‘การรถไฟฯ’ ตั้งเป้า 1 เดือนสางปัญหาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เร่งเจรจา ‘ซีพี’ ก่อสร้าง 9 พันล้านบาท พื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง แลกเงื่อนไขใหม่ปรับโครงสร้างทางการเงิน ย้ำเอกชนยังไม่ส่งสัญญาณล้มโครงการ
28 ก.พ. 2567 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ขยายเวลาการส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริม ครั้งที่ 3 สำหรับไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ทางเอกชนจึงได้หารือร่วมกับ รฟท.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อเตรียมเดินหน้าโครงการ
“การจะออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้นั้น ทางเอกชนต้องไปออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ซึ่งตอนนี้ทางเอกชนต้องการเจรจาให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดไทย – จีน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองด้วย ซึ่งหากประเด็นนี้ได้ข้อสรุปก็จะเดินหน้าโครงการได้ โดยการรถไฟฯ คาดว่าจะเจรจาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนี้”นายนิรุฒ กล่าว
สำหรับประเด็นการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว รฟท.ยืนยันว่าหากให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างจะเป็นทางออกที่ดีกว่า เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ และประชาชน เพราะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที ไม่ต้องผ่านขั้นตอนประมูล แต่หาก รฟท.เป็นผู้ลงทุนเองจากเดิมที่เคยประมาณการณ์ไว้นั้น ต้องใช้วงเงินก่อสร้างราว 9 พันล้านบาท และต้องใช้เวลานานในกระบวนการของบประมาณ รวมทั้งต้องเริ่มกระบวนการประกวดราคาด้วย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มซีพีพร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง โดยจะรับผิดชอบวงเงินลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธาช่วงดังกล่าวราว 9 พันล้านบาท แต่มีเงื่อนไขประมาณ 3 – 4 ประเด็น เกี่ยวกับเรื่องการปรับโครงสร้างทางการเงิน รวมไปถึงสัญญาบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องเจรจาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ แต่ยืนยันว่าจากการเจรจายังไม่เห็นสัญญาณจากกลุ่มซีพีว่าจะล้มเลิกไม่ทำโครงการ
นายนิรุฒ กล่าวว่า กรณีการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ที่จะต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (TOD) มักกะสัน ซึ่งสถานะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาในการดำเนินการ เพราะหากท้ายที่สุดไม่สามารถดำเนินการได้ รฟท.จะเจรจาขอลดขนาดพื้นที่เช่าลง แต่หากเอกชนไม่ยอมลดขนาดพื้นที่ ก็จะมีการพิจารณาชดเชยที่ดินในแปลงอื่นทดแทน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การรถไฟฯ โชว์เอกสารยืนยันที่ดิน ‘เขากระโดง’ เป็นกรรมสิทธิของตัวเอง
"การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน
'จุลพงศ์' อัด 'กรมที่ดิน-รฟท.' ยื้อปม 'เขากระโดง' ให้วนเวียนเอื้อประโยชน์นักการเมือง
'จุลพงศ์' ยันคำพิพากษา 'เขากระโดง' เป็นกรรมสิทธิ์รฟท.สามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ อัด'กรมที่ดิน' ใหญ่กว่าศาลเลือกปฏิบัติเพิกถอนสิทธิ์บางแปลงแต่บางแปลงตั้งกก.สอบสวน เอื้อนักการเมือง ข้องใจ 'รฟท.' ไม่เลือกวิธีฟ้องกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ทำให้วนเวียนล่าช้า
เขากระโดงลาม! กมธ.ทหารข้องใจ มทบ.26 ก่อสร้างผิดจุดที่ขออนุญาต
'กมธ.ทหาร'แฉกองทัพ สร้างค่ายทหารผิดจุดจากที่ขออนุญาต เลี่ยงพื้นที่เขากระโดงที่ครอบครองโดย 'ตระกูลใหญ่บุรีรัมย์' เรียก รฟท., ผบ.มทบ.26, มท. แจง 28 พ.ย.นี้ 'วิโรจน์' เหน็บมีอิทธิพลขนาดค่ายทหารยังย้ายหนี