'เศรษฐา' รับทุบราคาพลังงานโดยไม่สนใจกลไกตลาดจะเป็นการรัฐประหารทางเศรษฐกิจ

นายกฯ ย้ำ​ค่าพลังงานเรื่องสำคัญ​ หากทุบค่าไฟโดยไม่สนการตลาดจะกลายเป็นรัฐประหาร​ทางเศรษฐกิจ​ ขอเวลาเจราจากัมพูชาดึงขุมทรัพย์​ทับซ้อนมาใช้​ให้เร็วที่สุด แต่ต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้

14 ก.พ.2567- ที่โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน Thailand Energy Executive Forum และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” ตอนหนึ่งว่า พลังงานถือเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต​ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นต้นทุน และองค์ประกอบใหญ่อย่างหนึ่งของการทำเกษตร ขณะเดียวกันในอุตสาหกรรมก็มีความสำคัญ หลังจากตนเองได้รับตำแหน่ง 4-5 เดือนที่ผ่านมา ได้เดินทางไปต่างประเทศพบว่าการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีคนรุ่นใหมเข้าใจบริบท เข้าใจนักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในไทย เข้าใจสิทธิทางด้านภาษี และความเป็นอยู่ของคนไทยดีที่สุด ซึ่งไทยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สนามบินที่กำลังจะเปิดใหม่อีกเฟส และท่าเรือน้ำลึก ซึ่งต่างชาติตระหนักและมองว่าเป็นจุดบวกของไทย พร้อมสนใจลงทุนด้านพลังงานสะอาด

นายกฯ กล่าวว่า โดยเฉพาะรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdg index ) ของไทยอยู่อันดับที่ 30 กว่าของโลก อยู่สูงที่สุดของอาเซียน ดังนั้นไทยมีดีกว่าหลายประเทศ หลังจากนี้จะเดินทางไปพูดคุยกับประเทศในแถบยุโรป โดยเดือนมีนาคมจะเดินทางไปเยอรมนี เพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามา ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกถามถึงพลังงานสะอาด โดยเฉพาะสหรัฐและจีน ดังนั้นเชื่อว่าผู้ที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานจะให้ความสำคัญและตระหนักดีในเรื่องที่จะดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศมาได้

นายเศรษฐา​ กล่าวถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ผ่านมา ได้หารือในประเด็นชายแดน การค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน การดูแลแรงงานชาวกัมพูชาที่อยู่ในไทย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจไทย และการเจรจา​อีกเรื่องที่สำคัญ​ คือ OCA หรือพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลขไหนที่คนพูดถึง อาจพูดถึง 20 ล้านล้านบาทก็ได้ แต่เราก็มีปัญหาเรื่องของชายแดน เรื่องเขตแดนอยู่ เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและหลายภาคส่วนให้ความสนใจ ทั้งนี้ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ทับซ้อนกับเรื่องของขุมทรัพย์ที่อยู่ใต้ทะเล เรื่องนี้จะต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องนี้ และจะพยายามนำสินทรัพย์เช่นนี้ออกไปใช้ได้เร็วที่สุดในการเปลี่ยนผ่าน Brown Energy ไปสู่ Green Energy ขอให้สบายใจว่าเราจะเดินหน้ากันต่อไป โดยพยายามแยกแยะระหว่างปัญหาพื้นที่ทับซ้อนและปัญหาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ แต่เรื่องนี้ต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ เนื่องจากจะส่งผลต่อเรื่องราคาพลังงาน

นายกฯ​ กล่าวอีกว่า เรื่องค่าพลังงาน​ มีการสอบถามกันมาว่ามีกลไกอะไรบ้าง สามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น ค่า PPA การขอใช้กริดของโรงงานไฟฟ้า (grid electrical) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันสำหรับการจ่ายไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆไปยังผู้บริโภค กลไกตลาดจะไม่สามารถทำได้ พลังงานที่ผลิตขึ้นมาจะต้องมีผู้จ่ายอยู่ดี ซึ่งอาจจะเป็นเงินของพวกเราทุกคนที่โอนกลับไปจ่ายให้กับผู้ผลิต ทำให้ต้องเก็บเงินกลับคืนอยู่ดี แต่ความเชื่อมั่น และความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้

“การทุบโดยไม่ต้องสนใจกลไกการตลาด จะทำให้เกิดรัฐประหารทางเศรษฐกิจ เราอาจจะได้ค่าไฟถูกอยู่ไม่กี่วัน ก่อนที่จะควักเอาเงินของประชาชนมาจ่าย การลงทุนการส่งออกการจ้างงานอยู่ในใจของคนทั้งโลกไปนานนับปี ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่ว่าเรามีกลไกการสนับสนุนเรื่องภาษีที่ดีแล้ว มีมาตรการต่างๆที่ทำให้คนมาอยู่ในประเทศไทยอย่างมีความสุข แต่เรื่องราคาพลังงานก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ หากมองในระยะยาวเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูง​ มีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่น​คง​ พร้อมที่จะดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเพื่อมาตั้งฐานการผลิต​” นายเศรษฐา กล่าว

