ผลวิจัยชี้ ความชื่นชอบในรสชาติต้นตำรับและธรรมชาติบำบัด ดันให้อาหารไทยได้รับความนิยม

อาหารไทยเป็นอาหารที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยรสชาติแบบดั้งเดิม เข้มข้น และหลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้น อาหารไทยและสมุนไพรไทยกำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยวิธีทางธรรมชาติ

28 มี.ค. 2567 – พิมพ์วดี (ซาร่า) อากิลา ผู้อำนวยการของมินเทล ไทยแลนด์ รีพอร์ต ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของลำดับความสำคัญของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติที่เข้มข้นเหนือปัจจัยด้านสุนทรียศาสตร์ โดยงานวิจัยของมินเทลแสดงให้เห็นว่าผู้คนกว่า 61% ยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และ 52% ชื่นชอบรสชาติอาหารไทยที่จัดจ้าน นอกจากนี้ ผู้คนยังให้คุณค่ากับรสชาติต้นตำรับอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิงทุกวัย (50%) และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 35 ปี (51%)

“การรวมสมุนไพรเข้าไว้ด้วยกันเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ชื่นชอบรสชาติแบบต้นตำรับของไทย เพราะสมุนไพรและเครื่องเทศที่หลากหลายได้เติมแต่งความล้ำลึกให้กับอาหารแบบดั้งเดิม” พิมพ์วดี กล่าว

ในส่วนของเครื่องปรุงรส น้ำหมักปลา (ปลาร้า) ได้รับความนิยมในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีผู้บริโภค 33% ระบุว่า “พวกเขาชอบปลาร้ามาก” ในทำนองเดียวกัน ซอสแกงไตปลาไม่เพียงได้รับความนิยมในหมู่คนใต้เท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมในกรุงเทพฯ ด้วยโดยมีผู้บริโภค 25% และ 27% ตามลำดับที่ชื่นชอบซอสชนิดนี้อย่างมาก ในขณะเดียวกัน แบรนด์ต่างๆ ยังมีโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสกุ้ง (หรือที่รู้จักในชื่อ “กะปิ”) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก (70%) ในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

“แบรนด์อาหารต่างๆ กำลังเผชิญกับความท้าทายในการส่งมอบรสชาติต้นตำรับ และนำเสนอนวัตกรรมใหม่สำหรับอาหารสำเร็จรูป การใส่เครื่องปรุงรสไทยที่ได้รับความนิยมอย่างน้ำปลาร้าเข้ามา อาจช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ พร้อมกับเปิดรับรสชาติของภูมิภาคเพื่อนำเสนอลู่ทางในการสร้างความแตกต่าง” พิมพ์วดี กล่าวเพิ่ม

ขณะเดียวกันผู้บริโภคชาวไทยมีความสนใจอย่างมากในการสำรวจรสสัมผัสใหม่ๆ โดยมีผู้คนกว่า 70% ที่ชอบมองหา “อาหาร/รสชาติใหม่ๆ ตลอดเวลาหรือเกือบทุกครั้ง” รสชาติเผ็ดได้รับความชื่นชอบเป็นพิเศษโดยมีผู้คนเจน ซี กว่า 91% ที่เห็นด้วยว่า “การทานอาหารเผ็ดทำให้พวกเขามีความสุข”

สำหรับอาหารไทยประจำภูมิภาคได้กลายเป็นศูนย์กลางให้แบรนด์ต่างๆ ค้นหาแรงบันดาลใจให้กับรสชาติใหม่ๆ ของอาหารสำเร็จรูป ทั้งนี้อาหารไทยสตรีทฟู้ด ซึ่งเป็นอาหารสำหรับผู้ที่มองหาอาหารรสชาติอร่อยที่ทานได้รวดเร็ว ก็ได้ถูกดึงมาอยู่ในรูปแบบอาหารแพคเกจอีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความคาดหวังมากขึ้นที่สูตรอาหารจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ โดยงานวิจัยของมิเทลชี้ให้เห็นว่าชาวไทยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวเลือกบางอย่าง แต่กลับแสวงหาวัตถุดิบเสริมเพื่อทำให้อาหารของพวกเขาดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น

“อาหารไทยมักจะใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ เช่น สมุนไพรและเครื่องเทศ ซึ่งส่งผลให้อาหารอุดมไปด้วยสารอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การใช้ส่วนผสมของผัก โปรตีนที่มีไขมันต่ำ และสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมอย่าง ตะไคร้ ขิง และโหระพา ได้กลับกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งให้ความสำคัญกับมื้ออาหารที่มีความสมดุล และมีคุณค่าทางโภชนาการ” พิมพ์วดี กล่าว

กระทรวงวัฒนธรรม (Thai Ministry of Culture) ได้เปิดตัวโครงการ “ไทยเทสเทอราปี” (Thai Taste Therapy) เพื่อส่งเสริมสูตรอาหารไทยต้นตำรับที่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เป็นต้นมา

“แบรนด์ต่างๆ สามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาของไทยกับคุณประโยชน์ด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มากกว่าแค่การเสริมภูมิคุ้มกัน เนื่องจากผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อรับสรรพคุณต่างๆ มากมาย”

อาหารไทยฟิวชั่นมีแนวโน้มในการพัฒนาต่อมาก โดยมีชาวไทยเพียง 42% เท่านั้นที่ชื่นชอบอาหารไทยสูตรต้นตำรับประจำภูมิภาค (authentic Thai) มากกว่าอาหารไทยฟิวชั่นสมัยใหม่ แบรนด์ต่างๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวมีลู่ทางให้ได้ทดลองใช้รสชาติอาหารไทยฟิวชั่นนี้ เนื่องจากชาวไทยกว่า 40% เห็นด้วยว่าขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอดกรอบที่มีรสชาติที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารประจำภูมิภาคของไทยนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ จากข้อมูลของคุณพิมพ์วดี แบรนด์ต่างๆ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากแนวทางการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมเพื่อยกระดับความเป็นต้นตำรับ และดึงดูดผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซอสและเครื่องปรุงรสที่ช่วยให้ประสบการณ์การทำอาหารไทยที่บ้านง่ายขึ้นก็มีแนวโน้มในการเติบโตเช่นกัน โดยมีผู้บริโภคกว่า 57% ที่ให้ความสนใจในโซลูชั่นดังกล่าว

“การเน้นย้ำถึงความเป็นต้นตำรับ คุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติประจำภูมิภาคสามารถให้ความรู้สึกแบบพรีเมียมได้ และการใช้สมุนไพรไทย และเครื่องปรุงรสในท้องถิ่นยังสามารถดึงดูดผู้คนในวงกว้างขึ้นได้อีกด้วย” พิมพ์วดี กล่าวปิดท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร