คณะอนุกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์ Big Data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า กระทรวงพาณิชย์ครั้งที่ 2 เห็นชอบแผน Quick Win ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวม 4 แผนงาน ตั้งเป้าส่งเสริม SMEs สินค้าชุมชน OTOP ขายออนไลน์ได้จริงไม่ต่ำกว่า 25,000 รายต่อปี ช่วยยกระดับความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรม พัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ส่งเสริมใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า และพัฒนาปัจจัยสนับสนุนอย่างเต็มที่
23 ม.ค. 2567 – นายภัณฑิล จงจิตรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์ Big Data และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า กระทรวงพาณิชย์ ครั้งที่ 2ว่าการประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณา โดยเห็นชอบแผนขับเคลื่อนรวม 4 แผน ได้แก่ 1.การพัฒนาผู้ประกอบการและช่องทางการค้าออนไลน์ในประเทศและข้ามพรมแดน 2.การสร้างและส่งเสริมอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า 3.การยกระดับความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมในอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4.การส่งเสริมการบูรณาการและการใช้ประโยชน์จาก Big Data และระบบข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งมีการจัดทำข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของ NECTEC และแนวทางความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์
สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการและขยายช่องทางการค้าออนไลน์ทั้งในประเทศและข้ามพรมแดนได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs ตลอดจนสินค้าชุมชน OTOP ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รวมไปถึงสามารถขายสินค้าและบริการออนไลน์ไม่น้อยกว่า 5,000 ราย ต่อปี เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 25,000 ราย ต่อปี โดยมีแผนช่วยเหลือตั้งแต่การฝึกอบรม การทำตลาดออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ การทำคลิปสั้น การไลฟ์สด การส่งเสริมการขายบนร้าน Top Thai การจัดเจรจาจับคู่ธุรกิจ เป็นต้น
ทางด้านการสร้างและส่งเสริมอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้า จะเดินหน้าการส่งเสริมและพัฒนาอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้าในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการรับรู้สินค้าและบริการของไทยผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ การบูรณาการโครงการที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์หรือ KOL ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ที่ร่วมมือกับผู้นำเข้าและห้างสรรพสินค้า ณ ประเทศนั้นๆ เพื่อส่งเสริมกระตุ้นการซื้อโดยมีตะกร้าสำหรับผู้ติดตามหรือผู้สนใจสามารถซื้อได้ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลอินฟลูเอนเซอร์พาณิชย์จังหวัดกับทูตพาณิชย์ และร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียง ทำการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยในลักษณะของการ live เพิ่มมากขึ้น โดยกำหนดเป้าหมาย ต้องมีสถิติการรับรู้สินค้าและบริการไทยผ่านอินฟลูเอนเซอร์เพื่อการค้าอย่างชัดเจน
ส่วนการยกระดับความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมในอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ตั้งเป้าออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ำกว่าปีละ 13,000 ราย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการไทยให้สอดคล้องตามข้อบังคับว่าด้วยด้วยการใช้เครื่องหมาย “DBD Registered” โดยผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ ยกระดับกลไกการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ อาทิ การออกเครื่องหมายรับรองผู้ขายออนไลน์ การกำกับดูแลทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองผู้บริโภคทางออนไลน์ การกำหนดแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นต้น
ทางด้านการส่งเสริมการบูรณาการและการใช้ประโยชน์จาก Big Data และระบบข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และพัฒนาจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ของกระทรวงพาณิชย์เพื่อประโยชน์ต่อประชาชน มีการพัฒนา Dashboard ด้าน E-Commerce โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำเสนอข้อมูลสำคัญให้ผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายสามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce ภายในกระทรวงพาณิชย์ให้เป็น One Single Platform เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการใช้งาน และสร้างและพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และรายย่อย (Data Center Development)
ส่วนการจัดทำข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของ NECTEC และแนวทางความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ NECTEC ได้จัดทำระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map) เป็นการบูรณาการข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านการเกษตร ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจากทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานการผลิต (ดิน น้ำ พืช) ข้อมูลด้านการตลาด ข้อมูลเกษตรกร และข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะมีการปรับปรุงแก้ไข และเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา (Adaptive Data) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สามารถนำไปใช้แนะนำแก่เกษตรกร ในการวางแผนด้านการผลิตสินค้าเกษตรภายในแต่ละจังหวัด ให้สอดคล้องกับสภาพความเหมาะสมของปัจจัยการผลิตและความต้องการของตลาดในพื้นที่ได้อย่างดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
OR เดินหน้า “ไทยเด็ด” ต่อยอดภูมิปัญญาสินค้าไทย ช่วยคนตัวเล็กมีงาน มีเงิน
ประเทศไทยที่ถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีความหลากหลาย ผนวกกับความชำนาญของคนไทยที่สามารถพัฒนาวัตถุดิบเหล่านั้นให้กลายมาเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง
ตร. จ่อแจ้งข้อหาผู้บริหาร 'ดิไอคอนกรุ๊ป' เหยื่อแห่ร้อง 120 ราย เสียหาย 50 ล้าน
'บิ๊กต่าย' แจงตำรวจเตรียมแจ้งข้อกล่าวหาผู้บริหาร 'ดิไอคอนกรุ๊ป' ส่วนดาราแม้ไม่ได้บริหารงาน หากพบกระทำผิดชัดแจ้งตั้งข้อหาได้ทันที เผยเหยื่อร้องแล้ว 120 ราย มูลค่าเสียหาย 50 ล้าน
“พาณิชย์” สำรวจห้างค้าปลีกชื่อดังในสหรัฐอเมริกา Trader Joe’s กว่า 500 สาขา สร้างโอกาสของสินค้า OTOP ไทย
“พาณิชย์” สำรวจห้าง Trader Joe’s ซึ่งเป็นห้างอีกรูปแบบหนึ่งของการค้าในสหรัฐอเมริกา จำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของห้างตนเองกว่า 500 สาขา
BDI เสริมแกร่ง SMEs ไทยต่อเนื่อง เปิดเวที "connect-the-dots #2: DATA-DRIVEN SUSTAINABILITY" โชว์ Travel Link & Envi Link ปลดล็อกการทำธุรกิจสู่ความยั่งยืน
สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เดินหน้าเสริมแกร่งผู้ประกอบการ SMEs ไทย จัดงานสัมมนา