1มี.ค.2567- นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
เห็นข่าวที่ผู้บริหาร กทม.จะโอนภารกิจลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ 3 เส้นทางประกอบด้วย สายสีเทา ระยะที่ 1 (วัชรพล - ทองหล่อ) สายสีเงิน (บางนา - สุวรรณภูมิ) และสายสีฟ้า (ดินแดง - สาทร) คืนกลับให้กระทรวงคมนาคมแล้วบอกตรงๆ ว่าเสียดายครับ
ทั้ง 3 เส้นทางเป็นโครงการที่อยู่ในภารกิจของ กทม. และได้ทำการศึกษามานานแต่ยังไม่ได้ลงมือทำเพราะใช้งบประมาณเยอะพอสมควร ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทางผู้บริหาร กทม. ได้ให้ข่าวกับทางสื่อสารมวลชน ประกอบกับให้เหตุผลว่าการโอนภารกิจกลับคืนกระทรวงคมนาคมจะได้ประสานคิดค่าตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีอื่นภายใต้กระทรวงคมนาคมง่ายกว่าไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ประโยชน์จะได้เกิดกับประชาชนสูงสุด
อันนี้ผมว่ามีทั้งส่วนถูกและไม่ถูกครับ
1. เรื่องการลงทุนมีส่วนถูกคือถ้าให้ กทม. ลงทุนเพียงฝ่ายเดียวก็คงเกิดยากและกระทบกับงบประมาณในส่วนอื่นที่ต้องดูแลพี่น้องชาวกรุงเทพฯ แต่โครงการใหญ่แบบนี้โดยเฉพาะทั้ง 3 เส้นทางที่มีผู้อยู่อาศัยและศักยภาพในการใช้บริการจำนวนมากย่อมดึงดูดเอกชนให้มาร่วมทุนได้อย่างแน่นอน รวมถึงยังสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์โดนรอบสถานีในรูปของการเช่า การโฆษณาหรือการเชื่อมต่อสถานีกับอาคารต่างๆ กลับคืนมาได้ไม่มากก็น้อย
2. หรือถ้าหาเอกชนร่วมทุนไม่ได้จริงๆ (ซึ่งกรณีนี้ผมว่ามีโอกาสแต่ยากมากเพราะทั้ง 3 เส้นทางมีศักยภาพในการดึงดูดเอกชนมาลงทุน) ด้วยสายสัมพันธ์ของท่านผู้ว่าฯ กับรัฐบาลน่าจะแบ่งงบประมาณ มาลงทุนในโครงการเหล่านี้ได้ไม่มากก็น้อย
3. เรื่องค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนอันนี้ถูกครับว่าไม่ควรเก็บ แต่การโอนทั้ง 3 เส้นทางไปให้กระทรวงคมนาคม สมมติว่าก่อสร้างเสร็จทั้ง 3 เส้นทาง ส่วนใหญ่ก็ต้องมาเชื่อมกับสายสีเขียว (ของ กทม.) ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของกรุงเทพฯ อยู่ดี ความซ้ำซ้อนก็ยังคงมีอยู่ ทางที่ถูกควรจะนั่งเจรจากันระหว่าง กทม. กับรัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนและใช้ตั๋วร่วมใบเดียวให้เกิดให้ได้ซักที เหมือน Octapus card ของฮ่องกง ที่ใช้ได้เกือบทุกการคมนาคมขนส่งและร้านสะดวกซื้อ
4. ถึงที่สุดถ้าเลือกโอนไปให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงคมนาคมรับขึ้นมาก็ใช่ว่าโครงการจะเกิดได้เร็ว เนื่องจากในส่วนของทางกระทรวงคมนาคมก็มีโครงการอีกมากมายของตัวเองที่ต้องผลักดันทั่วประเทศ รวมถึงรถไฟรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ อีกหลายเส้นทางที่อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมก็ยังไม่เกิด ยิ่งโครงการเรือธงของกระทรวงอยากจะทำเรื่อง land bridge ซึ่งใช้งบประมาณเป็นล้านๆ บาท ความเร่งด่วนของรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายในกรุงเทพฯ น่าจะไม่อยู่ในสายตาของทางกระทรวงแน่นอนครับ
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็อยากจะหวังเห็นทีมผู้บริหาร กทม. ชุดนี้ใช้ความพยายามสูงสุดทุกทางในการที่จะให้โครงการเกิดเสียก่อน ถ้าเดินแล้วมันไม่ได้หรือติดจริงๆ จะยกโอนให้กระทรวงคมนาคมผมว่าคนกรุงเทพฯ ก็คงไม่ติดใจครับ
เอาไว้วันหลังมีโอกาสจะมาแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่อยากให้เกิดในกรุงเทพฯ ของเราเพื่อให้เมืองของเราอยู่สบายและมีความสุขเหมือนเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกครับ
ป.ล. อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้เกิดมากและเยอะๆ คือขนส่งสาธารณะสายรองหรือ feeder ที่จะพาคนเข้าขนส่งขนาดใหญ่ได้สะดวกขึ้นเพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีบ้านหรือคอนโดอยู่ในระยะเดินถึงสถานีรถไฟฟ้าได้ครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สกลธี' เสียดายเงิน 3 ล้านบาทค่าจ้างออกแบบป้าย Bangkok
นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
'ธนกร' ฝาก ก.คมนาคม-CAAT คุมราคาตั๋วเครื่องบิน
“ธนกร” ฝาก ก.คมนาคม-CAAT ตรวจสอบสายการบิน หลังมีผู้โดยสารโอด ราคาตั๋วเครื่องบินช่วงเทศกาล แพงหูฉี่ วอน คุมราคาเหมาะสม เห็นใจประชาชน อย่าเอาเปรียบนทท. จี้ แก้ปัญหาทั้งระบบแบบครบวงจร
'สกลธี-นฤมล' ชูระบบเชื่อมต่อ 'ล้อ-ราง-เรือ' ย่านบางกะปิ
'สกลธี-นฤมล' หาเสียงตลาดเช้าลาดพร้าว 87 เล็งทำระบบเชื่อมต่อ ล้อ ราง เรือ แก้รถติด-มลพิษ ย่านบางกะปิ
“สกลธี” ย้ำจุดยืน พปชร. ไม่ร่วมงาน “พรรคชังชาติ – นโยบายทำลายเศรษฐกิจ”
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหาร และหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่ตลาดเช้าศิริเกษม หมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค กทม.
'สกลธี' ลงพื้นที่คลองบางหลวงช่วยผู้สมัครฝั่งธนบุรี ชู 'Soft Power' พัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำ
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566 นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงพื้นที่คลองบางหลวงและย่านตลาดพลู พร้อมกับ น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 32 เขตบางกอกน้อย
“สกลธี” ชู “กองทุนประชารัฐ 3 แสนล้าน” ดูแลย่านเศรษฐกิจใหม่ทั่ว กทม.
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหาร และหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่ย่านสะพานหัน พร้อมกับ ดร.สฤษดิ์ ไพรทอง