นายกฯ กล่าว​อีกว่า มีการตั้งคำถามว่าเหตุใดรถไฟฟ้าความเร็วสูงจึงไม่สร้าง​ เพราะจะสามารถประหยัดเวลาได้หลายชั่วโมง​ แต่ขอให้จินตนาการดูว่าถ้าโครงการทำไปถึงหนองคาย​ นักธุรกิจที่นั่งอยู่คงทราบว่าต้องผ่านกี่โต๊ะในการส่งสินค้าออกไปได้​ กรมศุลกากร​ กระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์​ สาธารณสุข​ และแรงงาน​ ต้องผ่านกี่โต๊ะ​ กี่แสตมป์​ หากลงทุนหลายแสนล้าน​ หรือล้านล้านก็ต้องมาเสียเวลาอยู่ดีในด่านต่าง​ 2-3 ชั่วโมง​ มองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า​

“ฟังดูแล้วมันเท่ห์ มันเก๋ แต่มันทำไม่ได้ มันยังทำไม่สำเร็จ ฉะนั้นถึงเวลาหรือยังที่เราต้องพูดคุยอย่างจริงจัง อะไรทำได้ก็ต้องทำก่อน ผมไม่อยากใช้คำว่าควิกวิน เพราะใช้ไปแล้วก็จะถูกต่อว่าคิดแต่จะควิกวินอย่างเดียวในการเปลี่ยนโครงสร้าง ฉะนั้นหลายท่านที่เป็นนักธุรกิจก็ทราบการจะเปลี่ยนโครงสร้างต้องเปลี่ยนระยะเวลานานเท่าไหร่ในสังคมไทย ดังนั้นเรื่องอะไรที่เราทำได้เราจะทำก่อน อาทิ การขนถ่ายสินค้า ผมมอบให้กรมศุลกากรเป็นเจ้าภาพแล้ว ส่วนเรื่องแลนด์บริดจ์เกี่ยวข้องด้วยในเรื่องการกระจายสินค้า การที่เขามาตั้งโรงงานหลาย 100 ล้านบาท หรือหลายล้านๆบาทนั้น เขาจะต้องมาตั้งเพื่อส่งออกสินค้า ฉะนั้นถ้ามีการส่งออกแค่ท่าเรือน้ำลึกแต่ไม่มีแลนด์บริดจ์ ก็จะทำให้คิวการส่งยาวใช้เวลานาน มีปัญหาเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าโลกเราไม่มีการทำโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่มโหฬารรองรับการขนถ่ายสินค้าทั่วโลก มันจะมีปัญหา ซึ่งผมเชื่อว่าคนในประเทศไทยสนับสนุนเรื่องนี้“นายเศรษฐา กล่าว

นายกฯ กล่าวต่อไปว่า “มีผู้สื่อข่าวถามผมว่าสิ่งที่แปลกใจที่สุดในการเป็นนายกรัฐมนตรีคืออะไร ผมจึงตอบกลับไปว่า The amount of power I have, but most of the time the lack of it. มันมีกลไก การบริหารจัดการแผ่นดินเยอะ ซึ่งเป็นกลไกที่เราต้องการความสมัครสมานสามัคคีต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย และเป็นกลไกที่เราต้องสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการพูดคุยกันเรื่องที่เห็นต่าง เชื่อว่า นักธุรกิจที่มาร่วมงานในวันนี้จะทราบถึงความหวังดีของผมและของรัฐบาลที่จะผลักดันกลไกอุตสาหกรรมไปข้างหน้าควบคู่เรื่องของพลังงาน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แพทองธาร' ขนคณะลงพื้นที่ภูเก็ตตัดริบบิ้นเปิดงานพิธีแสดงเรือนานาชาติ!

'นายกฯ' ลงพื้นที่ภูเก็ตพรุ่งนี้ ขอแก้ไขปัญหาให้ครบทุกวงจร เพิ่มศักยภาพทุกมิติทั้งท่องเที่ยว ยกเป็นต้นแบบทำให้ได้ทุกจังหวัด

เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'

กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ

นายกอิ๊งค์ควง 2 รมต.หญิงลง 'ขอนแก่น-มหาสารคาม' ติดตามแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-ตัดริบบิ้นเปิดงาน

นายกฯ เร่งสปีดนโยบายรัฐบาล ลงขอนแก่น-มหาสารคาม 20 ธ.ค. แก้ไขน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พร้อมตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ของไทย