน์จากความตกลงนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และประมง เช่น เนื้อไก่แช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ผลไม้เมืองร้อน เช่น มะม่วง ฝรั่ง และมังคุด ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เช่น แป้ง ซอสและของปรุงรส ผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น ไม้แปรรูป พาติเคิลบอร์ด ไม้อัดพลายวูด เคมีภัณฑ์ และ บริการด้านธุรกิจ บริการการขนส่ง คลังสินค้า บริการด้านโรงแรมและภัตตาคาร

“นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำเรื่องการค้า การส่งออกนอกจากจะสร้างเม็ดเงินให้กับระบบเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนไทยในทุกสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผ่านการเดินหน้าเจรจาในความตกลงต่าง ๆ เพื่อหาช่องทางและตลาดการค้าแห่งใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าไทย พร้อมกันนี้ รัฐบาลดำเนินการเพิ่มศักยภาพสินค้าไทยให้มีความพร้อมในด้านการแข่งขัน และเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายตามยุทธศาสตร์นโยบายการค้าใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลี” นายชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' เตรียมต้อนรับ 'นายกฯลาว' เยือนไทยเป็นทางการ 15 ส.ค.นี้

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) มีกำหนดเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

โฆษกรัฐบาล เผยครึ่งปีแรก 67 จำนวนโรงงานเปิดใหม่ มีมากกว่าปิดกิจการ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันตัวเลขจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ปี 2567 รวมทั้งสิ้น 7 เดือน ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 กรกฎาคม 2567 ทั้งจำนวนโรงงาน ตัวเลขเงินลงทุน และ ตัวเลขการจ้างงาน มีตัวเลขเป็นบวกทั้งสิ้น

นายกฯ ห่วงคนไทยในญี่ปุ่น ขอให้ติดตามประกาศแจ้งเตือนแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เตือนชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่ประเทศญี่ปุ่นให้ติดตามสถานการณ์ต่อกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 ริกเตอร์ ที่กรุงโตเกียวและพื้นที่โดยรอบ

ครม.อนุมัติงบกลางกรณีฉุกเฉิน 433 ล้าน กระตุ้นท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน 9 โครงการ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน (Quick Win) และอนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเดินโครงการจำนวน 2 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น จำนวน 433,199,300 บาท ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