กทท. ผุด 3 ธุรกิจใหม่พัฒนาท่าเรือกรุงเทพดันฮับขนส่งทางน้ำ

กทท.จับมือเอกชน ผุด 3 ธุรกิจใหม่พัฒนาท่าเรือกรุงเทพ มุ่งเพิ่มปริมาณตู้สินค้า 10,000 ทีอียูต่อปี ส่งเสริมการนำเข้า – ส่งออกระหว่างประเทศ พร้อมผุดโครงการเขตปลอดอากร หวังอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในการนำเข้าส่งออก

11 ม.ค. 2566 – นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผบภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด ธุรกิจใหม่ท่าเรือกรุงเทพ : New Business Model of Bangkok Portว่า ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กับบริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท บ็อกซ์แมน จำกัด ผู้กระทำการแทนบริษัท Oknha Mong Port ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้ชื่อ การส่งเสริมการนำเข้าและส่งออก และกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าถ่ายลำ ผ่านท่าเรือกรุงเทพ และสามารถส่งต่อไปยังประเทศที่สาม ทั้งทางเรือ และรถไฟ

สำหรับความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะส่งเสริมการสร้างกิจกรรมใหม่เพื่อยกระดับการให้บริการ สนับสนุนการค้าการลงทุน อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้า-ส่งออก ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้น ท่าเรือกรุงเทพได้มีโครงการต่างๆ ที่สามารถทำให้ท่าเรือกรุงเทพพัฒนาเป็น Hub ที่สำคัญของประเทศได้อย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจกับภาคเอกชน

ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า ขณะนี้ กทท.มี 3 โครงการหลักที่สร้างความร่วมมือทางธุรกิจกับภาคเอกชน ประกอบด้วย1. โครงการท่าเรือพันธมิตร เป็นความร่วมมือระหว่าง กทท. และ บริษัท สหไทยฯ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการนำเข้าตู้สินค้าขาเข้าจาก บริษัทสหไทยฯ มาที่ท่าเรือกรุงเทพคาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้น 10,000 TEU ต่อปี หรือประมาณ 35-40 ล้านบาท

2.โครงการส่งเสริมการนำเข้าและส่งออก และกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าถ่ายลำ ผ่านท่าเรือกรุงเทพ เป็นการส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกและกิจกรรมการขนส่งตู้สินค้าถ่ายลำผ่านท่าเรือกรุงเทพ ไปยังประเทศที่สามทั้งทางเรือและรถไฟ เป็นความร่วมมือระหว่าง กทท. และบริษัท บ็อกซ์แมน จำกัด ซึ่งเป็นผู้กระทำแทน บริษัท Oknha Mong Port ประเทศกัมพูชา

และ3. โครงการเขตปลอดอากรท่าเรือกรุงเทพ Bangkok Port Free Zone เป็นการให้บริการใหม่ของท่าเรือกรุงเทพ บนพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 24,000 ตารางเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนในการนำเข้าส่งออก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง กทท. กรมศุลกากร หน่วยงานเอกชน (บริษัท สปีดิชั่น ซิกม่า จำกัด)
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายสินค้าขาเข้า – ขาออก เพิ่มความสะดวกในการดำเนินพิธีการตรวจปล่อยสินค้า สนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ยกระดับการให้บริการ เพิ่มปริมาณสินค้าผ่านท่า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคประเทศจากประเทศคู่ค้าเพื่อกระจายไปยังประเทศต่างๆ

สำหรับท่าเรือกรุงเทพยังมีแผนงานที่สำคัญในอนาคตอันใกล้ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างประเทศอีกหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งตะวันตก ทกท. เป็นท่าเรือกึ่งอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ ซึ่งได้มีการนำระบบ Semi Automation มาใช้ในการให้บริการขนถ่ายตู้สินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าอาคารสำนักงาน และพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ เพื่อใช้พื้นที่ของท่าเรือกรุงเทพให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการจราจรของรถบรรทุกในการผ่านท่าเรือกรุงเทพ อีกทั้งยังเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรให้กับกรุงเทพมหานครในอนาคต และยังมีแผนงานด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นอีกหลายระบบ โดยเฉพาะระบบหลักในการปฏิบัติงานและให้บริการ เช่น ระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออก ประตูตรวจสอบอัตโนมัติ (e-Gate), ระบบ Port Community System, ระบบปฏิบัติการเรือและสินค้าเวอร์ชั่นใหม่และระบบสนับสนุนงานให้บริการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข พาทัวร์งานหินถมทะเลแหลมฉบังเฟส3

คงต้องบอกว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3” เป็นโครงการที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ยกระดับความสามารถทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศไทย

กทท. จี้ผู้รับเหมาเร่งงานแหลมฉบังเฟส 3

‘การท่าเรือ’ เดินหน้าแหลมฉบัง เฟส 3 สั่งผู้รับเหมากลุ่มกิจการร่วมค้า CNNC เร่งเครื่องกำชับคุมเข้มให้เป็นไปตามแผนงานและการบริหารสัญญา มั่นใจดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด

Doulos Hope ร้านหนังสือลอยน้ำเทียบท่ากรุงเทพฯ

ตอนนี้กรุงเทพฯ มีร้านหนังสือนานาชาติบนเรือกลางน้ำให้คนรักหนังสือได้ไปเดินช้อปกันเพลินๆ  เมื่อ Doulos Hope ร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกแวะมาจอดที่ท่าเรือกรุงเทพ หรือท่าเรือคลองเตยชื่อที่คุ้นเคย  โดยจะจอดเทียบท่าจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ชาว

‘มนพร’ สั่ง ‘การท่าเรือ’ ติดตามผลกระทบจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส 

‘มนพร’สั่ง ’การท่าเรือฯ’เตรียมความพร้อมส่งออกสินค้าไปยังประเทศตะวันออกกลาง หากความไม่สงบ‘อิสราเอล-ฮามาส’ยืดเยื้อ ด้าน กทท. แจงปริมาณขนส่งสินค้ายังส่งออกปกติ ไม่กระทบ เตรียมประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง

กทท.กางแผนพัฒนาที่ดิน 90 ไร่ ท่าเรือแหลมฉบัง

กทท. เร่งสรุปแผนพัฒนาที่ดิน 90 ไร่ ท่าเรือแหลมฉบัง ปั้นพื้นที่เชิงพาณิชย์และจุดจอดรถบรรทุก คาดประมูล ก.ย.นี้ หนุนเป้าหมายท่าเรือสีเขียว แก้ปัญหาจราจรแออัด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

กทพ.ชูสร้าง ทางด่วนใหม่ 'ท่าเรือกรุงเทพ-อาจณรงค์' 3 พันล้าน

กทพ.ลุยชง “คมนาคม” สร้างทางด่วน “ท่าเรือกรุงเทพ-อาจณรงค์” 3 พันล้าน “กทท.-กทพ.” ลุยถกสัดส่วนร่วมลงทุนให้จบปีนี้ ชี้เป็นโครงการที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้ แต่ช่วยแก้รถติด อำนวยความสะดวกขึ้นลงในท่าเรือได้เลย