ค้าชายแดนปี 66 ทรุด 2.6% ปมเพื่อนบ้านมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและความขัดแย้ง

กรมการค้าต่างประเทศสรุปยอดการค้าชายแดนและผ่านแดนปี 66 ทำได้มูลค่า 1,742,808 ล้านบาท ลดลง 2.6% เป็นไปทิศทางเดียวกันกับการส่งออกภาพรวมที่ลดลง และมีสาเหตุจากเศรษฐกิจ สปป.ลาว ชะลอตัว เมียนมาสู้รบ และกัมพูชา กำลังบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี แต่ยอดการค้าผ่านแดนไปจีนพุ่งกระฉูดถึง 44.09% ส่งออกทุเรียนสด นำโด่ง มูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 81.7%

29 ม.ค. 2567 – นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือน ธ.ค.2566 มีมูลค่า 142,567 ล้านบาท ลดลง 1.77% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 80,929 ล้านบาท ลดลง 5.37% และการนำเข้ามูลค่า 61,638 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.39% โดยไทยได้ดุลการค้า มูลค่า 19,292 ล้านบาท และหากแยกเป็นการค้าชายแดนกับ 4 ประเทศ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา มีมูลค่า 74,573 ล้านบาท ลดลง 7.83% แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 45,603 ล้านบาท ลดลง 7.88% และนำเข้า มูลค่า 28,970 ล้านบาท ลดลง 7.74% ได้ดุลการค้า 16,634 ล้านบาท ส่วนการค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ มีมูลค่า 67,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.86% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 35,326 ล้านบาท ลดลง 1.92% และนำเข้ามูลค่า 32,668 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.79% ได้ดุลการค้า 2,658 ล้านบาท

ส่วนยอดรวมการค้าชายแดนและผ่านแดนทั้งปี 2566 (ม.ค.-ธ.ค.) มีมูลค่า 1,742,808 ล้านบาท ลดลง 2.6% แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 980,729 ล้านบาท ลดลง 4.6% ซึ่งเป็นไปทิศทางเดียวกันกับการส่งออกภาพรวม ที่ขยายตัวลดลง และการนำเข้ามูลค่า 762,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.2% โดยไทยได้ดุลการค้า 218,650 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นการค้าชายแดนกับ 4 ประเทศ ทั้งปี พบว่า มีมูลค่าการค้ารวม 929,730 ล้านบาท ลดลง 12.06% แบ่งเป็นการส่งออก 580,100 ล้านบาท ลดลง 10.38% การนำเข้า 349,630 ล้านบาท ลดลง 14.72% ได้ดุลการค้า 230,471 ล้านบาท โดยมาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าชายแดนอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้ารวม 287,155 ล้านบาท ลด 14.57% รองลงมา ได้แก่ สปป.ลาว 260,512 ล้านบาท เพิ่ม 0.18% เมียนมา 220,327 ล้านบาท ลด 16.46% และกัมพูชา 161,736 ล้านบาท ลด 18.05% โดยสินค้าส่งออกชายแดนสำคัญในปี 2566 ได้แก่ น้ำมันดีเซล 40,143 ล้านบาท น้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ 19,672 ล้านบาท และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อื่น ๆ 15,120 ล้านบาท และด่านศุลกากรที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุด ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา 226,254 ล้านบาท รองลงมาด่านศุลกากรแม่สอด และด่านศุลกากรอรัญประเทศ มีมูลค่าการค้า 106,835 ล้านบาท และ 97,185 ล้านบาท ตามลำดับ

ด้านการค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ทั้งปี 2566 มีมูลค่า 813,078 ล้านบาท เพิ่ม 11.22% แยกเป็นการส่งออก 400,629 ล้านบาท เพิ่ม 5.3% และการนำเข้า 412,449 ล้านบาท เพิ่ม 17.7% โดยจีนเป็นคู่ค้าผ่านแดนอันดับ 1 ในปี 2566 มีมูลค่าการค้า 423,116 ล้านบาท เพิ่ม 44.09% รองลงมาสิงคโปร์ 106,676 ล้านบาท ลด 11.85% เวียดนาม 70,138 ล้านบาท ลด 13.15% และประเทศอื่น ๆ 213,147 ล้านบาท ลด 9.55% โดยสินค้าส่งออกผ่านแดนสำคัญในปี 2566 ได้แก่ ทุเรียนสด 93,692 ล้านบาท ฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ 77,685 ล้านบาท และยางแท่ง TSNR 28,280 ล้านบาท และด่านศุลกากรที่มีมูลค่าการค้าผ่านแดนสูงสุด ได้แก่ ด่านศุลกากรมุกดาหาร 286,425 ล้านบาท ด่านศุลกากรสะเดา 207,944 ล้านบาท และด่านศุลกากรนครพนม 95,392 ล้านบาท

