'อดีตรมว.คลัง' วิเคราะห์ 'ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา' แนะทางเลือกเหมือน ไทย- มาเลเซีย

'อดีตรมว.คลัง' วิเคราะห์ 'ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา' ชี้ไม่มีการระบุว่าเป็นการกำหนดแนวเขตทางทะเล ถ้าไทยฟ้องศาลโลกก็ไม่แน่ว่าจะชนะ แนะทางเลือกเจรจายุติปัญหาข้อพิพาท เช่น กรณี ไทย - มาเลเซีย

28 ก.พ.2567- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเรื่อง ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชา มีเนื้อหาดังนี้

นายกเศรษฐา กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาสำรวจปิโตรเลียมในทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า
ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เรื่องพื้นที่ทับซ้อน กับขุมทรัพย์ที่อยู่ใต้ทะเล
โดยจะพยายามแยกแยะระหว่าง ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน และการแบ่งผลประโยชน์ แต่เรื่องนี้ต้องโปร่งใส และตรวจสอบได้
คุณรสนา โตสิตระกูล กับคุณคำนูณ สิทธิสมาน ได้โพสต์ Facebook ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่ในทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา
ผมขอนำบางแง่มุมมาเล่าซ้ำในที่นี้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแบบง่ายมากขึ้น

ถามว่า ปัญหาเกิดจากเหตุใด?
ตอบว่า รูป 1 ไทยประกาศเส้นเขตแดนผลประโยชน์ตามหลักสากล ตามเส้นสีเหลือง ในขณะที่กัมพูชาประกาศตามเส้นสีแดง
รูป 2 พื้นที่ที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน กว้างขวางถึง 26,000 ตร.กม. และมีผู้คาดว่า มีทรัพยากรปิโตรเลียมมากถึง 20 ล้านล้านบาท
รูป 3-4 ตามข้อมูลของคุณคำนูณ ผลจาก MOU 2544 ที่ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ในสมัยของคุณทักษิณ เกิดเป็นกรอบแนวทางการเจรจาตามภาพกราฟฟิคที่นำมาแสดง
โดยการเจรจาแบ่งเขตแดน ถูกจำกัดตามกรอบ MOU 2544 ให้ทำเฉพาะส่วนเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ
เท่านั้น
รูป 5 คุณคำนูณแสดงความคืบหน้าเจรจา
ส่วนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ จะแบ่งผลประโยชน์ แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนตะวันตกสุดกับตะวันออกสุด ให้แต่ละประเทศ 90%
ตรงกลางแบ่งกัน 50:50
ส่วนเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ที่กรอบ MOU 2544 ให้เจรจาแบ่งเขตแดน นั้น ยังไม่มีการระบุวิธีการแบ่งผลประโยชน์

ถามว่า ถ้าสมมุติกัมพูชาประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลตามปกติ จะมีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับไทยหรือไม่?
ตอบว่า บทความในไทยปับบลิกา ระบุว่า
อ่าวไทยมีความกว้างไม่มาก โดยกว้างสุดเพียง 206 ไมล์ทะเล ในขณะที่อนุสัญญาสหประชาชาติ อนุญาตให้แต่ละประเทศ อ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะไปได้ถึง 200 ไมล์ทะเล
ดังนั้น เมื่อกัมพูชาและมาเลเซียประกาศเขต 200 ไมล์ทะเล ก็มักจะเกิดพื้นที่ทับซ้อนกับไทยอยู่แล้ว
แต่ไทยมีปัญหากับกัมพูชาเป็นพิเศษ จากการที่กัมพูชาใช้เส้นสีแดงที่ลากผ่านเกาะกูด
ถามว่า กัมพูชาอ้างเอกสารใด ในการใช้เส้นสีแดงที่ลากผ่านเกาะกูด?
ตอบว่า กัมพูชาอ้าง สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1907 ซึ่งบทความระบุว่า
“เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล”
บทความระบุ ไทยพิจารณาว่าเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ นั้น ให้ใช้เกาะกูดเป็นจุดเล็งเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ไม่ใช่สนธิสัญญาที่กำหนดเขตแดนทางทะเล

