25 ก.พ. 2567 – สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon) คืนวันมาฆบูชา 24 กุมภาพันธ์ 2567 ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,909 กิโลเมตร ส่งผลให้ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย สามารถชมความสวยงามได้ทั่วประเทศ เมื่อนำภาพถ่ายดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี มาเปรียบเทียบกับขนาดปรากฏดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงใกล้โลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 จะเห็นความแตกต่างของขนาดปรากฏได้อย่างชัดเจน เล็กกว่าประมาณ 14%
สำหรับปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ปีนี้ จะเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา 17 ตุลาคม 2567 เวลา 18:28 น. มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,358 กิโลเมตร ดวงจันทร์จะปรากฏสว่างเด่นเต็มดวง และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี
ประวัติศาสตร์โลก 'สดร.' เผยภาพถ่ายกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ขณะผ่านเหนือน่านฟ้าเมืองไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เผยภาพประวัติศาสตร์หลังจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ทะยานขึ้นสู่อวกาศ
ชวนดูดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปีในวันนี้
19 ธ.ค. 2564 NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า คืน 19 ธันวาคม นี้ มีดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี นะรู้ยัง!