ดีอีเอสแฉพบมือโพสต์ข่าวปลอมเกาะกระแสคริปโต

“นพวรรณ” โฆษกดีอีเอสฝ่ายการเมือง เปิด 10 อันดับข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจมากสุดในรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมอ้างชื่อ กฟผ. เปิดเพจจัดกิจกรรมลุ้นรางวัลเป็นเงินดิจิทัลมาแรงสุด

25 ธ.ค. 2564 นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 17-23 ธ.ค. 64 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม มีข้อความที่เข้ามาทั้งสิ้น 11,585,499 ข้อความ จากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 245 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 116 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด 45 เรื่อง

ทั้งนี้ พบว่าข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1 กฟผ. เปิดเพจใหม่ พร้อมจัดกิจกรรมลุ้นเงินรางวัล เป็นสกุลเงินดิจิทัล อันดับ 2 เสียชีวิตบนทางหลวง ขอรับเงินชดเชยจากกรมทางหลวงได้ 15,000 บาท อันดับ 3 ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ ช่วยแก้อาการขาดน้ำจากภาวะท้องเสีย อันดับ 4 ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร ดีเฮิร์บ (DHerb) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. อันดับ 5 เรื่อง ส่งข้อความทักทายเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหว ทำให้ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว

อันดับ 6 ผู้หญิงไม่ควรกินคอลลาเจน เพราะมีสารทำให้เกิดเนื้องอกในร่างกาย อันดับ 7 รัฐบาล ปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพิ่ม 2,000 บาท อันดับ 8 ร่าง พรบ.กิจการฮัจย์มีผลให้อิสลามเข้าควบคุมกรมการปกครอง และกระทรวงมหาดไทย อันดับ 9 กฟผ. กับ ปตท. ร่วมกันทำให้ค่าไฟแพง และอันดับ 10 ภาคใต้เตรียมรับมือพายุดีเปรสชั่น ช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค.

ทั้งนี้ จากการประสานงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข่าวที่ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 54 เรื่อง โดยเป็นข่าวปลอม/ข่าวบิดเบือนจำนวน 12 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเงินเยียวยา เงินช่วยเหลือจากรัฐ แจกเงิน และกิจกรรมลุ้นเงินรางวัล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมาคมประกันวินาศภัยฯ เตือนอย่าแชร์ข้อมูลเท็จรายชื่อบริษัทประกันรถที่ถูก Black List

นายสมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความเท็จเกี่ยวกับรายชื่อบริษัทประกัน (รถยนต์) ที่ถูก Black List ซึ่งเป็นข้อความเก่าที่ยังคงมีผู้หลงเชื่อนำกลับมาเผยแพร่และแชร์ต่อกันทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งสมาคมประกันวินาศภัยไทย และสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้อง

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' สวมรอยหน่วยงานรัฐหลอกลวง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' อ้างเป็นแบงค์รัฐ 'ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ'

ดีอี ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

วธ.พัฒนาเครือข่ายภาคใต้รู้ทัน Fake News

7 มี.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมค่ายครอบครัวคุณธรรม นำสังคมเป็นสุข ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2567 โดยมีนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกระบี่ วัฒนธรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้

'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