รถไฟทางคู่ 'เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ' เร่งเวนคืนครบ 100% มี.ค.นี้

รฟท.อัพเดทสร้างทางคู่สายใหม่สาย“เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”มูลค่า 8.5 หมื่นล้าน คืบหน้า 4% เวนคืนที่ดินแล้ว85% ปักธง มี.ค.ครบ100% พร้อมเปิดใช้ปี 71

7 ก.พ. 2567 – แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เส้นทางสายใหม่ ระยะทาง 323.10 กิโลเมต(กม.)วงเงิน 85,345 ล้านบาทว่าโครงการดังกล่าวยังเดินหน้าตามแผนงาน ปัจจุบันพบว่ายังมีปัญหาและอุปสรรคบ้างในส่วนของการส่งมอบพื้นที่บางส่วนและผลกระทบจากสภาพอากาศ ค่าPM2.5 และการเผาป่า โดยภาพรวมงานก่อสร้าง คืบหน้า 4.832% แผนสะสม 4.055% เร็วกว่าแผน 0.777% คาดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2571 ปัจจุบัน ณ เดือน ม.ค.นี้ อยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนแล้ว 85% มี.ค.นี้ครบ 100% เดินหน้าเร่งส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

ทั้งนี้โคงการดังกล่าวแบ่งการก่อสร้างงานโยธาเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญา 1.ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. คืบหน้า 3.990% แผนงานสะสม 1.990% เร็วกว่าแผน 0.200% สัญญา 2 .ช่วงงาว-เชียงรายระยะทาง 132 กม. คืบหน้า 5.887% แผนงานสะสม 5.279% เร็วกว่าแผน0.608% สัญญา 3 .ช่วงเชียงราย-เชียงของระยะทาง 87 กม.คืบหน้า 4.524% แผนงานสะสม 5.187%ช้ากว่าแผน -0.663%

สำหรับรถไฟทางคู่สายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม.นั้น เส้นทางผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 3 จังหวัด (ยกเว้น จ.ลำปาง) 17 อำเภอ 59 ตำบล มีสถานีและที่หยุดรถไฟรวม 26 แห่ง มีย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) จำนวน 4 แห่ง ที่สถานีแพร่ สถานีพะเยา สถานีป่าแดด และสถานีเชียงราย และมีลานกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์เชื่อมต่อกับศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อีก 1 แห่ง

อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน และเปิดประตูสู่การค้าชายแดนภาคเหนือ เพิ่มช่องทางในการส่งออกสินค้าจากไทยและสร้างโอกาสที่ดีต่อการค้าการลงทุนของประเทศ ขณะเดียวกัน ยังเป็นเส้นทางรถไฟที่มีทัศนียภาพสวยงามของธรรมชาติตลอดทาง โดยรถไฟจะแล่นผ่านเทือกเขา สะพาน สลับกับลอดอุโมงค์ สามารถสร้างความประทับใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ ส่งเสริมการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเดิม และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ด้วย จะเป็นการสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่เส้นทางตัดผ่าน ช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รฟท.ขยายเวลาลดค่าบริการจอดรถสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ถึง 15 ก.พ.68

‘การรถไฟฯ’เดินหน้าช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ปรับลดค่าบริการจอดรถชั้นใต้ดินสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถึง 15 ก.พ.68 ให้จอดฟรี 30 นาที ชั่วโมงที่ 1-2 เริ่ม 15 บาท