26 ธ.ค. 2566 – นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ผลการจดทะเบียนธุรกิจ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนพฤศจิกายน 2566
จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2566 จำนวน 5,979 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 25,272.84 ล้านบาท
ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 490 ราย คิดเป็น 8.20% ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 436 ราย คิดเป็น 7.29% รองลงมา และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 267 ราย คิดเป็น 4.46% ตามลำดับ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 3,600 ราย คิดเป็น 60.21% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 2,244 ราย คิดเป็น 37.53% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 114 ราย คิดเป็น 1.91% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 21 ราย คิดเป็น 0.35% ตามลำดับ
จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566 จำนวน 81,291 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 546,855.90 ล้านบาท
ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 6,226 ราย คิดเป็น 7.66% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 6,047 ราย คิดเป็น 7.44% รองลงมา และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 3,841 ราย คิดเป็น 4.73% ตามลำดับ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 52,934 ราย คิดเป็น 65.12% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 27,079 ราย คิดเป็น 33.31% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 1,072 ราย คิดเป็น 1.32% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 206 ราย คิดเป็น 0.25% ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนพฤศจิกายน 2566
จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 มีจำนวน 2,608 ราย โดยมีมูลค่า ทุนจดทะเบียนจำนวน 17,374.03 ล้านบาท ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 194 ราย คิดเป็น 7.44% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 131 ราย คิดเป็น 5.02% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 80 ราย คิดเป็น 3.34% ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,841 ราย คิดเป็น 70.59% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 635 ราย คิดเป็น 24.35% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 124 ราย คิดเป็น 4.75% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็น 0.31% ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566
จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566 มีจำนวน 17,858 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 107,728.90 ล้านบาท
ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,680 ราย คิดเป็น 9.41% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 915 ราย คิดเป็น 5.12% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 511 ราย คิดเป็น 2.86% ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 12,516 ราย คิดเป็น 70.09% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 4,530 ราย คิดเป็น 25.37% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 731 ราย คิดเป็น 4.09% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 81 ราย คิดเป็น 0.45% ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ 30 พฤศจิกายน 2566
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 พ.ย. 66) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 892,001 ราย มูลค่าทุน 21.74 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 199,973 ราย คิดเป็น 22.42% บริษัทจำกัด จำนวน 690,585 ราย คิดเป็น 77.42% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,443 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 517,496 ราย คิดเป็น 58.02% รวมมูลค่าทุน 0.45 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.09% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 277,309 ราย คิดเป็น 31.09% รวมมูลค่าทุน 0.95 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.38% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 79,222 ราย คิดเป็น 8.88% รวมมูลค่าทุน 2.17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 9.99% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 17,974 ราย คิดเป็น 2.01% รวมมูลค่าทุน 18.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.54% ตามลำดับ
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว
เดือนพฤศจิกายน 2566
เดือนพฤศจิกายน 2566 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น มีจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 20 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 36 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 3,322 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง 11% (ลดลง 7 ราย) ในขณะที่เงินลงทุนลดลง 70% (ลดลง 7,631 ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 9 ราย เงินลงทุน 909 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ จีน จำนวน 9 ราย เงินลงทุน 282 ล้านบาท และ สหรัฐอเมริกา จำนวน 7 ราย เงินลงทุน 224 ล้านบาท ตามลำดับ
ปี 2566 (มกราคม – พฤศจิกายน)
เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566 คนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 612 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 98,288 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทลาย 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' ใช้เบอร์ 02 ลวงเหยื่อกว่าหมื่นเลขหมาย
พาณิชย์” ร่วม 3 หน่วยงาน แถลงข่าวจับกุมแก๊งคอลเซนเตอร์ ใช้นิติบุคคลบังหน้า หลอกลวงประชาชน หลัง กสทช. พบความผิดปกติใช้เบอร์โทร 02 นับหมื่นเลขหมาย โทรหาเหยื่อ ตำรวจพบมีนิติบุคคล 3 ราย เข้าไปเกี่ยวข้อง และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ข้อมูลนิติบุคคลเชิงลึก เผยยังได้วาง 7 แนวทาง ป้องกันการนำบริษัทไปใช้หลอกลวงเกิดขึ้นซ้ำอีก
พาณิชย์ชวนร้านค้ารับเครื่องหมาย DBD Registered
“นภินทร” ชวน ร้านค้าออนไลน์ รับเครื่องหมาย DBD Registered / DBD Verified สร้างความเชื่อมั่นผู้ซื้อ ป้องกันการถูกหลอกลวง
พาณิชย์ลุยยกระดับปั้นแบรนด์ผู้ประกอบการชุมชน
กรมพัฒนาธุรกิจฯ เปิดแผนพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน SMART Local 100 ราย แบบครบวงจรปั้นแบรนด์ดัง แผนการตลาดเด่น ดันธุรกิจดี
ต่างชาติขนเงินลงทุนในไทย 3.5 หมื่นล้าน ญี่ปุ่นยังเป็นอันดับ 1
พาณิชย์โชว์ไตรมาสแรกปี 2567 ต่างชาติลงทุนในไทย 35,902 ล้านบาท ญี่ปุ่นลงทุนอันดับหนึ่ง 19,006 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 3,294 ล้านบาท และฝรั่งเศส 3,236 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 849 คน
พาณิชย์ลุยขยายตลาดผ้าขาวม้าไทย
กรมพัฒนาธุรกิจฯ ต่อยอดส่งเสริมผ้าขาวม้าไทยสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า ขยายตลาด และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการชุมชน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหนุนธุรกิจแฟรนไชส์เร่งสร้างมาตรฐาน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตรียมอัปเกรดผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เร่งสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีศักยภาพพร้อมสร้างเครือข่ายกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการขยายตลาด ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น เปิดรับสมัครผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Standard) ประจำปี 2567 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2567