ถามว่า ถ้าไทยฟ้องศาลโลก จะชนะกัมพูชาหรือไม่?
ตอบว่า บทความวิเคราะห์ว่า
อุทาหรณ์และประสบการณ์จากคดีปราสาทพระวิหารนั้น บอกให้รู้ว่า ต่อให้มั่นใจในพยานหลักฐานและหลักกฎหมายเพียงใด ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นฝ่ายชนะคดี
และฝ่ายที่แพ้คดีมักจะไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลโลก
(ผมคาดว่า ถ้ากัมพูชาขอให้ฝรั่งเศสเป็นพยาน ฝรั่งเศสก็อาจจะให้น้ำหนักไปทางกัมพูชา)
ทางเลือกที่ไทยและกัมพูชาเลือกใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ เจรจากันไป ซึ่งอาจจะใช้เวลานานชั่วลูกชั่วหลาน
ทั้งนี้ ถ้าสามารถยุติปัญหาข้อพิพาทได้โดยสันติ ก็จะเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่าย ขุดค้นทรัพยากรในพื้นที่พิพาทขึ้นมาใช้ เช่น กรณีไทยและมาเลเซีย

ถามว่า ข้อความในสนธิสัญญาฯ มีการระบุชัดเจนหรือไม่ ว่าเป็นแนวเขตทางทะเล?
ตอบว่า ไม่มีการระบุว่าเป็นการกำหนดแนวเขตทางทะเล
ในรูป 6 คำแปลที่ระบุว่า
"ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล"
(ผมไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำแปล)
ก็ไม่ชัดเจนว่า หมายถึงลูกศรสีน้ำเงิน หรือลูกศรสีแดง (ซึ่งชี้ไปที่จุดสิ้นสุดเขตแดนไทยบนบก) หรือลูกศรทิศทางตำแหน่งอื่น

ถามว่า ที่ท่านนายกเศรษฐากล่าวว่า จะแยกแยะระหว่าง ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน และการแบ่งผลประโยชน์ นั้น อาจเป็นทางใด?
ตอบว่า แนวทางหนึ่งก็คือ พัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันสองประเทศ โดยแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนในรูป 5 ในฐานะผู้ร่วมลงทุน
แต่ยังไม่ให้ถือว่า แนวการพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันสองประเทศ เป็นข้อยุติในการกำหนดเขตแดนในทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา
ซึ่งถ้าสังคมไทยยอมรับหลักการนี้ ก็จะนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ร่วมกันได้
แต่ถ้าสังคมไทยไม่ยอมรับ ก็ต้องปล่อยให้ปิโตรเลียมค้างอยู่ในทะเลต่อไป

ถามว่า มีการให้สัมปทานไปแก่บริษัทตะวันตกนานแล้ว ใช่หรือไม่?
ตอบว่า ในรูป 7 จากเพจของคุณรสนา ไทยน่าจะให้สัมปทานไปแก่บริษัท Chevron แล้ว ส่วนกัมพูชาก็มีการให้สัมปทานไปแก่บริษัท Conoco Phillips
ดังนั้น ก่อนที่ท่านนายกเศรษฐาจะเดินหน้าต่อไป ควรจะชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า
ก) ข้อความในสนธิสัญญาฯ น่าจะมีความหมายอย่างไร และเป็นการคุ้มค่าที่ไทยจะฟ้องคดีในศาลโลกหรือไม่?
ข) ไทยและกัมพูชา มีการให้สัมปทานแก่บริษัทตะวันตกไปแล้ว จริงหรือไม่? สามารถยกเลิกได้หรือไม่?
ค) การให้สิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นี้ ควรเปลี่ยนไปใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิต แทนสัมปทาน หรือไม่?
ง) การเลือกบริษัทที่จะให้สิทธิ์ ควรดำเนินการอย่างไร?
จ) ควรมีเงื่อนไขให้บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาร่วมประมูล ต้องจับมือกับ ปตท.สผ. หรือไม่?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น

'ธรรมนัส' แจงปม Saveทับลาน ไม่เกี่ยว ก.เกษตรฯ อย่าโยงพาดพิง สปก.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในอำเภอทับลาน จังหวัดนครราชสีมา ว่า ขั้นตอนขณะนี้ไม่อยู่ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ผ่านมาทุกเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ

เอาแล้ว! ยื่นศาลรธน.เลิก 'MOU44' ยุคทักษิณ หวั่นเสียเกาะกูดให้กัมพูชา

ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และในฐานะนักกฏหมาย ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เลขรับที่ 251

'ธีระชัย' เหน็บโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หนุนสร้างพายุหมุนในจีนและเกาหลี แทนไทย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

'ดร.ธรณ์' เจอด้วยตัวเอง นักท่องเที่ยวเหยียบปะการังที่เกาะกูด แค่ฟอกขาวก็แย่มากแล้ว

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กระบุว่า ทราบดีว่าไม่มีใครอยากเหยียบปะการัง แต่คงต้องฝากช่วยดูแลกันให้มาก

ดิจิทัลวอลเล็ตส่อขัดรธน.! อดีตรมว.คลังแนะกฤษฎีกาตีความ รัฐบาลล้วงงบฯจากปี67ด้วย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์