พาณิชย์ โชว์ ม.ค. ต่างชาติลงทุนในไทย 7,171 ล้าน

เบิกฤกษ์..มกราคม 2567 ต่างชาติลงทุนในไทย 7,171 ล้านบาทญี่ปุ่นลงทุนอันดับหนึ่ง 3,793 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 1,083 ล้านบาท และจีน 768 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 172 คน

16 ก.พ. 2567 – นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า เดือนมกราคม 2567 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 54 ราย เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 14 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 40 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,171 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 172 คน โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรกของเดือนมกราคม 2567 ได้แก่

1.ญี่ปุ่น 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 3,793 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ – ธุรกิจบริการที่เป็นคู่สัญญากับภาคเอกชน โดยเป็นการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับโรงงานผลิตอะเซทีลีนแบล็ก (Acetylene Black Plant) – ธุรกิจบริการกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยเป็นการให้บริการแพลตฟอร์มกลางในการจัดหาแม่บ้าน/พนักงานทำความสะอาด – ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (กระป๋องอลูมิเนียม/ชิ้นส่วนรถยนต์/อุปกรณ์สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม)

2.สิงคโปร์ 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 1,083 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ

ธุรกิจบริการ Data Center

ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย และ/หรือให้บริการ (ซอฟต์แวร์บริหารทรัพยากรบุคคลและเงินเดือน/ซอฟต์แวร์จัดการภายในร้านอาหาร)

3.จีน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 768 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ

ธุรกิจบริการให้เช่านั่งร้านขนาดใหญ่ (Scaffolding) สำหรับค้ำยันรับน้ำหนักที่ใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

ธุรกิจค้าปลีกสินค้า (ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม/ยารักษาโรค/อุปกรณ์กีฬา)

ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชิ้นส่วนเบาะรถยนต์/Specialty Coated Plastic Labels and Packaging Films)

4.สหรัฐอเมริกา 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 26 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ

ธุรกิจบริการออกแบบ ติดตั้ง พัฒนา ปรับปรุง ยกระดับ ดูแล บำรุงรักษา เชื่อมโยง และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น

ธุรกิจการขายอาหารและเครื่องดื่ม และบริการให้คำปรึกษาแนะนำและบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร

ธุรกิจค้าปลีกสินค้า (เคมีภัณฑ์/เครื่องปรุงรส/สารและวัตถุเจือปนอาหาร)

5. ฮ่องกง 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 264 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ

ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำและบริหารจัดการ รวมทั้งฝึกอบรมในด้านการจัดการร้านอาหารและคาเฟ่ภายในร้านจำหน่ายสินค้า

ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ผลิตภัณฑ์กลุ่มภาพและเสียง (Audio Visualproduct)/ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสำนักงาน)

ธุรกิจบริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนตร์ โดยเป็นการบริการประสานงานภาพยนตร์จากต่างประเทศที่มาถ่ายทำในประเทศไทย

ถือได้ว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมข้างต้นมีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริการลูกค้าระดับสูงและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณภาพวัสดุโพลียูรีเทนโฟม องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ทางคลินิก องค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และการออกแบบนั่งร้านที่ใช้สำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบเดือนมกราคมของปี 2566 พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพิ่มขึ้น 2 ราย (4%) (ม.ค.67 อนุญาต 54 ราย / ม.ค.66 อนุญาต 52 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,042 ล้านบาท (40%) (ม.ค.67 ลงทุน 7,171 ล้านบาท / ม.ค.66 ลงทุน 5,129 ล้านบาท) แต่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 649 ราย (79%) (ม.ค.67 จ้างงาน 172 คน / ม.ค.66 จ้างงาน 821 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่น

อธิบดีอรมน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ ในเดือนมกราคม 2567 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 31 ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 113 (ม.ค.67 ลงทุน 17 ราย / ม.ค.66 ลงทุน 8 ราย) โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC 2,296 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32 ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจาก * ญี่ปุ่น 5 ราย ลงทุน 476 ล้านบาท * จีน 5 ราย ลงทุน 462 ล้านบาท * เกาหลี 2 ราย ลงทุน 280 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ อีก 5 ราย ลงทุน 1,078 ล้านบาท โดยธุรกิจที่ลงทุน อาทิ ธุรกิจบริการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานพาหนะไฟฟ้า ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น ให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักร ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม/Capacitor/ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทำความสะอาดทุกประเภท)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” จัดกิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 ส่วนภูมิภาค

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดกิจกรรม แฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 โดยยกขบวน แฟรนไชส์ชั้นนำกว่า 40 แบรนด์ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริการ และค้าปลีก มาให้ผู้สนใจได้เลือกสรรตามความสนใจและความถนัด เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ขยายธุรกิจ และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทย

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินหน้าจัดงานแฟรนไชส์ สร้างอาชีพ Roadshow 2024 ครั้งที่ 2 ณ เซ็นทรัลอุดรธานี พร้อมเยียวยาผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมให้กลับมายิ้มรับวันใหม่ที่สดใสอีกครั้ง

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าจัดกิจกรรมแฟรนไชส์ Roadshow 2024 ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าเซ็นทรัลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2567

'กรมพัฒนาธุรกิจการค้า' จัดกิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 ส่วนภูมิภาค จังหวัดอุดรธานี

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดกิจกรรม แฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 โดยยกขบวน แฟรนไชส์ชั้นนำกว่า 40 แบรนด์ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริการ และค้าปลีก มาให้ผู้สนใจได้เลือกสรรตามความสนใจและความถนัด

'ดร.อานนท์' แนะ 4 ข้อ วิธีดูงบการเงินง่าย ๆ ว่าเป็นแชร์ลูกโซ่หรือขายตรง จะได้ไม่ถูกหลอก

ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์