สสว. เผย SME ไทยยังแบกหนี้สินอื้อ

สสว. เผย SME ยังแบกหนี้สินอื้อ Q4/66 อยู่ที่ระดับ 60% ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ชี้กลุ่ม Micro เริ่มเข้าถึงแหล่งเงินในระบบเพิ่มขึ้น เผยด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังอยู่ในระดับสูง

23 ม.ค. 2567 – นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลสำรวจเรื่องสถานการณ์ด้านหนี้สินกิจการของ SME ไตรมาส 4 ปี 2566 ว่าเป็นการสำรวจข้อมูล รายไตรมาส โดยสอบถามผู้ประกอบการ SME จำนวน 2,723 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 19-29 ธ.ค. 2566 พบว่า ผู้ประกอบการ SME มีภาระหนี้สิน 60.1% ซึ่งยังคงอยู่ในระดับนี้ต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ที่ 60.3% โดยสาขาธุรกิจผลิตเครื่องหอม เครื่องสำอาง บริการเสริมความงาม/สปา/นวดเพื่อสุขภาพมีแนวโน้มมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่าไตรมาสก่อน สำหรับแหล่งกู้ยืมของธุรกิจ SME กลุ่มที่มีภาระหนี้สิน 71.9% กู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน อีก 28.1% มาจากแหล่งเงินทุนนอกระบบสถาบันการเงิน ได้แก่ เพื่อน/ญาติพี่น้อง หรือนายทุนเงินกู้ ในภาพรวมการกู้ยืมนอกระบบปรับตัวลดลงจาก 33.8% ในไตรมาสก่อนหน้า

ทั้งนี้ผลจากกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) ที่เริ่มเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้เพิ่มขึ้นทั้งในรูปแบบของการกู้ยืมส่วนบุคคลและเพื่อการดำเนินกิจการ ซึ่งธนาคารปรับนโยบายการปล่อยสินเชื่อ ตามมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาล แต่อาจต้องเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มขนาดย่อมที่มีแนวโน้มของการกู้ยืมนอกระบบสูงขึ้นต่อเนื่อง และเริ่มประสบปัญหาการชำระหนี้สูงกว่าผู้ประกอบการกลุ่มอื่น จากผลสำรวจยังพบว่า ผู้ประกอบการ SME 93.2% กู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ รองลงมา คือ กู้ยืมเพื่อนำมาลงทุน และการชำระหนี้สินเดิม แต่ผู้ประกอบการ SME ในภาคบริการและภาคการค้ายังพบปัญหาการยื่นกู้ไม่ผ่านเนื่องจากคุณสมบัติไม่ผ่าน/ความไม่มั่นคงของลักษณะธุรกิจ/ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน

นอกจากนี้ผู้ประกอบการ SME กว่า 20% ประเมินว่าวงเงินสินเชื่อที่ได้รับยังน้อยเกินไป และ 40% ประเมินว่าระยะเวลาสัญญาสินเชื่อที่ได้รับสั้นเกินไป ส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ นอกจากนี้ จากสภาวะสภาพคล่องที่ลดลงและมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ทำให้ผู้ประกอบการ SME กว่า 37% มีแนวโน้มประสบปัญหาการชำระหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจรายย่อยและขนาดย่อม เพราะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาหรือชำระได้แต่ผิดเงื่อนไขเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงซึ่งกระทบต่อการเข้าถึงหรือขอเพิ่มสินเชื่อของธุรกิจ ผู้ประกอบการ SME จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลและช่วยเหลือเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือการออกสินเชื่อที่เอื้อต่อการเข้าถึงของธุรกิจ

ในขณะที่ผลสำรวจอีกด้านหนึ่งพบว่า ผู้ประกอบการ SME ที่ไม่มีหนี้สิน บางส่วนเริ่มมีแผนกู้ยืมในอนาคตเพื่อใช้ลงทุนในกิจการ ซึ่งธุรกิจขนาดย่อมจะนำไปขยายกิจการ ส่วนธุรกิจรายย่อยต้องการนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการ แต่ยังขาดความรู้ในเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมความรู้ในการจัดการบริหารการเงินและหนี้สินของธุรกิจ และจากผลสำรวจในไตรมาสนี้จะเห็นได้ว่ากลุ่มรายย่อยเริ่มเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้น คาดเป็นผลจากนโยบายที่รัฐบาลส่งสัญญาณให้สถาบันการเงินช่วยเหลือประชาชนในการแก้หนี้นอกระบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้กู้ยืมส่วนบุคคล แต่ด้วยลักษณะการใช้จ่ายเงินของกลุ่มรายย่อยซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว จะใช้เงินของกิจการและเงินส่วนบุคคลร่วมกันทำให้การกู้ยืมส่วนบุคคลเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้ด้วย

ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อมซึ่งที่มีรายได้สูงกว่า 1.8 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี (สำหรับกลุ่มการค้าและการบริการ และไม่เกิน 100 ล้านบาทสำหรับกลุ่มการผลิต) กลับมีแนวโน้มการกู้ยืมนอกระบบสูงขึ้นอาจเกิดจากการกู้ยืมเต็มวงเงินแล้วหรือการพิจารณาสินเชื่อยังมีขั้นตอนยุ่งยากและเงื่อนไขสูง ทำให้ต้องหาจากแหล่งเงินนอกระบบซึ่งผู้ประกอบการขนาดย่อมควรได้รับการช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือระยะเวลาการกู้ยืมที่ยาวเพียงพอต่อความสามารถในการชำระคืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิษน้ำท่วม SME ยังไม่คลายกังวล ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่าฐานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

ผลกระทบน้ำท่วม สภาวะเศรษฐกิจทรงตัว การท่องเที่ยวชะลอตัวตามฤดูกาล ส่งผลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI ก.ย. 67 ต่ำกว่าระดับค่าฐานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แม้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาของกำลังซื้อในระยะสั้น แต่ค่าคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงปลายปีและเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ จะสามารถดึงความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME กลับมาได้

‘สสว.’ จับมือ ‘INET’ เปิดพื้นที่ขาย ผ่าน Nex Gen Commerce Platform ช่วย SME

สสว. และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ลงนาม MOU ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียน SMEs ผู้รับบริการภาครัฐ เปิดพื้นที่ขาย ผ่าน Nex Gen Commerce Platform “พร้อมฟรี E-Tax Invoice และ E-Factoring”

สสว. แถลงข่าว “SME Privilege Club” เดินหน้าผนึกพันธมิตร เสริมแกร่งผู้ประกอบการ

สสว. แถลงข่าวความสำเร็จงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” โครงการที่เพิ่มความร่วมมือพันธมิตร 3 ด้าน ทั้งเพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน ขยายช่องทางการตลาด เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน

สสว. ผนึก LINE ผลักดันสิทธิประโยชน์ เสริมแกร่ง UPSKILL SME

สสว. ลงนามความร่วมมือ เดินหน้าพัฒนาสิทธิประโยชน์เพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน ภายใต้ “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” จัดสัมมนา UPSKILL SME “ยอดขายโตทั่วไทย ด้วยโซลูชันจาก LINE”

สสว. เดินหน้าจับมือ ช้อปปี้ ผลักดันสิทธิประโยชน์ SME เน้นเสริมตลาดออนไลน์ ติดอาวุธองค์ความรู้สู่ตลาดสากล

สสว. เดินหน้าประสานความร่วมกับช้อปปี้ เสริมแกร่ง SME ภายใต้แนวคิด “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” มุ่งเน้น 3 ด้านสำคัญ การเพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน การขยายช่องทางการตลาด และการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตลาดออนไลน์แข่งขันในระ