นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2566 เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2566 ขยายตัว 1.7% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.4% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 66 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 อยู่ที่ 0.6% โดยรวมทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจากการขยายตัว 2.5% ในปี 2565 ด้านอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.2% และ ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1.3% ของจีดีพี
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 – 3.2% อัตราเงินเฟ้อ 0.9-1.9% โดยยังไม่นำโครงการดิจิทัลวอเล็ต 10,000 บาท เข้ามาคำนวณ เนื่องจากต้องหารืออีกหลายฝ่าย คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3%การลงทุนขยายตัว 3.5% การท่องเที่ยวคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 35 ล้านคน มีการใช้จ่ายในประเทศ 1.22 ล้านล้านบาท มีการใช้จ่าย 35,0000 บาทต่อคนต่อทริป นับเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจที่สำคัญ รัฐบาลต้องดูแลความปลอดภัยในการท่องเที่ยวในประเทศ การยกเว้นวีซ่าระยะยาวให้กับต่างชาติ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีกำลังซื้อสูง เพื่อเข้ามาใช้จ่ายในประเทศ
“ขณะนี้ มีความเป็นห่วงตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก คาดว่าขยายตัว 3.5% ในปี 2567 เพราะการส่งออกเริ่มกลับมาขยายตัว 2.9%ในปี 2567 เทียบกับการลดลง 1.7% ในปี 2566 จึงต้องหารือกับสภาอุตสหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เนื่องจากการส่งออกเริ่มดี แต่ทำไมเอกชน ไม่สามารถผลิตสินค้าให้เติบโตได้ทันตามออร์เดอร์เข้ามา เนื่องจากการผลิตอุตสหากรรมมีสัดส่วนสูงถึง27-28% ของจีดีพี หากเอกชนไม่ขยับกระทบต่อจีดีพีของประเทศหนักมาก” นายดนุชา กล่าว
นายดนุชา กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ออกมาสะท้อนถึงปัญหาที่อยู่ในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย คือหนี้ที่สูงโดยเฉพาะภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้มาตรการต่างๆ เกือบทั้งหมดแล้ว เช่นมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ดึงดูดการลงทุนใหม่ในประเทศ แต่ปัญหาหนี้ครัวเรือนและธุรกิจยังอยู่ ทำให้น่าจะถึงช่วงเวลาที่มาตรการการเงินเข้ามาช่วยเศรษฐกิจแล้ว โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจังในช่วงถัดไปคือ มาตรการด้านการเงินต้องเข้ามามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าให้ได้ โดยเฉพาะการลดภาระครัวเรือนและเอสเอ็มอี อาทิ อัตราดอกเบี้ยต่างๆ ต้องพิจารณาจริงจัง ไม่ว่าจะอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนต่างดอกเบี้ย ซึ่งเน้นลงไปภาครัวเรือนและเอสเอ็มอี
ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทบทวนการดำเนินนโยบายการเงินอย่างจริงจัง โดยลดดอกเบี้ยจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% ต่อปี ลดช่องว่างสัดส่วนกำไรสุทธิระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากให้แคบลง และกลับมาใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำในการชำระบัตรเครดิต จากปัจจุบัน 8% ให้เหลือ 5% เพื่อลดภาระทางการเงินของภาคครัวเรือนและเอสเอ็มอี ที่ต้องพึ่งสินเชื่อบัตรเครดิตเป็นทุนหมุนเวียน อีกทั้ง ยังเห็นสัญญาณผู้ผิดนัดชำระหนี้ ไหลหลายเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น
นายดนุชา กล่าวว่าสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี2567 ต้องหามาตรการดูแลภาคหนี้ครัวเรือน เพราะหนี้ครัวเรือนต่อจีดพีสูงต่อเนื่องมาหลายปียังไม่ลดลง หวั่นกระทบรายย่อยอย่างมาก สำหรับการดูแลผู้ส่งออก ได้กำลังหารือกับกระทรวงการคลัง สร้างระบบค้ำประกันการส่งออกเป็นรายบุคคล หากมีออเดอร์สั่งซื้อเข้ามา ควรนำเอกสารดังกล่าว ยื่นค้ำประกันการกู้เงินจากแบงก์ เพื่อนำทุนมาผลิตสินค้าได้ โดยไม่ต้องรอการค้ำประกันจาก บสย.ในแต่ละชุด เพื่อออกมาดูแลเอสเอ็มอีผู้ส่งออก
นอกจากนี้ ต้องเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมาย เตือนระวังภัยแล้งจากอุณหภูมิสูงในปีนี้ จนกระทบต่อการผลิตสินค้าเกษตร รัฐบาลต้องเตรียมแผนรองรับ หวั่นกระทบต่อเกษตรกรหนักมาก อีกทั้ง ความรุนแรงตะวันออกกลาง ยังกระทบต่อค่าระวางเรือ กระทบต้นทุนการส่งออกของไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศช.ชี้หนี้เสียยังเพิ่ม3% จับตากู้เงินบนโซเชียล!
"สภาพัฒน์" เผยหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.99% เร่งแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้
'สภาพัฒน์' สั่งจับตาหนี้เสีย แนะแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้
‘สภาพัฒน์’เผยหนี้เสียยังเพิ่มขึ้นมาที่ 2.99% เร่งแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ แนะจับตาประเด็นการกู้เงินนอกระบบบนโซเชียลมีเดีย ส่วนอัตราว่างงานไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 1.07% เพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังฟื้นตัวจากโควิด
จับตาเปลี่ยนเกณฑ์แจกดิจิทัล
“สภาพัฒน์” เผยไทยไตรมาส 2/67 ขยายตัว 2.3% คาดทั้งปีโต 2.5% แนะติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก