กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยแนวโน้มธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ปี 67 มี 7 เทรนด์ที่น่าจับตา ทั้งการบริโภคแบบระมัดระวังการใช้จ่าย การทดลองสินค้าใหม่และแชร์ออนไลน์ อาหารในอดีตกลับมานิยม การสนับสนุนการบริโภคสินค้าท้องถิ่น อาหารและเครื่องดื่มเฉพาะคนการบริโภคอาหารแคลอรีต่ำ และการให้บริการไร้พนักงานแนะผู้ประกอบการไทยศึกษาและนำมาปรับใช้ในการทำตลาด
6 ก.พ. 2567 – นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับรายงานจากนางสาวชนัญญา พรรณรักษา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ถึง 7 เทรนด์ในธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567 และโอกาสในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการไทย
โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานว่า 7 เทรนด์อาหาร ที่น่าจับตามอง ได้แก่
1.เทรนด์ระมัดระวังในการใช้จ่าย ที่เป็นผลจากการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ทำให้ผู้บริโภคซื้อชุดอาหารจากร้านสะดวกซื้อหรือทำข้าวกล่องมารับประทาน ส่วนการสั่งอาหาร ก็ไปรับเอง แทนการส่ง นิยมสินค้า Private band (PB) มากขึ้น แม้ลักษณะภายนอกไม่สวยงามเท่ากับสินค้าคุณภาพจากฟาร์ม แต่ด้วยรสชาติที่ใกล้เคียงและราคาถูกกว่า จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น
2.เทรนด์รสชาติใหม่ที่น่าสนใจและการสร้างประสบการณ์และเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์ เมื่อบริโภคแล้ว มักจะมีการแบ่งปันประสบการณ์ ชี้พิกัดร้านค้า โดยเทรนด์ที่กำลังนิยม เช่น ผลไม้เคลือบน้ำตาล (Tanghulu) และคุกกี้เกาหลียักกวา (Yakgwa) รวมถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีรสชาติเผ็ดมากยิ่งขึ้น และยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว ชุดอาหารพร้อมปรุง และร้านอาหารแฮมเบอร์เกอร์ชนิดแฟรนไชส์ในรสชาติเผ็ด
3.เทรนด์อาหารทานเล่นในอดีตนำถูกมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ (Retro for MZ Generation) ซึ่งนอกจากเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่แล้ว ยังต้องการดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ที่เคยมีโอกาสรับประทานด้วย
4.เทรนด์ Loconomy การสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะจากแต่ละภูมิภาค เช่น สินค้าเกษตร และยังให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม และ ESG มากขึ้น ซึ่งล่าสุด ได้มีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำอาหารทานเล่น “ต็อก” หรือขนมเค้กข้าว โดยใช้ข้าวจากเมืองอิกซาน หรือ McDonald’s Korea ที่เปิดตัวเบอร์เกอร์และเครื่องดื่มโดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ได้แก่ น้ำส้มจากส้มฮัลลาบงของเกาะเจจู และเบอร์เกอร์ไก่กระเทียม ซึ่งนำกระเทียมมาจากเมืองชางนยอง (Changnyeong) เป็นต้น
5.เทรนด์สูตรอาหารและเครื่องดื่มเฉพาะบุคคล (Customizing Recipe) มีการใช้แนวทางดังกล่าวในหลายเมนูอาหารที่นิยม เช่น แซนด์วิช ชาบูหม่าล่า และคิมบับ ที่ผู้บริโภคเลือกวัตถุดิบตามความชอบส่วนตัวได้ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมผสมตามความชอบส่วนตัว ได้แก่ วิสกี้ไฮบอล และโทนิควอเตอร์
6.เทรนด์ Healthy Pleasure เป็นการเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลลอรีต่ำ แต่ยังคงความอร่อยเหมือนเดิม เช่น เครื่องดื่มไร้น้ำตาล อาหารที่เน้นโปรตีน
7.เทรนด์การบริการแบบไร้พนักงาน ร้านอาหารและร้านค้าต่าง ๆ ได้นำระบบการบริการแบบไร้พนักงาน โดยใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องให้บริการอัตโนมัติแทนมากขึ้น เนื่องจากเงินเดือนขั้นต่ำของแรงงงานได้เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน
“จากเทรนด์การบริโภคทั้ง 7 เทรนด์ข้างต้น ถือเป็นแนวโน้มการบริโภคในปี 2567 ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะบุกเจาะตลาดเกาหลีใต้ ต้องติดตามแนวโน้มของสังคม ลักษณะประชากร และความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อจะได้สามารถรองรับและผลิตสินค้าที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขยายความหลากหลายของสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่จนถึงกลุ่มผู้บริโภค Gen MZ หรือกลุ่ม Gen Millenials หรือ Gen Y จะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกได้มากขึ้น”นายภูสิตกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พณ. ชวนนักท่องเที่ยว ชม ชิม ช็อปสินค้าช่วงเทศกาลปีใหม่
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนายคุณากร ปรีชาชนะชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกรมการค้าภายใน และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการ
พาณิชย์ ผนึกกำลัง 4 หน่วยงาน เข้มงวดสกัดสินค้าไร้คุณภาพ
“พิชัย” สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร สคบ. อย. สคบ. ลุยมาตรการเข้มข้นต่อ หลังสถิตินำเข้าสินค้าไร้คุณภาพลดลงต่อเนื่อง และการดำเนินคดีผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้น ส่วนการจัดการนอมินี ดำเนินดคีไปแล้ว 747 ราย มูลค่า 11,720 ล้านบาท
'พิชัย' ปลื้ม Live Commerce โกยเงิน 1,510 ล้านบาทเข้าประเทศ
“พิชัย” ปลื้ม “5 วัน โกยเงินกว่า 1,510 ล้านบาท” เข้าประเทศ ผ่านงาน International Live Commerce Expo 2024 พร้อมขยายโครงการ Live Commerce อย่างต่อเนื่องหนุนสินค้าไทยตีตลาดโลก
พาณิชย์หนุนผู้ผลิตคอนเทนต์ ซีรีส์วายไทย ยกระดับสู่ตลาดโลก
DITP จับมือ สมาคมส่งเสริมคอนเทนต์ วาย ไทย แลกเปลี่ยน MOU ยกระดับดิจิทัลคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลก