1 ก.พ. 256 – นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 37 ในเดือนมกราคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ดอกเบี้ยสูง หนี้พุ่ง อุตสาหกรรมไปต่ออย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ค่อนข้างมีความกังวลกับการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะดำเนินนโยบายในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% เป็นระยะเวลานาน ซึ่งต้องเข้าใจว่าที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พยายามอย่างมากที่จะสร้างสมดุลในการบริหารนโยบายการเงินของประเทศ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจและการเสริมสร้างเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดของผู้ประกอบการในประเทศ และกำลังอยู่ในช่วงที่ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 และการต้องเร่งปรับธุรกิจเพื่อรับมือกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกตัวในช่วงปีที่ผ่านมา
ในประเด็นเรื่องส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ Spread ของธนาคารพาณิชย์ ที่มีความห่างมากเกินไปเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศในอาเซียน ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการชะลอการขยายธุรกิจหรือการลงทุนใหม่ เพิ่มความเสี่ยงขาดสภาพคล่องทางการเงินและการผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งกระทบต่อกำลังซื้อสินค้าของประชาชน ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ จึงเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาออกมาตรการกำกับดูแลตรวจสอบสถาบันการเงินในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยทั้งในส่วนของเงินฝากและสินเชื่อ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Spread) ที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบที่ภาครัฐอยู่ระหว่างดำเนินการนั้น จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับประชาชน ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจที่สะสมมานานได้ในระดับปานกลาง โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมเสนอให้ภาครัฐออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในกระบวนการผลิตและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งควรช่วยพิจารณาปรับลดเงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อให้สะดวกยิ่งขึ้น
จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 230 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก
46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 37 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้
1.ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบัน (2.5% ต่อปี) ในระดับใด?
อันดับที่ 1 : ปานกลาง 49.1%
อันดับที่ 2 : มาก 44.8%
อันดับที่ 3 : น้อย 6.1%
2.อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : ผู้ประกอบการชะลอการขยายธุรกิจ หรือชะลอการลงทุนใหม่ 67.8%
อันดับที่ 2 : เกิดความเสี่ยงขาดสภาพคล่องทางการเงิน และการผิดนัดชำระหนี้ 61.3%
อันดับที่ 3 : กำลังซื้อสินค้าของประชาชนลดลงจากการระมัดระวังการใช้จ่าย 60.4%
อันดับที่ 4 : กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ 53.9%
และซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือน
3.ธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีบทบาทในการดูแลส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Spread) ระหว่างเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์อย่างไร
อันดับที่ 1 : ออกมาตรการกำกับดูแลตรวจสอบสถาบันการเงิน 80.0%
และประกาศกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Spread) ที่เหมาะสม
อันดับที่ 2 : ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของสถาบันการเงิน 20.0%
เป็นไปตามกลไกตลาด
4.ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการ/นโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจากภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : สนับสนุนมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับ SMEs ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ 74.3%
และปรับลดเงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อให้สะดวกยิ่งขึ้น
อันดับที่ 2 : ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 52.2%
อันดับที่ 3 : ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในเรื่องดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ 50.9%
เช่น ธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank)
อันดับที่ 4 : จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย 47.0%
5. ภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางในการรับมือกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูงอย่างไร
(Multiple choices)
อันดับที่ 1 : ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและปรับแผนธุรกิจ 70.4%
อันดับที่ 2 : ชะลอการลงทุนและการจ้างงาน ปรับการบริหารกระแสเงินสดใหม่ 57.4%
เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน
อันดับที่ 3 : ปรับการบริหารเครดิตเทอมทั้งในส่วนของเจ้าหนี้และลูกหนี้การค้า 37.8%
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
อันดับที่ 4 : เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถของธุรกิจ 36.5%
หรือเปลี่ยน/ย้ายสถาบันการเงินเพื่อรีไฟแนนซ์ให้ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลง
6.คาดว่ามาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบของภาครัฐ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระดับใด
อันดับที่ 1 : ปานกลาง 42.6%
อันดับที่ 2 : มาก 34.3%
อันดับที่ 3 : น้อย 23.1%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันอาหาร - ส.อ.ท. - สภาหอการค้าฯ ชี้ส่งออกอาหารไทยครึ่งปีแรก 67 โต 9.9% มูลค่า 8.5 แสนล้านบาท
สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 852,432 ล้านบาท
ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก
ส.อ.ท.โอดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ลดต่ำอีกระลอก งวดพ.ค. อยู่ที่ระดับ 88.5 รับอานิสงส์เศรษฐกิจไทยยังผันผวน กำลังซื้อเปราะบางจากหนี้ครัวเรือน-หนี้เสีย ผนวกราคาน้ำมันแพงดันต้นทุนสูง คาดการณ์ไตรมาสหน้าไม่ฟื้นหวังรัฐเข้าช่วย ผุดมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน
มพช. แจงปมของบ ส.อ.ท. ทำวิจัย
ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน (มพช.) พร้อมด้วยคุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการและเหรัญญิก มพช.
เอกชนวอนรัฐ ตรึงราคาน้ามัน ชงลดดอกเบี้ย
ส.อ.ท.โอดหนี้ครัวเรือนฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ปรับตัวลดลง ปัจจัยต่างประเทศยังซ้ำ
'อัลฟ่าเซค' จับมือ 'ส.อ.ท.' ทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศของงาน Made in Thailand
อัลฟ่าเซค ร่วมมอบ “ใบรับรองระบบมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022” ให้กับ ส.อ.ท. ในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ MiT และเตรียมรับมือกับ ภูมิทัศน์ไซเบอร์ในปี 2567
สินค้าราคาถูกด้อยคุณภาพบุกตลาดไทยเพียบ ส.อ.ท.ชี้ผู้ประกอบการเสียหายหนัก
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 38 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ภายใต้หัวข้อ “สินค้าราคาถูกด้อยคุณภาพบุกตลาดไทย ภาคอุตสาหกรรมรับมืออย่างไร”