นายรณรงค์กล่าวว่า ภาพรวมการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านในปี 2566 ที่ชะลอตัว มาจากสถานการณ์ภายในประเทศที่เปราะบางของประเทศเพื่อนบ้าน โดย สปป.ลาว อัตราเงินเฟ้อสูงและค่าเงินกีบยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การสู้รบในเมียนมา ความต้องการบริโภคในประเทศของกัมพูชาที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ แต่ด้านการค้าผ่านแดนของไทยกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ทั้งมูลค่าการค้ารวมและการส่งออก โดยเฉพาะการค้าผ่านแดนไปจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 52% ของการค้าผ่านแดนของไทย โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวสูง เช่น ทุเรียนสด 93,664 ล้านบาท เพิ่ม 81.7% ฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ 26,975 ล้านบาท เพิ่ม 41.8% และไม้แปรรูป 19,187 ล้านบาท เพิ่ม 49.9% โดยด่านศุลกากรสำคัญในการส่งออกทุเรียนสดไปจีน ได้แก่ ด่านศุลกากรมุกดาหาร นครพนม และเชียงของ ในขณะที่ ฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ ส่งออกผ่านด่านศุลกากรมุกดาหาร และไม้แปรรูป ส่งออกผ่านด่านศุลกากรสะเดา และปาดังเบซาร์

ส่วนปี 2567 กรมจะเดินหน้าเร่งรัดการค้าชายแดนและผ่านแดนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ปี 2567–2570” โดยจะเดินหน้าจัดตั้งศูนย์บริการค้าชายแดนแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service : OSS) และการเชื่อมโยงเอกสารส่งออก–นำเข้าผ่านระบบ National Single Window (NSW) อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน ผ่านแดนแบบครบวงจร ซึ่งในปี 2566 สามารถเปิดให้บริการศูนย์ OSS ได้แล้วใน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก ตราด สงขลา หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุดรธานี และยังมีแผนที่จะเดินทางไปพบผู้บริหารระดับสูงของ สปป.ลาว เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าชายแดนระหว่างไทยและ สปป.ลาว และประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าชายแดนในรูปแบบต่าง ๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พาณิชย์'จ่อใช้ยาแรงสกัดกั้นการนำเข้าขยะ

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ เตรียมยกระดับมาตรการสกัดกั้นการนำเข้าขยะ หากยังพบว่ามีการสำแดงสินค้าว่าเป็นเศษกระดาษที่คัดแยกประเภทแล้วนำเข้ามาเพื่อรีไซเคิล แต่ข้อเท็จจริงกลับพบว่าสินค้ามีขยะเจือปนอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นของเสียอันตรายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน และก่อให้เกิดมลพิษอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม

พณ. หนุน SME ใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ลุยต่อจัดสัมมนา โครงการส่งเสริม SME ให้แข่งขันได้ในตลาดสากล จัดขบวนทัพนักวิชาการ นักธุรกิจแบรนด์ชื่อดัง ส่งเสริมความรู้ด้านสิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTA แบบครบวงจร

กรมการค้าต่างประเทศคุมเข้มคุณภาพมันเส้นนำเข้า-ส่งออก

กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ไม่แผ่ว เดินเครื่องคุมเข้มคุณภาพมันเส้นนำเข้า-ส่งออกต่อเนื่อง ล่าสุดพบผู้นำเข้ามันเส้นด้อยคุณภาพเพิ่มอีก 7 ราย รวมเป็น 23 ราย สั่งลงโทษทันที

พาณิชย์โชว์ Soft Power อาหารไทย กินกับ 'ข้าวไทย'

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศนำทัพประชาสัมพันธ์ข้าวพรีเมียม ส่งเสริม Soft Power อาหารไทย ในงานประชุมข้าวนานาชาติ ณ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมค้าข้าวทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 400 ราย และใช้โอกาสนี้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทางการค้าข้าวไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 17 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตและการค้าข้าว ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางการค้าข้าวระหว่างสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและสมาคมอาหารเวียดนามในฐานะผู้ส่งออกข้าวสำคัญของโลก

พาณิชย์บุกดูไบโปรโมตข้าวไทย

“กรมการค้าต่างประเทศจัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้า Gulfood 2024 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในระหว่างวันที่ 19 - 23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมคูหาต่อเนื่องตลอดงาน”

ส่งออกอาเซียนพุ่ง! ใช้สิทธิฯ FTA สูงสุดตลอดปี 2566

กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง FTA ตลอดทั้งปี 2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม มีมูลค่ารวม 81,589.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอันดับที่หนึ่งที่มีการใช้สิทธิฯ เป็นตลาดอาเซียน ตามด้วยอาเซียน - จีน ไทย - ญี่ปุ่น ไทย - ออสเตรเลีย และอาเซียน – อินเดีย