กทพ. เร่งด่วน 'พระราม 3-ดาวคะนอง' คืบ 75% เปิดใช้กลางปี 68

กทพ. อัปเดตสร้างทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง คืบหน้า 75% คาดเสร็จพร้อมเปิดให้บริการตลอดเส้นช่วงกลางปี 68 ลุยสำรวจความแข็งแรงสะพานพระราม 9 ก่อนประเมินซ่อมบำรุง หลังเปิดใช้งานกว่า 35 ปี คาดใช้งบประมาณ 1 พันล้าน จ่อเปิดประมูลด่วนจตุโชติ – ลำลูกกา 1.8 หมื่นล้านบาท เม.ย.นี้

13 ก.พ. 2567 – นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 30,437 ล้านบาทว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าว ภาพรวมมีความคืบหน้า 75% คาดว่า จะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่ สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 นั้น คาดว่า จะเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการฟรีภายใน ก.ค. 2567 ขณะเดียวกัน ในระหว่างนี้ กทพ. จะดำเนินการสำรวจ และประเมินความแข็งแรงของสะพานพระราม 9 ที่เปิดใช้งานมาแล้วกว่า 35 ปี เพื่อพิจารณาซ่อมบำรุงตามมาตรฐานความปลอดภัยต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น จะใช้งบประมาณในการซ่อมบำรุงประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในปี 2567 ว่า กทพ. จะดำเนินการซ่อมบำรุงมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งจะดำเนินการเมื่อใด

ทั้งนี้ หากเปิดให้บริการ คาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับปริมาณรถยนต์ได้มากถึง 150,000 คัน/ วัน โดยจะช่วยลดความแออัดทางจราจรบริเวณทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ช่วงบริเวณทางแยกต่างระดับบางโคล่ บนสะพานพระราม 9 ถึงด่านสุขสวัสดิ์ บริเวณถนนพระราม 2 ลดลงประมาณ 25% หรือจาก 100,470 คัน/ วัน ลดลงเหลือ 75,352 คัน/ วัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว (M82) ของกรมทางหลวง (ทล.) อีกด้วย

นายสุรเชษฐ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ – ถนนลำลูกกา ระยะทาง 16.2 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ กทพ.อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ เพื่อประกาศขายซองเอกสาร TOR ภายในเดือน เม.ย.2567 หลังจากนั้นจะลงนามสัญญากับเอกชน และเริ่มก่อสร้างได้ปลายปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน หรือ 3 ปีแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการประมาณปี 2570

สำหรับโครงการทางด่วนสายนี้ กทพ.จะใช้เงินลงทุนราว 1.9 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ส่วนของงานโยธา 1.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) 14,374 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกราว 4 พันล้านบาท จะจัดสรรจากเงินกู้ซึ่งได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังในการจัดหาแล้ว เบื้องต้นพบว่าไม่มีปัญหาติดขัด เนื่องจาก กทพ.มีผลการดำเนินงานเป็นบวกต่อเนื่อง ขณะที่ส่วนของงานติดตั้งระบบทางด่วน คาดว่าจะใช้วงเงินราว 1 พันล้านบาท

“การทางฯ เราประเมินว่าจะประมูลงานโยธาภายใต้สัญญาเดียว เพราะต้องการให้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากมีประสบการณ์จากหลายๆ โครงการที่แยกสัญญาและพบว่างานบางสัญญาล่าช้า กระทบต่อสัญญาอื่นที่สร้างเสร็จแต่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ส่วนงานระบบก็จะแยกประมูลเป็นอีกหนึ่งสัญญา”นายสุรเชษฐ์ กล่าว

นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า การรวมประมูลงานโยธาภายใต้สัญญาเดียวนั้น กทพ.จำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้รับเหมาที่จะมาร่วมประมูลงานให้เข้มข้นมากขึ้น โดยต้องการจัดหาผู้รับเหมาระดับชั้นพิเศษ ที่มีประสบการณ์ทำงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อให้โครงการนี้สามารถเดินหน้าได้อย่างมั่นใจ โดยเชื่อว่าโครงการจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากเอกชน เพราะถือเป็นโครงการลงทุนภาครัฐที่ออกประกวดราคาเป็นโครงการแรกของปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.สามารถ' หนุนรัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน แต่ค้านขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช

'ดร.สามารถ' หนุนรัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน เพื่อลดค่าโดยสารทุกสายทุกสีเหลือ 20 บาทตลอดสาย ต้องการทำให้ค่าผ่านทางด่วนถูกลงด้วย ก็เป็นเรื่องดีเช่นเดียวกัน แต่กลับจะขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ให้เอกชน ซึ่งจะไม่สามารถทำให้ค่าผ่านทางด่วนทั้งโครงข่ายถูกลงได้ ในทางกลับกัน การทำให้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงโดยเร็ว จะทำให้ค่าผ่านทางถูกลง

กทพ.ผุดทางด่วนริเวียร่า 'สมุทรสาคร-สมุทรปราการ' มูลค่าแสนล้าน

“กทพ.” กางแผนลุ้นปี 69-70 ศึกษาสร้าง “ทางด่วนริเวียร่าสมุทรสาคร-สมุทรปราการ” วงเงิน 1.09 แสนล้านบาท ยาว 71 กม. เล็งตอกเสาเข็มแบ่งเป็นเฟส รับแผนแม่บท MR-MAP เชื่อมมอเตอร์เวย์ หนุนระบบราง

ครม.ต่ออายุ 'สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข' นั่งผู้ว่าการการทางพิเศษฯ อีกวาระ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้ง นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข เป็นผู้ว่าการการทาง