17 มี.ค. 2567 – นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
ลุ้น ! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572
น่าดีใจที่ กทม. เตรียมจ่ายหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลให้ BTS ประมาณ 2.3 หมื่นล้าน จากหนี้ทั้งหมดถึงวันนี้ประมาณ 5.3 หมื่นล้าน ไม่รวมหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ หาก กทม. สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญา หรือหาก กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ อะไรจะเกิดขึ้น ?
1.ถึงวันนี้ กทม. เป็นหนี้ BTS เท่าไหร่ ?
ถึงวันนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นหนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รวมดอกเบี้ยประมาณ 5.3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M หรือ Electrical and Mechanical) เช่น อาณัติสัญญาณ สื่อสาร ระบบตั๋ว และประตูกั้นชาลา เป็นต้น ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา (O&M หรือ Operation and Maintenance) รวมค่าเช่าขบวนรถไฟฟ้า ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
หนี้ E&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2559 และได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อขยายเส้นทางยาวขึ้น ส่วนหนี้ O&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2560 เมื่อเปิดเดินรถช่วงสถานีสำโรง-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ในวันที่ 3 เมษายน 2560 และหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปิดเดินรถจากสถานีปู่เจ้าสมิงพราย-สถานีเคหะสมุทรปราการ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ตามด้วยการเปิดเดินรถจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และจากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563
2. ความเป็นไปได้ในการจ่ายหนี้โดย กทม.
เวลานี้ กทม. มีความพร้อมที่จะจ่ายหนี้ก้อนแรกค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถที่ถึงเวลานี้มีประมาณ 3 หมื่นล้านบาท กทม. ยังไม่จ่าย เนื่อง
จากยังมีคดีค้างอยู่ที่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังมีหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ ถ้า กทม. ไม่สามารถจ่ายได้ รัฐบาลจะช่วย กทม. หรือไม่ ?
โอกาสที่จะเกิดขึ้นในการชำระหนี้มีดังนี้
(1) กทม. จะสามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมดโดย กทม. เอง หรือโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาล กทม. ก็ไม่จำเป็นจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS แต่ กทม. จะต้องจ้าง BTS ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวมทั้งซ่อมบำรุงรักษาไปจนถึงปี 2585 ตามสัญญาจ้างระหว่าง กทม. กับ BTS ที่ทำกันมาหลายปีแล้ว การว่าจ้างส่วนต่อขยายบางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2555-2585 บางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2559-2585 และที่สำคัญ ได้ว่าจ้างให้เดินรถส่วนหลักด้วยหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 จนถึงปี 2585
กรณี กทม. จ้าง BTS ให้เดินรถและซ่อมบำรุงรักษา กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง เป็นอิสระจาก BTS ค่าโดยสารอาจจะถูกลงก็ได้ ทั้งนี้ กทม. ควรเก็บค่าโดยสารให้มีรายได้พอที่จะเลี้ยงตัวเอง นั่นคือพอเพียงกับค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้งานมานานหลายปี
(2) กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
ในกรณีที่ กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในปี 2572 กทม. จะต้องเจราจากับ BTS ให้รับหนี้ที่เหลือแทน ซึ่ง กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS ออกไปตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับมูลค่าหนี้ อัตราค่าโดยสาร รวมทั้งผลตอบแทนที่ กทม. จะได้รับจาก BTS
3. สรุป
การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งยืดเยื้อมานานหลายปี ถึงเวลานี้พอจะมีความหวัง ไม่ว่า กทม. จะสามารถชำระหนี้ได้หมดก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 หรือไม่ BTS ก็จะยังคงมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไป
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมด BTS ก็จะเป็นผู้รับจ้างเดินรถไปจนถึงปี 2585 กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง รายได้ทั้งหมดจะเป็นของ โดย กทม. จะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
หาก กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมด กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS โดย BTS จะต้องรับภาระหนี้แทน กทม. และจะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
อีกไม่นานก็คงรู้ว่า BTS จะมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวในฐานะผู้รับจ้างเดินรถ หรือผู้รับสัมปทานแบบเดิมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร